BLOOD PRESSURE MONITOR (เครื่องวัดความดันโลหิต)
BLOOD PRESSURE MONITOR (เครื่องวัดความดันโลหิต) เป็น เครื่องมือวัด ชนิดหนึ่งที่ใช้วัดค่าความดันโลหิตในร่างกายมนุษย์ เราพบมากในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะไปตรวจร่างกายประจำปีเราก็ต้องวัดความดันโลหิต หรือแม้แต่เราไปขอรับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกก็จะมีเจ้าหน้าที่มาวัดความดันโลหิตเราก่อนเข้ารับการตรวจ โดยใช้เครื่องมือดังกล่าวในการวัด เพื่อดูว่าค่าความดันโลหิตเราอยู่ในค่าเกณฑ์ปกติหรือไม่ หากเรามีความดันโลหิตที่ต่ำ หรือสูงมากกว่าเกินไป เจ้าหน้าที่อาจไม่ให้เราเข้ารับบริการต่อ เพราะอาจมีผลต่อการรักษา เพราะหากรักษาหรือให้บริการฉีดยาใดๆไป อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
จะเห็นได้ว่าเครื่องวัดความดันโลหิตมีความจำเป็นต่อการแพทย์ และสุขภาพของเรามาก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด ความดันโลหิตนี้ เพื่อยืนยันว่าค่าที่แสดงผลนั้นให้ค่าที่เที่ยงตรง บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงของร่างกายในการเข้ารับบริการของเราได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ตามโรงงานอุตสาหกรรมในส่วนของห้องพยาบาลเองก็จำเป็นที่จะต้องมี เครื่องมือวัด ดังกล่าวเพื่อใช้วัดค่าความดันโลหิตของพนักงานในโรงงาน หรือแม้กระทั่งตรวจวัดบุคคลที่จะเข้ามาในพื้นที่โรงงาน ที่เข้าทำงานในพื้นที่ที่มีความอับ พื้นที่เสี่ยง พื้นที่สูง เป็นต้น
ประเภทของ BLOOD PRESSURE MONITOR (เครื่องวัดความดันโลหิต)
ที่พบเห็นทั่วไป มี 2 ลักษณะ
-
- แบบสายรัดพกพา แบบนี้หาซื้อได้ง่าย และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เพราะราคาไม่สูง หาซื้อได้ง่าย ซึ่งตอนนี้หาซื้อได้ตาม Lazada, Shopee ทั่วไป ราคาอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท
- แบบเอาแขนสอดเข้าไปด้านใน แบบนี้มักพบใช้ตามโรงพยาบาล แบบนี้แม่นยำกว่าแบบแรก และสามารถรายงานผลออกเป็นสลิปออกมาได้เลยว่าค่าที่วัดได้เท่าไหร่ นอกจากอ่านค่าหน้าจอ ไม่ต้องมารัดสายเอง ซึ่งบางทีการรัดสายเองอาจจะหลวมไปหรือแน่นไปก็ได้ แบบนี้ราคาสูงกว่า และเคลื่อนย้ายลำบากกว่าแบบแรก ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่กับที่
- แบบสายรัดพกพา แบบนี้หาซื้อได้ง่าย และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เพราะราคาไม่สูง หาซื้อได้ง่าย ซึ่งตอนนี้หาซื้อได้ตาม Lazada, Shopee ทั่วไป ราคาอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท
หน่วยของเครื่องวัดความดันโลหิตที่เราพบ คือ mmHg (มิลลิเมตรปรอท)
การใช้งาน BLOOD PRESSURE MONITOR
- เอาแขนสอดเข้าไปในเครื่อง หรือ เอาสายรัดมาพันที่ต้นแขน
- กดปุ่มเริ่ม
- เครื่องจะทำการรัดที่ต้นแขนเราและคลาย และรัดใหม่อีกรอบ
- แสดงค่าความดันโลหิตที่หน้าจอ
ทาง CLC (Calibration Laboratory) สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ดังกล่าวได้ โดยทาง CLC ยังสามารถสอบเทียบเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆได้อีกหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น ตู้อบเด็กทารก, เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องดูดของเหลว เป็นต้น โดยทาง CLC ได้มีบริการไปสอบเทียบถึงที่ ณ โรงพยาบาลต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน
ข้อควรระวังในการใช้งาน เครื่องมือวัด
- ควรปิดเครื่องทุกครั้งหลังการใช้งาน
- เครื่องวัดความดันโลหิตแบบที่เป็นสายรัดควรหมุนเก็บให้เหมาะสม ไม่ยัดใส่กล่องจนทำให้สายรัดยับหรือทับซ้อนมาก
- ควรวางไม่ให้โดนแสงแดดมากเกินไป
- หมั่นทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน
ผู้เขียน JubJub VIP
บริการ สอบเทียบความดันและสุญญากาศ