Durometer หรือ เรียกอีกชื่อนึงว่า Shore Hardness คือ เครื่องวัดความแข็งของวัสดุ ซึ่งการทดสอบความแข็งวิธีนี้ถูกคิดค้นโดย Albert F.Shore ในปี 1920
สเกลการวัด Durometer
สเกลการวัดมีหลายสเกลสำหรับการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุ การทดสอบความแข็งตามมาตรฐาน ASTM D2240-00 แบ่งสเกลออกเป็น 12 สเกล ดังต่อไปนี้ A, B, C, D, DO, E, M, O, OO, OOO,OOO-SและR แต่ละสเกลมีค่าการวัดอยู่ที่ 0-100 หน่วย
โดยส่วนใหญ่ที่เราพบเจอบ่อยๆหรือนิยมใช้งานกันอยู่จะมีด้วยกันอยู่ 3 แบบ คือ
- Shore A คือ ทดสอบยางทั่วไป ยางสังเคราะห์ ยางนิ่ม โฟลิเรซิน หนัง ขี้ผึ้ง
- Shore C คือ ทดสอบความแข็งยางที่มีความนิ่ม
- Shore D คือ ทดสอบความแข็งยางที่มีความแข็งสูง พวกฮาร์ดเรซิน อะคริลิค แก้ว เทอร์โมพลาสติก แผ่นพิมพ์ เส้นใย
ลักษณะของความคมของปลายแหลมของหัวกด
ประเภทวัสดุที่นำมาวัด
การตรวจสอบก่อนใช้เครื่องและการเก็บรักษา
- ตรวจสอบแรงสปริงโดยใช้เครื่องตรวจสอบเครื่องวัดความแข็งของวัสดุ (Durometer Tester) วางเครื่องมือวัดเข้าไปในเครื่องตรวจสอบ เครื่องตรวจสอบจะมีน้ำหนักมาตรฐานให้ 3 ก้อน ให้ใส่น้ำหนักไปทีละก้อนหลังจากใส่ก้อนที่ 1 เข็มควรที่จะไปที่ Checkpoint ที่ 1 ค่า 25, ก้อนที่ 2 เข็มไปที่ 50 และ ก้อนที่ 3 อยู่ที่ 75 เข็มลงตรง Check point ทั้ง3จุด (±1) แสดงว่า แรงสปริงยังใช้ได้ หากเข็มหยุดไม่ตรงจุดหมายความว่าสปริงเสื่อมควรที่จะซื้อเครื่องใหม่
- เข็ม (Pointer) ควรที่จะอยู่ที่ 0 หากไม่มีการวัดใดๆ
- โปรดรักษาหัวกด (Indenter) ไม่เกิดการกระแทกหรือตกลง หากเกิดแรงกระแทกที่หัวกดอาจจะทำให้สปริงข้างในเสียหาย ส่งผลให้ค่าที่วัดผิด
- ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องมือโดนน้ำหรือน้ำมัน
ทางห้องปฎิบัติการบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบ และได้รับการรับรอง Accredited 17025:2017
ซึ่งจะทำการสอบเทียบตามมาตรฐานตามฟังก์ชันดังนี้
- Function : Force
- Function : Indentation-depth
- Function : Measuring device
- Function : Angle
- Function : Diameter
ดาวน์โหลด Scope การสอบเทียบ Durometer คลิก
หากสนใจสอบเทียบเครื่องมือ Durometer สามารถโทรเข้ามาสอบถาม แอดไลน์ ส่งเมลล์เข้ามา ได้ทุกช่องทางได้เลยนะคะ
ผู้เขียน ORANIJ S.
—
บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด ซื้อเครื่องมือวัด