การสอบเทียบ การสอบเทียบเครื่องมือวัด คืออะไร?

เครื่องมือวัด การสอบเทียบเครื่องมือวัดคืออะไร_Calibration Lab

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) คือ อะไร

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด คือ การตรวจสอบค่าความถูกต้องของเครื่องมือที่ใช้เพื่อวัด ตวง ชั่ง ตามแต่การใช้งาน เนื่องจากการใช้งาน เครื่องมือวัด นั้นจำเป็นต้องตรวจสอบค่าของเครื่องมือวัดให้ถูกต้องอยู่เสมอ ถ้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หากเราต้องการวัตถุดิบน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เราก็ตักวัตถุดิบลงบนตาชั่ง ให้ขีดตาชั่งถึงตัวเลข 1 กิโลกรัม นั่นเอง คำถามก็คือ “น้ำหนักของวัตถุดิบนั้นเท่ากับ 1 กิโลกรัมจริงหรือ ตาช่างที่ว่านั้นเชื่อถือได้หรือเปล่า ” จึงเป็นที่มาของการ “สอบเทียบเครื่องมือวัด” หรือคือ การเปรียบเทียบค่ากันระหว่างสอง เครื่องมือวัด โดยเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบจะถูกเทียบกับเครื่องมือทางวิศวกรรมที่มีความละเอียดแม่นยำสูง ตรวจสอบอุปกรณ์ช่างตวงวัดเหล่านั้นว่ามีความถูกต้องหรือไม่ โดยจำเป็นต้องสามารถสอบกลับไปสู่ค่าอ้างอิงมาตรฐานได้ เราจะเรียกเครื่องมือที่เป็นตัวเปรียบเทียบนี้ว่า “เครื่องมือสอบเทียบ (Calibrator)”

การสอบเทียบเครื่องมือวัดยังช่วยในการวิเคราะห์และปรับปรุงการวัดในงานต่างๆ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบเทียบเครื่องมือจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงการวัดและการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงเครื่องมือวัดหรือกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีคุณภาพที่มาตรฐานหรือไม่ และจะช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงสุด

นอกจากนี้ การสอบเทียบเครื่องมือวัดยังเป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความแม่นยำของเครื่องมือวัดเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการวัด ซึ่งอาจส่งผลต่อผลิตภัณฑ์และการใช้งานของลูกค้า ดังนั้นการสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นสิ่งที่สำคัญและควรทำเป็นประจำเพื่อปรับปรุงการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานตามที่ต้องการ

 

ขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การสอบเทียบเครื่องมือวัดมี ขั้นตอนการดำเนินงานที่จำเป็นต้องเป็นระเบียบและมีขั้นตอนการวิเคราะห์ผลลัพธ์อย่างละเอียด ซึ่ง ขั้นตอนการสอบเทียบ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เตรียมเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบให้พร้อมทำงาน
2. ทดสอบเครื่องมือวัดในสภาวะเดิมก่อนการสอบเทียบ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือวัดยังใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
3. ดำเนินการสอบเทียบโดยใช้วิธีการทดสอบที่เป็นมาตรฐาน โดยจะมีการวัดการสอบเทียบและบันทึกผลลัพธ์จากเครื่องมือวัดที่เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับสอบเทียบโดยเฉพาะ (Calibrator) นำมาเปรียบเทียบ
4. วิเคราะห์ผลลัพธ์จากการสอบเทียบโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือวัดมาตรฐานที่ต้องการสอบเทียบ กับเครื่องมือวัดได้รับการรับรองมาตรฐาน (Calibrator) เช่น สมอ. หรือ ANAB เป็นต้น เพื่อ
ตรวจสอบว่าเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบมีความแม่นยำและเที่ยงตรงตามมาตรฐานหรือไม่

สรุปผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดโดยให้ข้อมูลผลการวัด ความถูกต้อง ความเที่ยงตรง และความแม่นยำของเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบ

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,Dial Gauge Tester ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด
 

ทำไมต้องสอบเทียบ (Calibration) และประโยชน์ของการสอบเทียบคืออะไร

          ทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรีการแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ การพัฒนาองค์กรในทุกๆด้านเพื่อให้มีศักยภาพสอดคล้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่สำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิต ก็คือ การ สอบเทียบเครื่องมือวัด 

ทำไมต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด

เหตุผลในการสอบเทียบเครื่องมือ ก็เพื่อที่จะตรวจสอบและสร้างความมั่นใจว่าค่าที่ได้จากการวัดนั้นจะมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เพราะการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นจะส่งผลต่อทั้ง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การบำรุงรักษา ความยั่งยืนของโรงงาน รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานการผลิต หากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพตามมาตรฐานแล้ว ยังสามารถเพิ่มขีดจำกัดของการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

การสอบเทียบสามารถบอกอะไรได้บ้าง

           การสอบเทียบเครื่องมือวัด มีกระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้ (MPE: Maximum Permissible Error) เพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนนำออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด เมื่อเราสั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะได้รับใบรับรองผลการตรวจสอบ (Inspection Certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (Calibration Certificate) ของเครื่องมือวัดนั้น ๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ ในใบรับรองผลการตรวจสอบหรือใบรับรองผลการสอบเทียบจะระบุคุณสมบัติเฉพาะต่าง ๆ ของเครื่องมือวัด เช่น พิสัยการวัด (Range) ค่าความละเอียด (Resolution) ค่าความถูกต้อง (Accuracy) และสภาวะแวดล้อมได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้

