การตีความใบรายงานผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด Temperature Enclosures (Oven)
การนำข้อมูลผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด Temperature Enclosures (Oven) ไปใช้งานจะมีวิธีการอย่างไร รายละเอียดในตารางผลการสอบเทียบมีความหมายอย่างไร และเมื่อได้รับรายงานผลการ สอบเทียบเครื่องมือ จะมี วิธีอ่านผลการสอบเทียบ ประเมินความสามารถในการใช้งานของเครื่องมือได้อย่างไร สามารถศึกษาได้จากบทความของบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ได้ดังต่อไปนี้
Temperature Enclosures (Oven) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตู้ควบคุมอุณหภูมิ ทางบริษัท CLC (Calibration Laboratory) จะใช้วิธีการสอบเทียบโดยการวางสาย Sensor Thermocouple หรือ สาย Sensor RTD 4 Wire วางตามจุดภายในตู้ทั้งหมด 9 ตำแหน่ง ตามรูปที่ 3
รูปที่ 1 ตัวอย่างตู้ควบคุมอุณหภูมิ
รูปที่ 2 ตัวอย่างสาย Sensor และตัวอ่าน
รูปที่ 3 ภาพจำลองตำแหน่งการวางสาย Sensor ภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิ
ตัวอย่าง Certificate Temperature Enclosures (Oven)
ในใบรายงานผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ของทางบริษัท CLC จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มี วิธีอ่านผลการสอบเทียบ ดังนี้
- DUC Setting (หน้าจอแสดงผลในการกำหนดอุณหภูมิ) เป็นการกำหนดค่าจากอุปกรณ์แสดงผลของเครื่องมือ
- DUC Indicating (หน้าจอแสดงผลการวัดอุณหภูมิภายในตู้ของเครื่องมือ) ค่าเฉลี่ยจากการอ่านค่าอุปกรณ์แสดงผล Temperature Enclosures (Oven)
- Measured Uniformity (ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิ) คือ ผลต่างที่มีค่ามากที่สุดของอุณหภูมิที่ตำแหน่งใดๆ เทียบกับอุณหภูมิที่ตำแหน่งอ้างอิง (Reference Point) ที่วัดได้ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยนำผลต่างที่มีค่ามากที่สุดของอุณหภูมิ ในแต่ละตำแหน่ง (Probe) (Probe 1-8) เทียบกับ Probe 9 ในแต่ละอุณหภูมิ นำผลที่แตกต่างกันมากที่สุดมาแสดงผล ( 1.16 °C ) ตัวอย่างการคำนวณค่า Measured Uniformity : ค่าที่มากที่สุดแต่ละ Probe (1-8) to Probe 9 , ค่าที่น้อยที่สุดแต่ละ Probe (1-8) to Probe 9 ( ในกรอบสีเขียวลบด้วยกรอบสีฟ้า คำนวณแยกแต่ละครั้งของการวัด แล้วเลือกค่าที่มากที่สุด) จากนั้นจะใช้ค่าที่มากที่สุดในกรอบสีส้มแสดงในใบรายงานผล
- Measured Stability (ความเสถียรของอุณหภูมิ) คือผลต่างที่มากที่สุดของอุณหภูมิที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ภายหลังจากเครื่องมือเข้าสู่สภาวะคงที่ การบันทึกอุณหภูมิที่วัดได้เป็นแบบต่อเนื่อง ผลต่างที่มากที่สุดของอุณหภูมิ ได้มาโดยนำค่าที่มากที่สุดลบกับค่าน้อยที่สุดของแต่ละตำแหน่ง (Probe) (Probe 1-9) มาแสดงผล ( 0.03 °C ) ตัวอย่างการคำนวณค่า Measured Stability : ค่าที่มากที่สุด ลบ ค่าที่น้อยที่สุด ( ในกรอบสีแดง คำนวณแยกแต่ละ Probe (1-9) ) นำค่า Stability ที่มากที่สุด( กรอบสีชมพู ) หารด้วย 2 จะเป็นค่าที่แสดงในใบรายงานผล
5. Measured Overall Variation (การแปรผันรวม) คือ ผลต่างระหว่างอุณหภูมิที่มากที่สุดเทียบกับอุณหภูมิที่น้อยที่สุดของทุกเซ็นเซอร์ ตำแหน่งใดๆ ตลอดช่วงเวลาของการสอบเทียบในแต่ละอุณหภูมิ (1.37 °C) ตัวอย่างการคำนวณค่า Measured Overall Variation: ค่าที่มากที่สุดลบค่าที่น้อยที่สุด (ในกรอบสีเหลือง) จะเป็นค่าที่แสดงในใบรายงานผล
