ไมโครมิเตอร์คืออะไร การเลือกใช้และการดูแลรักษาทำได้อย่างไร

Micrometer-ไมโครมิเตอร์-สอบเทียบเครื่องมือ_Calibration-Lab_01

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ไมโครมิเตอร์สกรูเกจ เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้งานด้านวิศวกรรม จุดประสงค์การใช้งานเพื่อสำหรับวัดขนาดที่ต้องการความละเอียดแม่นยำสูง  โดยใช้วัดความกว้าง ยาว หรือ ความหนาของวัตถุ เหมือนคาลิปเปอร์ แต่ไมโครมิเตอร์จะสามารถวัดได้ละเอียดสูงกว่าคาลิปเปอร์

ไมโครมิเตอร์(Micrometer) มีกี่ชนิด?

ประเภทของไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ที่นิยมใช้ มี 3 ประเภทคือ

1. ไมโครมิเตอร์แบบวัดภายนอก (Outside Micrometer) นิยมใช้กันมากกว่าแบบอื่นใช้วัดขนาดความกว้าง ความยาว และ ความหนา ภายนอก ของเพลา บล็อก สายทรงกลม เส้นลวด วัตถุทรงกลม ฯลฯ

2. ไมโครมิเตอร์แบบวัดภายใน (Inside Micrometer) ใช้วัดความกว้างของช่องว่างต่างๆ เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางภายในหลุม วงกลม รูเปิด

3. ไมโครมิเตอร์สำหรับวัดความลึก (Depth Micrometer) ใช้วัดความลึกของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นหลุม บ่อ หรือช่อง ต่างๆ

 

Micrometer-ไมโครมิเตอร์-สอบเทียบเครื่องมือ_Calibration-Lab_01

ส่วนประกอบและการทำงานของไมโครมิเตอร์เป็นอย่างไร

ส่วนประกอบต่างๆ ของไมโครมิเตอร์ เรียกตำแหน่งต่างๆของไมโครมิเตอร์

(1) ตําแหน่งสำหรับวัดระยะชิ้นงาน

(2) ตําแหน่งสเกลหลัก

(3) ตําแหน่งสเกลเวอร์เนียร์

(4) ตำแหน่งสำหรับจับไมโครมิเตอร์ขณะวัด

(5) ตำแหน่งปุ่มเลื่อนแกน

 

การเลือกใช้ เครื่องมือวัด ประเภท ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) 

การเลือกประเภทของไมโครมิเตอร์จะพิจารณาจาก

  • วัตถุที่จะใช้วัด เช่น ความหนา ความกว้าง หรือ ลึก ภายในวัตถุ
  • เลือกใช้จากค่าความละเอียดที่ต้องการ เช่นค่าความละเอียดต่ำ (1/100 mm) หรือ ค่าความละเอียดสูง (1/10000 mm)
  • เลือกเป็นไมโครมิเตอร์แบบอนาล็อกเมื่อไม่ต้องการวัดค่าความละเอียดมาก ช่วยลดต้นทุนหรือ เลือกไมโครมิเตอร์แบบดิจิตอลซึ่งจะสามารถต่อผลการอ่านค่าเข้าคอมพิวเตอร์ได้

 

การดูแลรักษา เครื่องมือวัด ประเภทไมโครมิเตอร์ (Micrometer) 

เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของไมโครมิเตอร์ Micrometer ควรมีการดูแลอย่างเหมาะสม และนำมา สอบเทียบเครื่องมือวัด ควร

  • เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดให้ทั่วทุกครั้ง ก่อนเก็บเข้ากล่อง
  • ไม่ควรหมุนให้หน้าผิวสัมผัสวัดงานทั้งสองด้านเข้ามาชนกันจนแน่น เพราะจะทำให้เกิดการเสียหายจากแรงกดอัดได้ ควรใช้กระดาษน้ำมันคั่นกลางหรือเว้นช่องว่างไว้เล็กน้อยก่อนเก็บเข้ากล่องแทน
  • ทำความสะอาดปากวัดทั้งสองด้านหลังเลิกใช้งานเป็ประจำ ด้วยการนำกระดาษที่อ่อนนุ่มใส่ระหว่างหน้าผิวสัมผัสวัดงานทั้งสองด้าน ก่อนหมุนแกนวัดทั้งสองด้านชนกระดาษเบาๆ เป็นการทำความสะอาดผิวสัมผัส
  • หากต้องการหมุนไมโครมิเตอร์อย่างรวดเร็ว ไม่ควรใช้นิ้วมือหมุนรัวๆ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหรือทำให้สเกลวัดคลาดเคลื่อนได้ ควรใช้ฝ่ามือค่อยๆหมุนเลื่อนแกนวัดแทน
  • ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดวัตถุที่มีผิวหน้าหยาบ เพราะจะทำให้ผิวสัมผัสวัดงานเกิดความเสียหาย หรือ เสียสมดุลย์ศูนย์ได้
  • ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ ไม่ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ จะทำให้ไมโครมิเตอร์เสียหายได้
  • ควรเช็ดทำความสะอาดไมโครมิเตอร์และหล่อลื่นเป็นประจำ
  • เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของการวัดควร สอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อความเที่ยงตรงไมโครมิเตอร์ตามตารางการสอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ

 

 บริการสอบเทียบ Dimension

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา