Pressure Safety Valve คืออะไร ???
Pressure Safety Valve หรือ วาล์วนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเพื่อความปลอดภัยของระบบ โดยมีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในออกจากระบบ ซึ่งเครื่องมือวัดประเภท วาล์วนิรภัยจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อแรงดันในระบบมีค่าแรงดันสูงกว่าค่าที่มีการตั้งไว้ โดย วาล์วนิรภัยจะใช้กับแรงดันที่เกิดจากของเหลวที่สามารถบีบอัดได้ (Compressible Fluid) เช่น ไอน้ำ หรือก๊าซ ซึ่งต้องมีการระบายแรงดันออกจากระบบอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายของท่อหรือถังที่อาจเกิดขึ้นได้
เครื่องมือวัด Pressure Safety Valve มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
- Valve Body เป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถัง โดยส่วนใหญ่จะผลิตจากเหล็กหล่อ หรือวัสดุอื่นๆตามการใช้งาน
- Disc โดย Disc จะทำหน้าที่รับแรงดันทั้งหมดไว้ มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆใช้กดปิดกั้นของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริง
- Stem เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยังแผ่น Disc โดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตามแนวแกน Stem
- Spring เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงต้านทานแรงดันที่แผ่น Disc เมื่อมีการ Adjust Screw เพื่อให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้เพื่อกำหนดค่าแรงดันที่จะทำให้ Valve เกิดการระบาย
- Adjust Screw ใช้ปรับระยะยืดหดของสปริง จุดนี้จะเป็นการปรับตั้งค่าความดัน
วาล์วนิรภัยมีการทำงานอย่างไร
Safety Valve โดยทั่วไปการทำงานของ เครื่องมือวัด วาล์วนิรภัย เมื่อมีความดันภายในระบบท่อหรือถัง มีค่ามากกว่าค่าแรงของความดันที่มีการตั้งไว้ (Set Pressure) แรงจากความดันที่เกิดขึ้นภายในที่กระทำต่อแผ่น Disc จะมีค่ามากกว่าที่แรงดันที่กดสปริง ทำให้แผ่น Disc เกิดการยกตัวขึ้น และระบายความดันส่วนเกินออกมา เมื่อความดันในระบบลดลงแล้ว แผ่น Disc ก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งและรับความดันภายในเช่นเดิม
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ได้ที่ Range เท่าใดบ้าง
วาล์วนิรภัย สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ให้บริการ โดยได้รับการรับรอง Scope ISO/IEC17025:2017 จาก ANSI National Accreditation Board (ANAB) ดังนี้
รายการสอบเทียบ | Range | วิธีการสอบเทียบ |
Safety Valve | (0 to 34.5) kPa
(34.5 to 103.4) kPa (103.4 to 206.8) kPa (206.8 to 689.5) kPa (689.5 to 2 068) kPa (2 068 to 3 447) kPa (3 447 to 10 342) kPa |
In house method: CLCCPPP-14 based on DKD – R6-1 by Comparison technique with Pressure Module |
***ทาง CLC สามารถให้ บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัดวาล์วนิรภัย ได้ทั้งรูปแบบ In Lab และ Onsite
ซึ่งได้Scope จาก ANSI National Accreditation Board (ANAB) ทั้งรูปแบบ In Lab และ Onsite***
หากต้องการส่งเครื่องมือวัดวาล์วนิรภัยมาสอบเทียบต้องทำอย่างไร
- ควรกำหนดจุดค่าแรงดัน (Set Pressure) ที่ต้องการตรวจเช็ค ให้ตรงกับ Point ที่ใช้งานเป็นประจำ โดยปกติลูกค้าจะตั้งค่าแรงดัน อยู่ที่ 1 pointใช้งาน
- กรณีสอบเทียบเครื่องมือวัดครั้งแรกกับ CLC แนะนำให้ลูกค้าส่งรายละเอียดเครื่องมือมา Check กับห้องปฏิบัติการก่อน เช่น แบรนด์, โมเดล, Spec เครื่องมือที่ลูกค้าใช้งาน
ผู้เขียน Leader ลูกคิด
บริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ
—