หมายเหตุ : Measured Uniformity, Measured Stability และ Measured Overall Variation มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จะบ่งบอกว่าตู้ควบคุมอุณหภูมิมีประสิทธิภาพดี ส่งผลให้ค่าความไม่แน่นอนมีค่าปริมาณต่ำ
- Measured Temperature (อุณหภูมิที่ถูกวัด) คือ ค่าเฉลี่ยจากการอ่านของเซนเซอร์มาตรฐานที่ตำแหน่งใดๆ แต่ละตำแหน่ง (Probe 1-9)
- Uncertainty (ค่าความไม่แน่นอน) คือ ค่าไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบ เกิดจากการวัด เครื่องมือวัด ผู้ปฏิบัติการ และสภาวะแวดล้อม
- Coverage factor k (ความไม่แน่นอนขยาย) คือ ตัวประกอบครอบคลุม Factor ที่ใช้ในการคำนวณค่าความไม่แน่นอน
หมายเหตุ DUC ( Device Under Calibration ) หมายถึง เครื่องมือที่อยู่ภายใต้การสอบเทียบ Temperature Enclosures (Oven)
การนำค่าจากใบรายงานผลการสอบเทียบไปใช้งาน
Ex. สอบเทียบที่ 50 °C เกณฑ์การยอมรับ ± 2 °C
- การหาค่า Correction ของเครื่องมือ
- นำค่า Correction รวมกับ Uncertainty
จากการหาค่า Correction ของ เครื่องมือวัด จะพบว่าผลการสอบเทียบที่มีความแตกต่างมากที่สุดคือค่า MAX +1.13 °C โดยให้นำมารวมกับค่า Uncertainty (ค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบ) 0.50 °C จะมีค่าเท่ากับ 1.63 °C นำไปเทียบกับเกณฑ์การยอมรับ ± 2 °C
จะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด จึงตัดสินได้ว่าผ่านการประเมิน
หมายเหตุ : ในกรณีที่เครื่องมือของลูกค้าเกินเกณฑ์การยอมรับที่ตั้งไว้ การใช้งานเครื่องมือต้องมีการบวกค่าแก้ หรือค่า Correction เพื่อชดเชยความผิดพลาดของเครื่องมือ
ข้อเสนอแนะ
- ควรตรวจสอบ Scope ที่ทางบริษัท CLC ได้รับการรับรองก่อนพิจารณาส่งเครื่องมือสอบเทียบ
ขอบข่าย สมอ. ได้รับการรับรองอยู่ที่ -30 °C to 250 °C ( TC ), -30 °C to 150 °C ( RTD )
ขอบข่าย ANAB ได้รับการรับรองอยู่ที่ -70 °C to 250 °C ( TC ), -70 °C to 250 °C ( RTD )
- ค่า CMC ใน scope คือค่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) ที่ดีที่สุดที่ทางห้องปฏิบัติการได้รับการรับรอง ไม่ได้หมายถึงผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่จะแสดงให้ทุกๆครั้ง ในผลการสอบเทียบ ซึ่งผลการสอบเทียบที่ได้อาจมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องอาจทำให้ค่า Uncertainty มีค่ามากกว่า CMC ที่แสดงใน Scope
หมายเหตุ :
MPE (Maximum permissible error) คือ ค่าความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมรับได้ของเครื่งมือ
CMC (Calibration and Measurement Capability) คือ ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด
เอกสารอ้างอิง
- Guidelines for Calibration and Checks of Temperature Controlled Enclosures G-20-1/02-08 (E) (TLAS)
- Thai Laboratory Accreditation Scheme G-20-1/02-08 (E)
- Guidelines on the Calibration of Temperature and / or Humidity Controlled Enclosures EURAMET Calibration Guide No. 20 Version 5.0 (09/2017)
ผู้เขียน D. Harmony
บริการ สอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น