ประเภทของ Tachometer และการบำรุงรักษา

เครื่องวัดความเร็วรอบ (Tachometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดงานในด้านการวัดความเร็วของรอบในการหมุนของวัตถุ โดยงานส่วนใหญ่ที่พบเจอ ที่ใช้ตัว เครื่องวัดความเร็วรอบในการวัดจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะนำเครื่องนี้ไปวัดความเร็วรอบของ ใบพัด เพลา และมอเตอร์ของรถยนต์ การวัดจะมีหน่วยความเร็วของแต่ละรอบเทียบกับเวลา หรือรอบต่อนาที (RPM = Revolutions Per Minute) และจะแสดงข้อมูลหรือผลการวัดเป็นตัวเลขบนหน้าจอดิจิตอล นอกจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่นิยมใช้แล้วยังมีในส่วนของทางการแพทย์ที่มีการใช้เครื่องวัดความเร็วรอบด้วย
เพื่อให้ทราบถึงจำนวนรอบและเวลาในการหมุนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลของประเภทงาน

เครื่องวัดความเร็วรอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.แบบสัมผัส (Contact Tachometer)

เป็นการวัดโดยการใช้เครื่องในส่วนของปลายวัดหรือหัวเซนเซอร์ไปแตะสัมผัสเพื่อวัดชิ้นงานโดยตรงในตำแหน่งที่ต้องการวัด เช่น ใบพัด เพลา และมอเตอร์ของรถยนต์ เพื่อต้องการทราบความเร็วรอบต่อนาที  (RPM)

Tachometer

ที่มา http://iconjpn.com

2.แบบไม่สัมผัส (Non-Contact Tachometer)

เป็นการวัดโดยการใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงไปที่ตำแหน่งที่ต้องการวัดเพื่อวัดความเร็วรอบ โดยหัวเซนเซอร์จะไม่สัมผัสชิ้นงานโดยตรง เช่น ใบพัด เพลา และมอเตอร์ของรถยนต์ เพื่อต้องการทราบความเร็วรอบต่อนาที (RPM)

Tachometer

 

การบำรุงรักษาเครื่องทดสอบความความเร็วรอบ

1.เลือกประเภทเครื่องมือวัดความเร็วรอบให้เหมาะสมกับหน้างานที่ต้องการนำไปใช้

2.จัดเก็บเข้ากล่องเครื่องมือทุกครั้งหลังใช้งาน

3.เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือวัดเป็นประจำหลังใช้งาน

ทำไมต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด

โดยทั่วไปแล้วเครื่องมือที่มีการใช้งานอยู่แล้วนั้นจะใช้งานเป็นประจำหรือไม่เป็นประจำ เครื่องมือจะมีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานซึ่งจะส่งผลไปถึงความแม่นยำในการอ่านค่าของเครื่องมือ จะทราบได้ก็ต่อเมื่ออ่านค่าไม่เที่ยงตรง มีผลการสอบเทียบที่เกินค่าเกณฑ์การยอมรับ (MPE) ที่ตั้งไว้ ซึ่งส่งผลโดยตรงเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้งานและคนรับผิดชอบเกี่ยวกับงานนั้นๆ เพราะอย่างนั้นแล้วการสอบเทียบเครื่องมือ ควรสอบเทียบกับห้องแลปที่มีเครื่องมือมาตรฐานเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
และความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

Calibration Laboratory (CLC) มีการให้บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ทั้ง 2 แบบ

  1. รับกลับมาสอบเทียบที่ LAB (In Lab)
  2. บริการสอบเทียบนอกสถานที่ (Onsite)

โดย Standard ที่ CLC ใช้ ในการสอบเทียบเครื่องวัดความเร็วรอบ คือ High Resolution Programmable Time/Counter , Function/Arbitrary waveform Generator, Agilent  สอบเทียบด้วยทีมงานฝ่ายสอบเทียบที่มีความเชี่ยวชาญ และเครื่องมือสอบเทียบ (STD) ที่สามารถสอบย้อนกลับได้จนถึง SI Unit

Calibration Laboratory (CLC) ได้การรับรอง ISO/IEC 17025 จากสถาบัน ANAB ของสหรัฐอเมริกา (In Lab, Onsite)

สามารถเช็ค Scope การสอบเทียบ ได้ที่นี่

Scope การสอบเทียบ Tachometer คลิก

 

ผู้เขียน Ple

 

 

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา