เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) คือ เครื่องมือใช้สำหรับวัดความเร็วลม วัดแรงลม ความเร็วของก๊าซ เช่น การไหลของอากาศในท่อ การไหลของลม ความเร็วลมในบรรยากาศ การวัดความเร็วของการไหลของอากาศในอุโมงค์ลม เป็นต้น คำว่า “แอนีโม” ( anemos ) เป็นคำมาจากภาษากรีก แปลว่าลม เครื่องวัดความเร็วลม เครื่องแรกได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใช้โดย นายลีโอนาโด ดาวินชี ( Leonardo da Vinci ) ซึ่งจากบันทึกพบว่าถูกสร้างขึ้นในปี คศ. 1450 และพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 15 ปัจจุบัน เครื่องวัดความเร็วลม ไม่ได้ถูกนำมาใช้เพียงแค่งานเกี่ยวกับสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศ เท่านั้น แต่ยังนำไปใช้ในการคำนวณเพื่อออกแบบระบบต่าง ๆ เช่น ระบบระบายอากาศในอุโมงค์ ระบบทดสอบการบิน และการนำทางอากาศ ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
ประเภทของเครื่องวัดความเร็วลม Anemometer
ปัจจุบัน เครื่องวัดความเร็วลม ถูกออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานต่างๆอยู่หลายโมเดล เช่น
-
เครื่องวัดความเร็วลมแบบ pilot tube
หัววัดจะมีลักษณะเป็นท่อ เหมาะสำหรับวัดความดันและการไหลของอากาศ และก๊าซ ถูกใช้อย่างแพร่หลายกับการวัดความเร็วลมในการบิน และเป็นเครื่องมือวัดความเร็วของอากาศและก๊าซในงานอุตสาหกรรม pressure ซึ่ง sensor ประเภทนี้จะมีความแข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับการวัดลมที่แรงมาก ๆ และ ลมที่ร้อน หรือเย็นมาก
-
เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัด
เหมาะสำหรับวัดความเร็วลมทั่วไป การใช้งานไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก มีอุปกรณ์เพียง 2 ส่วน นั่นคือ กังหันที่ใช้วัดความเร็วลม และตัวเครื่อง วิธีการใช้งานเพียงหันกังไปในทิศทางของลมที่ต้องการวัด จากนั้นอ่านค่าที่หน้าจอของตัวเครื่อง
-
เครื่องวัดความเร็วลมแบบhot wire
จะมีหัวเซนเซอร์ที่ประกอบด้วยเส้นลวดความร้อนเส้นบาง ๆ ซึ่งแม้ว่าเซนเซอร์ค่อนข้างจะบอบบาง แต่ข้อดีของโพรบประเภทนี้คือ สามารถยืดความยาวของโพรบได้ กรณีต้องการวัดเข้าไปในรู หรือ ช่องที่เข้าไม่ถึง เหมาะสำหรับการวัดความเร็วลมในท่อ HVAC และช่องระบายอากาศขนาดเล็กอื่น ๆ สามารถวัดความเร็วลมได้ต่ำถึง 01 m/S
**เครื่องวัดความเร็วลมบางรุ่นยังสามารถวัดอุณหภูมิ ความชื้น Dew Point ได้อีกด้วย**
หน่วยการวัดเครื่องวัดความเร็วลม
หน่วยการวัดความเร็วลม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. หน่วยในการวัดค่าความเร็วลม
สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- เมตรต่อวินาที (m/s)
- กิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/hr)
- ฟุตต่อนาที (ft/min)
- ไมล์ต่อชั่วโมง (mph)
- นอต (knots)
โดยมีสูตรคำนวณ V=S/T (V=ความเร็ว, S=ระยะทาง, T=เวลา) ซึ่งแต่ละหน่วยการวัดมีค่าแปลงหน่วยความเร็วลม ตามตาราง ดังนี้
2. ค่าอัตราการไหล
ค่าอัตราการไหล (Air Flow) คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาตรของลมที่ไหลผ่านต่อหนึ่งหน่วยเวลาการวัดลักษณะนี้มีไว้สำหรับการวัดกับแหล่งกำเนิดลม เช่น ท่อแอร์ เป็นต้น แต่ข้อควรระวังคือ ต้องทราบขนาดพื้นที่หน้าตัดของท่อหรือแหล่งกำเนิดลม เพื่อนำมาใส่ข้อมูลในตัวเครื่องเพื่อแปลงค่าเป็นค่า Air Flow แบ่งเป็น 2 หน่วยคือ
- CFM (cubic feet per minute, ft3/min) หรือ ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต้องหาค่าพื้นที่หน้าตัดในหน่วยตารางฟุต
- CMM (cubic meters per minute, m3/min) หรือ ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ต้องหาค่าพื้นที่หน้าตัดในหน่อยตารางเมตร
สมการการคำนวณของทั้ง 2 หน่วยมีดังนี้
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบ Anemometer และได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 จาก ANSI National Accreditation Board (ANAB) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยขอบข่ายการวัดสามารถสอบเทียบได้ถึง 45 m/s โดยวิธีการ Comparison with a known Velocity
ดาวน์โหลด Scope การสอบเทียบ Anemometer คลิก
ผู้เขียน KAEW VIP
—