สอบเทียบ “เครื่องชั่ง” เอง? l ทำได้หรือไม่ มีวิธีทำอย่างไร? วันนี้ CLC มีคำตอบค่ะ

————-

สำหรับวิธีการคำนวน กรณีที่ผู้ผลิตไม่ได้กำหนดชั้นความเที่ยงมา เรามีตัวอย่างวิธีคำนวนมาฝากกันค่ะ

— วิธีการคำนวนหากผู้ผลิตไม่ได้กำหนดชั้นความเที่ยง

— โดยทำการตามหลักการ OIML R 76-1 ยกตัวอย่าง ดังนี้

เครื่องชั่งพิกัดกำลังสูงสุด (Maximum Capacity) = 620 g มีค่าความละเอียดที่ d = 0.001 g และกำหนดให้ e = 0.01 g ตาม OIML R 76-1 กำหนดไว้ว่า n = max/e เมื่อ n = จำนวนช่องเครื่องหมายมาตราตรวจรับรอง max = ค่าพิกัดกำลังสูงสุด e = ค่าเครื่องหมายมาตราตรวจรับรอง n = 620 g / 0.01 g = 62000 พิจารณาตามตารางที่ 3 ของ OIML R 76-1 อยู่ในเงื่อนไขของชั้นความเที่ยง I เป็นต้น

ค่าเครื่องหมายมาตราตรวจรับรอง ; e คำนวณได้จากสูตร d < e ≤ 10 d (ตามตารางที่ 5a 5b ของ OIML R 76-1)

การหาอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด หรือ เกณฑ์การยอมรับของเครื่องชั่ง (Maximum permissible errors) อ้างอิงจากตารางที่ 6 ของ OIML R 76-1 ยกตัวอย่าง เช่น

เครื่องชั่งพิกัดกำลังสูงสุด 620 g มีค่าความละเอียดที่ d = 0.001 g และกำหนดให้ e = 0.01 g ชั้นความเที่ยงของเครื่องชั่ง I จากสมการ n = mex/e = 620 g / 0.01 g = 62000 หมายเหตุ จากตารางที่ 6 ของ OIML R 76-1 จะให้ m = ช่วงน้ำหนักที่ใช้ทดสอบ สำหรับตัวอย่างที่ยกมาในขั้นตอนนั้นให้ m = n (คิดค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องชั่ง ที่สามารถเผื่อ เหลือเผื่อขาดได้มากที่สุดเลย พิจารณาจาก ตารางที่ 6 ของ OIML R 76-1 m = 62000 เป็นต้น ค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องชั่งอยู่ที่ +/- 1.0 e = +/-1.0 x 0.01 g = +/- 0.01 g เป็นต้น

 

——————————

สนใจซื้อ สอบเทียบ ซ่อมเครื่องมือวัด ติดต่อ บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด

โทร : 02 – 578-0353

แฟกซ์ : 02 – 578-2672

หรือ

แผนกบริการสอบเทียบ : sale@cal-laboratory.com

แผนกจำหน่ายสินค้า : info@cal-laboratory.com