ข้อควรระวังการใช้ประแจปอนด์ ประเภท Click Type
สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาแนะนำการใช้ประแจปอนด์ Click Type Brand TONE กันค่ะ
โดยมีแนะนำ 4 เรื่องดังนี้ ได้แก่
- เลือกช่วงแรงบิดให้เหมาะสม
- ทำความเข้าใจการใช้งานประแจปอนด์ รุ่น Pre-set Type ตามคู่มืออย่างละเอียด
- อ่านข้อควรระวังการใช้งานที่มาพร้อมกับเครื่องมือ
- ข้อแนะนำการส่งสอบเทียบ
เลือกช่วงแรงบิดให้เหมาะสม
ก่อนจะเลือกใช้ประแจปอนด์ ผู้ใช้งานจะต้องเลือกช่วงการใช้งานให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งช่วงแรงบิดที่แนะนำ คือ 30-80 % ของแรงบิดสูงสุด จะทำให้การใช้งานได้ดีมากขึ้น
ยกตัวอย่าง การคำนวณช่วงแรงบิดที่เหมาะสม เช่น จากรูปตัวอย่างต้องการใช้งานที่ 60 N.m รุ่นที่ดีที่สุดคือ T4MN140 Range 30-140 N.m คำนวณได้ช่วงแรงบิดที่เหมาะสมคือ 43% ของแรงบิดสูงสุด จะคำนวณ%ได้ดังนี้
Tightening torque 60 N.m x (100/140) = 42.58% (ประมาณ 43% ของแรงบิดสูงสุด) ซึ่งอยู่ในช่วงกึ่งกลางที่สุดของแรงบิดที่แนะนำ คือ 30-80 % รุ่น T4MN140 จึงจัดเป็นรุ่นที่ดีที่สุดในการใช้งาน
รุ่น T3MN100 และ T4MN100 จากการคำนวณจะได้ค่าเท่ากับ 60% ของแรงบิดสูงสุด ใช้งานได้แต่จะต้องใช้แรงในการขันมากกว่ารุ่น T4MN140
รุ่น T4MN200 เนื่องจากจุดใช้งาน 60 N.m ใกล้เคียงกับค่า Min ของ Range มาเกินไปจึงไม่แนะนำให้ใช้
รุ่น T6MN300 ไม่แนะนำให้ใช้งาน เพราะไม่อยู่ในช่วงที่แนะนำ 30-80 % ของแรงบิดสูงสุด
ทำความเข้าใจการใช้งานประแจปอนด์ รุ่น Pre-set Type ตามคู่มืออย่างละเอียด
โดยมีวิธีการที่ถูกต้องดังนี้
2.1 การใส่ลูกบล็อกเข้ากับ Square Drive สี่เหลี่ยมของประแจปอนด์ต้องใส่จนสุด
2.3.1 ทำการคลายล็อคโดยหมุน Locking Screw ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาจนชนกับ Pin
2.3.2 ทำการตั้งค่าแรงบิดเป้าหมายด้วยปุ่มปรับการตั้งค่าแรงบิด
2.4 เลื่อนลูกบล็อกไปเหนือสลักเกลียวและน็อตที่จะขันให้แน่น
2.5 จับที่บริเวณด้ามจับ (Loading point) แล้วหมุนประแจปอนด์ ตามเข็มนาฬิกาช้าๆ
อ่านข้อควรระวังการใช้งานที่มาพร้อมกับเครื่องมือ
ประแจปอนด์ ยี่ห้อ TONE ประเภท Click Type มีข้อควรระวังในการใช้งานดังนี้ค่ะ
3.1 ขันใช้งานทิศทางตามเข็มนาฬิกาเท่านั้น คือใช้สำหรับขันแน่นได้อย่างเดียว ห้ามนำไปใช้ในการคลายน็อต (ห้ามทวนเข็มนาฬิกา) เพราะอาจจะทำให้บริเวณหัว Square Drive ของเครื่องเสียหายได้
3.3 ต้องสลับทิศทางของคันโยก (Reverse lever) ไปจนสุด
3.4 ตั้งค่าแรงบิดเป้าหมายให้อยู่ในช่วงที่ Spec เครื่องระบุไว้ หากตั้งค่าเกินหรือต่ำกว่าที่เครื่องกำหนดจะทำให้ได้ค่าที่ไม่แม่นยำ และอาจทำให้แกนหมุนตัวเลขค้าง ไม่สามารถหมุนย้อนกลับได้ ส่งผลให้เครื่องมือเสียหาย ต้องส่งซ่อม ทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายกับการซ่อม
3.6 แรงบิดเป้าหมาย และยังมีผลทำให้เครื่องมือเสียหายได้ หยุดให้แรงบิดเมื่อได้ยินเสียงคลิ๊ก ห้ามขันย้ำให้แรงต่อ เพราะหากให้แรงต่อไปจะทำให้ได้ค่าที่เกิน
ข้อแนะนำการส่งสอบเทียบ ประแจปอนด์ Click type
เครื่องมือควรส่งสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ACCREDIT ISO/IEC 17025:2017 เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่าเครื่องมือยังอยู่ใน Spec อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
โดยการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ด้านตามเข็มนาฬิกาในช่วง หัว, กลาง, ท้าย ของประแจ ให้ครอบคลุมช่วงการใช้งาน เช่น รุ่น T4MN100 ช่วงการสอบเทียบอยู่ที่ 20, 60, 100 N.m เพื่อที่เราจะนำไปใช้งานได้อย่างมั่นใจค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆ สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประแจปอนด์ประเภท Click Type ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่เข้ามาอ่านจะได้ความรู้ และได้ทำความเข้าใจกับข้อควรระวังมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปประกอบกับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้ดีมากขึ้น หากมีเรื่องราวดีๆ ที่น่าสนใจ จะมาเขียนให้อ่านเพิ่มเติมนะคะ สวัสดีค่ะ
ผู้เขียน Suphanun BDS
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อประแจปอนด์
—