เครื่องวัดความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อน มีวิธีทดสอบและใช้งานอย่างไร

scorch sublimation tester

Scorch&Sublimation Tester เครื่องวัดความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อน

มาตรฐานการทดสอบ : เป็นการทดสอบความคงทนของสีของสิ่งทอทุกประเภทต่อการรีดและใช้ลูกกลิ้งร้อน โดยสิ่งทออยู่ในสภาพที่แห้ง สภาพที่ชื้นและสภาพที่เปียกหรือขึ้นอยู่กับการใช้งาน

การทดสอบสภาพที่แห้ง : การกดทับชิ้นงานทดสอบที่สภาพแห้งด้วยเครื่องมือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ แรงกด และเวลาที่กำหนด

การทดสอบสภาพที่ชื้น : วางชิ้นงานทดสอบที่สภาพแห้งประกบทับด้วยผ้าฝ้ายที่เปียก แล้วกดทับด้วยครื่องมือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ แรงกด และเวลาที่กำหนด

การทดสอบสภาพที่เปียก : วางชิ้นงานทดสอบที่สภาพเปียกให้ด้านทดสอบอยู่ด้านบน ประกบทับด้วยผ้าฝ้ายที่เปียกแล้วกดทับด้วยครื่องมือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ แรงกด และเวลาที่กำหนด

การประเมิน : การประเมินการเปลี่ยนสีของชิ้นทดสอบและการเปื้อนสีของผ้าประกบโดยเปรียบเทียบกับเกรย์สเกลทันที และภายหลังผึ่งให้แห้งในสภาวะบรรยากาศที่มาตรฐานกำหนด

วิธีการทดสอบและการใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์

เครื่องกดทับให้ความร้อนที่มีแผ่นผิวเรียบขนานกัน 1 คู่ ทําให้ร้อนด้วยระบบไฟฟ้าซึ่งควบคุมอุณหภูมิได้คงที่ และมีแรงกด 4 ±1 kPa บนชิ้นงานทดสอบ โดยมีส่วนประกอบต่างๆ  ผ้าสักหลาดทําจากขนแกะ  ทําเป็นแผ่นรอง (Padding) มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับมวลรวมของแผ่นกดเพื่อให้ได้แรงกด 4 : 1 kPa บนชิ้นงานทดสอบ ถ้าผ้าที่นํามาทดสอบมีความหนาอาจต้องเพิ่มพื้นที่ของชิ้นงานทดสอบ หรือเพิ่มพื้นผิวรองรับแรงกดด้วยแผ่นแบบ (Template) ที่ทําจากวัสดุเดียวกับชิ้นงานทดสอบ

scorch sublimation tester

 

การให้ความร้อน ควรส่งผ่านความร้อนลงจากแผ่นกดแผ่นบนลงไปยังชิ้นงานทดสอบเท่านั้น ถ้าแผนกด แผ่นล่างมีระบบให้ความร้อนที่ปิดไม่ได้ (Turn off) ต้องติดแผ่นด้านความร้อน (Heat-resistant sheet) ควรวางประกบชิ้นงานทดสอบเข้ากับแผ่นด้านความร้อน ก่อนที่จะนําไปวางในเครื่องกดทับให้ความร้อนก่อนการทดสอบแต่ละครั้งควรให้แผ่นด้านความร้อนเย็นลงและผ้าขนแกะแห้ง  แผ่นรองทําจากผ้าสักหลาดขนแกะ มีมวลต่อพื้นที่ประมาณ 260 gm ทําเป็น 2 ชั้น มีความหนาประมาณ 3 mm หรืออาจใช้ผ้าขนแกะผิวเรียบหรือผ้าสักหลาดอื่นแทนได้ หรือผ้าฝ้ายผิวเรียบ ฟอกขาว ไม่ผ่านการเมอร์เซอไรซ์ และไม่ย้อมสี มีมวลต่อพื้นที่ 100 gm ถึง 130 gm  ±3.5

โดยทั่วไปการเลือกอุณหภูมิที่ใช้ทดสอบขึ้นกับชนิดเส้นใยและโครงสร้างของผ้า หรือเครื่องนุ่งห่ม กรณีที่เป็นเส้นใยผสมให้ใช้อุณหภูมิที่เหมาะกับชนิดเส้นใยที่ทนความร้อนต่ำที่สุด อุณหภูมิทั่วไปที่ใช้ ในการกดทับ มีดังนี้

110 ±2 °C

150 ±2 °C

200 ±2 °C

อาจใช้อุณหภูมิที่ต่างจากที่กําหนดข้างต้น แต่ให้ระบุในรายงานผลทดสอบ  ปรับภาวะชิ้นงานทดสอบก่อนทําการทดสอบ ในบรรยากาศมาตรฐานสําหรับการทดสอบสิ่งทอความชื้นสัมพันธ์ ร้อยละ 65 ±4 และอุณหภูมิ 20 ±2 °C วางชิ้นงานทดสอบที่แห้งบนผ้าฝ้ายไม่ย้อมสี พุ่มผ้าฝ้ายประกบลงในน้ำ บีบเอาน้ำออกจนไม่มีน้ำหยด แล้ววางทับบนชิ้นทดสอบ เลื่อนแผ่นกดแผ่นบนของเครื่องกดทับความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิตามที่กําหนดทับลงบนชิ้นทดสอบ นาน 15วินาที

การประเมินผล ประเมินการเปลี่ยนสีของชิ้นงานทดสอบตามวิธีที่กําหนดใน มอก.เปรียบเทียบกับเกรย์สเกล สําหรับประเมินการเปลี่ยนสีทันทีในตู้ประเมินและภายหลังจากนําชิ้นทดสอบไปเก็บในบรรยากาศมาตรฐาน สําหรับการทดสอบสิ่งทอ นาน 4 ชั่วโมง

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด

1.การสอบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประกบบนและล่าง โดยการCompareโดยใช้เครื่องมือชื่อ DOCUMENT PROCEES CALIBRATOR

2.สอบเทียบเวลาในการทดสอบ โดยใช้เครื่องมือชื่อ STOP WATCH  ในการสอบเทียบเวลา

Stop Watch

3.สอบเทียบน้ำหนักของแผ่นบน ซึ่งอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อพื้นที่ของแผ่นกดทับ โดยใช้เครื่องมือชื่อ ELECTRONIC BANLANCE ในการสอบเทียบ

4.สอบเทียบความกว้างและความยาวของแผ่นกดทับบนและล่าง   โดยใช้เครื่องมือชื่อ DIGIMATIC CALIPER ในการสอบเทียบ

DIGIMATIC CALIPER

ผู้เขียน A BABYSTRIKE