การใช้งานเครื่องมือที่ต่อเนื่องส่งผลอย่างไร

           แต่เมื่อเครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งาน อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความคลาดเคลื่อนของผลการวัดที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากการ Drift หรือการลอยเลื่อนหมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี หรือทางกล เป็นต้น

           นอกจากนี้ผู้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย ฉะนั้นเมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมา คือเครื่องมือวัดที่เคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง, แม่นยำ อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือตามไปด้วย หรือหากนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้งานย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงานและกระบวนการผลิต การ Drift หรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัดนั้น ไม่สามารถกำจัดได้ แต่สามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบเครื่องมือวัด
ดังนั้นการสอบเทียบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุก ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต การทดสอบ และการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพราะองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เครื่องมือวัดที่มีความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั่นเอง


การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าเครื่องมือของคุณได้รับการตรวจสอบและสอบเทียบตามมาตรฐานที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความแม่นยำและคุณภาพของกระบวนการผลิต การเลือกผู้ให้บริการที่ดีจึงควรพิจารณาหลายปัจจัยสำคัญ เพื่อให้ได้บริการที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุด

คุณสมบัติของผู้ให้บริการที่ดี

ผู้ให้บริการที่ดีควรมีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในงานสอบเทียบ โดยคุณสามารถพิจารณาได้จาก

  • ใบรับรองมาตรฐาน ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการมีการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ISO/IEC 17025
  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ให้บริการควรมีประสบการณ์กับเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • บริการหลังการขาย ควรมีการให้คำปรึกษาหรือบริการเพิ่มเติมหลังการสอบเทียบ เช่น การตรวจสอบระยะเวลาการสอบเทียบในอนาคต

ความสามารถในการสอบกลับมาตรฐานสากล

การสอบเทียบที่ดีควรสามารถสอบกลับไปยังมาตรฐานสากลได้ ซึ่งหมายถึงผลการวัดของเครื่องมือสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้ ความสามารถนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าและลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาด

สิ่งที่ควรตรวจสอบ

  • มีเอกสารยืนยันการสอบกลับ เช่น ใบรับรอง Calibration Certificate
  • อุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้สอบเทียบต้องได้รับการสอบกลับไปยังมาตรฐานแห่งชาติหรือนานาชาติ

 

การพิจารณาราคาและความคุ้มค่า

ราคาเป็นปัจจัยที่หลายคนให้ความสำคัญ แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงควบคู่กันคือความคุ้มค่าของบริการที่ได้รับ โดยไม่ควรเลือกผู้ให้บริการเพียงเพราะราคาถูกที่สุด

ข้อแนะนำในการพิจารณา

  • เปรียบเทียบราคากับคุณภาพของบริการและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
  • ตรวจสอบความครอบคลุมของบริการ เช่น ค่าใช้จ่ายรวมถึงการรับ-ส่งเครื่องมือหรือไม่
  • อ่านรีวิวหรือสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้งานคนอื่นเพื่อประเมินความคุ้มค่า
  • การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ดี ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมั่นใจในคุณภาพของเครื่องมือ แต่ยังส่งผลต่อกระบวนการผลิตและความน่าเชื่อถือในระยะยาวอีกด้วย

 

ตัวอย่างการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การสอบเทียบเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer Calibration)

  • วิธีการ: เปรียบเทียบอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์วัดได้กับค่าที่ได้จากเทอร์โมมิเตอร์อ้างอิงที่มีความแม่นยำสูงในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น การใช้ Bath ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
  • ความถี่: ปกติจะทำการสอบเทียบทุก 12 เดือน
  • มาตรฐานที่ใช้: มาตรฐาน ISO/IEC 17025 หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัดอุณหภูมิ

การสอบเทียบเครื่องวัดความชื้น (Hygrometer Calibration)

  • วิธีการ: ทำการสอบเทียบโดยใช้อุปกรณ์ที่ควบคุมระดับความชื้นในอากาศ แล้วเปรียบเทียบค่าที่เครื่อง Hygrometer แสดงกับค่าที่ได้จากเครื่องวัดความชื้นมาตรฐาน
  • ความถี่: ปกติจะทำการสอบเทียบทุก 6-12 เดือน
  • มาตรฐานที่ใช้: มาตรฐาน ASTM หรือ ISO 17025

 

โดยการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้น ทาง CLC ได้จัดทำการสอบเทียบตามห้องปฏิบัติการต่างๆเพื่อแยกตามประเภทการใช้งาน เช่น

การ สอบเทียบประแจทอร์ค ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการแรงบิดและแรง Torque & Force

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,digital torque wrench ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด

การ สอบเทียบ Plug Gauge ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการมิติ Dimension

การ สอบเทียบ Digital Balance ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของ ห้องปฏิบัติการมิติ Mass Balance

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,digital balance, เครื่องชั่ง,เครื่องชั่งดิจิตอล ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด

การ สอบเทียบ Thermometer ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการอุณหภูมิและความชื้น Temperature & Humidity

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,thermometer, temperator ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด

การ สอบเทียบดิจิตอล มัลติมิเตอร์ Digital Multimeter ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของ ห้องปฏิบัติการไฟฟ้า Electrical

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,digital multimeter ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด

และสามารถตรวจสอบเครื่องมือวัด ที่ท่านต้องการสอบเทียบได้จากบริการของห้องปฏิบัติการต่างๆ จาก บริษัท Calibration Laboratory ตามลิงค์นี้ได้ครับ

 

 

วิธีอ่านค่าใบ Calibration Certificate

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด