ไฟฟ้าคืออะไร
ไฟฟ้า คือ พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน หรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ชาติในปัจจุบัน โดยเฉพาะการพัฒนาทุก ๆ ด้านจำเป็นต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น
1.แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1.1 ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไฟฟ้าสถิต (Static Electricity) โดยมากจะเกิดจากการเสียดสี (Friction) เช่น การเสียดสีของวัตถุบางชนิด การหวีผมในบางฤดูทำให้หวีสามารถดูดเศษกระดาษเล็กๆได้หรือการเกิดปรากฏการทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ซึ่งเกิดจากการสะสมของประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน ก้อนเมฆในท้องฟ้าและเกิดการถ่ายเทของประจุไฟฟ้าจากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง การถ่ายเทดังกล่าว ประจุไฟฟ้าที่เหมือนกันจะผลักกัน เช่น ประจุลบกับประจุลบจะผลักกัน ประจุบวกกับประจุบวกจะผลักกัน ประจุไฟฟ้าที่ต่างกันจะดูดกัน
1.2 ไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
-
-
- 1.2.1 ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) อักษรย่อ AC
- 1.2.2 ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) อักษรย่อ DC
-
1.2.1 ไฟฟ้ากระแสสลับ
ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้าที่นำมาใช้ ตามอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ ขนาดแรงดันไฟฟ้า และความถี่ที่ใช้อยู่ตามอาคารบ้านเรือนจะมีขนาดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์
(220 V / 50 Hz) ส่วนอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการใช้ขนาดแรงดัน ไฟฟ้า 380 โวลต์ความถี่50 เฮิรตซ์
(380 V / 50 Hz) สำหรับจ่ายให้เครื่องจักรทำงาน และ 220 โวลต์ 50 เฮิรตซ์ (220 V / 50 Hz) สำหรับจ่ายให้เครื่องใช้ในสำนักงาน
1.2.2 ไฟฟ้ากระแสตรง
ไฟฟ้ากระแสตรง คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลทางเดียว มีขั้วบวก ขั้วลบคงที่ ใช้เป็นพลังงานจ่ายให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ละอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง
- เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย
- เกิดจากโซลาร์เซลล์ หรือโฟโต้เซลล์ (อุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า)
- เกิดจากการเร็กติฟายเออร์ ( Rectifier ) คือการเรียงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
2. หน่วยวัดทางไฟฟ้า
ในระบบหน่วยวัดนานาชาติ (International System of Units (SI)) หน่วยวัดทางไฟฟ้าพื้นฐานที่สำคัญและหน่วยวัดทางไฟฟ้าในทางปฏิบัติอื่นๆ
- แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็น โวลต์ (V)
- กระแสไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็น แอมแปร์ (A)
- กำลังไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็น วัตต์ (W)
- ความถี่ไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็น เฮิรตซ์ (Hz)
- ความต้านทานมีหน่วยวัดเป็น โอห์ม (Ω)
ทั้งนี้ที่กล่าวมา ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือจับต้องได้ ดังนั้นเราจึงต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะที่ใช้ในการตรวจวัดค่าทางไฟฟ้า เพื่อให้เรารู้ปริมาณความมากน้อยของพลังงานไฟฟ้านั้นๆ
เครื่องมือวัดไฟฟ้า เบื้องต้น
1.เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า (Voltmeter)
เครื่องวัดชนิดนี้เป็นเครื่องมือวัดความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่าง 2 จุดในวงจรไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้าเป็นค่าหนึ่งที่ต้องวัดในการคํานวณการใช้งานด้านไฟฟ้ามีทั้งประเภทที่ติดตั้งบนแผงควบคุมและชนิดเคลื่อนที่ได้
2.เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า (Ampmeter)
ใช้วัดกระแสไฟฟ้า มีทั้งประเภทที่ติดตั้งบนแผงควบคุมและชนิดคล้องสายเคลื่อนที่ได้ มีทั้งชนิดที่เป็นอานาล็อกและดิจิทัล
3.เครื่องวัดกําลังไฟฟ้า (Wattmeter)
เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าเป็นเครื่องมือที่วัดค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าได้โดยตรง ทำให้การหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าสะดวกยิ่งขึ้น
4. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter)
โอห์มมิเตอร์ คือมิเตอร์ที่สามารถวัดค่าความต้านทาน โดยการดัดแปลงจากแอมมิเตอร์ให้สามารถวัดค่าและแสดงค่าออกมาเป็นค่าความตานทานได้โดยตรง กรณีการวัดค่าความต้านทานสูงๆ (High resistance) ที่มีค่าเป็นเมกกะโอห์มขึ้นไป เช่น ใช้วัดค่าความต้านทานของฉนวนสายไฟฟ้า (Insulation) หรือค่าความต้านทานของดิน เรียกว่า เมกกะโอห์มมิเตอร์ (Mega ohmmeter) หรือเมกเกอร์ ( Megger) และ เครื่องวัดค่าความต้านทานหลักดิน เรียกว่า Earth Test Meter
5. มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว Multimeter จะสามารถใช้วัดปริมาณ แรงดันไฟฟ้า กระแสตรง (DC voltage) แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC voltage) ปริมาณกระแสไฟตรง (DC current) ความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance) และ Multimeter บางรุ่นสามารถใช้วัดปริมาณอื่นๆได้อีก เช่น กำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, ICEO) ความจุทางไฟฟ้า (Capacitance) ฯลฯ
ข้อควรระวังในการใช้ เครื่องมือวัดไฟฟ้า
- การใช้ เครื่องมือวัด ต้องให้ตรงประเภทกับที่จะใช้วัด
- ตรวจสอบความเรียบร้อย ครบถ้วนของชุดเครื่องมือวัดก่อนนําไปใช้งานทุกครั้ง
- ก่อนนําเครื่องมือไปใช้งานต้องแน่ใจว่าไม่ใช้เครื่องมือวัดผิดประเภท และต้องคำนึงถึงย่านการวัดด้วย
- การเสียบสาย ต่อสายเครื่องมือวัดต้องแน่ใจว่าต่อขั้วถูกต้อง
และความถูกต้อง เที่ยงตรงของค่าที่เครื่องมือวัดอ่านได้ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์แล้วผู้อ่านจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องมือวัดของผู้อ่านอ่านค่าตรงหรือไม่ ทางบริษัท Calibration Laboratory มีบริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ต่างๆ ร่วมถึงเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าด้วย แล้วทางบริษัทก็ยังได้การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย (TISI) และจาก ANSI National Accreditation Board (ANAB) ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้ Multi-Product Calibrator เป็น Standardในการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดสูง
Multi-Product Calibrator
ผู้เขียน Tik sang
—