PRESSURE INDICATOR เช่น PRESSURE GAUGE นั้น ทำไมต้องส่งสอบเทียบ

PRESSURE INDICATOR

PRESSURE INDICATOR เป็นเครื่องมือในการวัดความดันและสุญญากาศเป็นอุปกรณ์ในการใช้วัด หรืออ่านค่าแรงดันก๊าซ และ ของเหลว เกจวัดแรงดัน ความดันของ PRESSURE จะมีนิยามโดยทั่วไป

จะมีอยู่ด้วยกันอยู่ 4 แบบ

  1. ความดันเกจ (Pressure Gauge) โดยค่าที่แสดงผลจะเป็นค่าที่สูงกว่าความดันบรรยากาศขึ้นไป
  2. ความดันสุญญากาศ (Pressure Vacuum) โดยค่าที่แสดงผลจะเป็นค่าที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศลงมา
  3. ความดันสัมบูรณ์ (Pressure Absolute) มีจุดอ้างอิงค่าศูนย์ที่  Zero Pressure
  4. ความดันดิฟเฟอเรนเชียล (Pressure Differential) เป็นการบอกความดันที่แตกต่างกันระหว่างแหล่งที่วัดความดัน

รูปที่ 1 ตัวอย่าง Dead Weight Tester ใช้สื่อกลางที่เป็นน้ำมัน (Hydraulic Oil) ของ Calibration Laboratory Co.,LTD

รูปที่ 2 ตัวอย่าง Dead Weight Tester ใช้สื่อกลางที่เป็น Air หรือ N2 ของ Calibration Laboratory Co.,LTD

รูปที่ 3 ตัวอย่าง Pressure Module ของ Calibration Laboratory Co.,LTD

วิธีการสอบเทียบ PRESSURE INDICATOR ของทาง บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ( CLC )

เป็นการ Comparison Technique With Dead Weight Tester หรือ Pressure Moduleซึ่งการสอบเทียบจะพิจารณาความถูกต้องของ DUC (Accuracy) เพื่อกำหนดลำดับ (Sequence) การสอบเทียบที่เหมาะสมตาม Class A, B, C ซึ่ง Class A จะทำการสอบเทียบ 9 Point Up/Down (2/2), Class B จะทำการสอบเทียบ 9 point Up/Down (2/1),Class C จะทำการสอบเทียบ 5 Point Up/Down (1/1) และสื่อกลางที่จะใช้จะเป็นไปตามการใช้งานถ้าเป็นของเหลวจะใช้น้ำหรือน้ำมัน (Hydraulic Oil) ถ้าเป็นลมจะใช้ Air หรือ N2 โดยมีขั้นตอนการในการสอบเทียบดังนี้

  1. ทำการ Preload เครื่องมือลูกค้า (DUC) และ เครื่องมือ STD ไปยังค่าความดันสูงสุดที่ต้องทำการสอบเทียบโดย Class A (3), Class B (2),Class C (1)
  2. ทำการสอบเทียบขาขึ้น (Up) โดยแรงดันเข้าสู่ระบบการสอบเทียบตามย่านการสอบเทียบ
  3. อ่านค่าความดัน DUC และ STD แล้วบันทึกลงในตารางบันทึกผลการสอบเทียบ
  4. ทำตามข้อ (2),(3) จนถึงจุดสอบเทียบสูงสุด แล้วทำการสอบเทียบขาลง (Down) โดยปล่อยความดันออกจากระบบตามวิธีการสอบเทียบแต่ละจุดจนครบทุกจุด
  5. ปล่อยความดันสู่บรรยากาศ

STANDARD ที่ทาง บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC ใช้ในการสอบเทียบ PRESSURE INDICATOR จะเป็น Dead Weight Tester สำหรับสอบเทียบ Pressure ที่ Spec ความถูกต้อง (Accuracy) สูง และใช้Hand Pump, Document Process Calibrator, Pressure Module (Fluke) สำหรับสอบเทียบ Pressure ที่ Spec ความถูกต้อง (Accuracy) ทั่วๆไป โดยทั้ง2วิธีการสอบเทียบ ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025:2017 จาก สมอ. (ประเทศไทย) และ ANAB (ประเทศสหรัฐอเมริกา) และ ทาง บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ( CLC ) มีช่างที่สอบเทียบชำนาญเฉพาะทางทำการสอบเทียบเครื่องมือแต่ละประเภทให้กับทางลูกค้าอย่างมีคุณภาพไว้วางใจในผลการสอบเทียบที่ทางลูกค้าจะได้ไปหลังจากทำการสอบเทียบเสร็จ

  • มีบริการรับเครื่องมือกลับเข้ามาสอบเทียบภายในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (In Lab)
  • มีบริการออกไปสอบเทียบเครื่องมือที่หน้างาน (On Site)

ทำไมต้องส่งเครื่องมือวัดมาสอบเทียบ

การส่งเครื่องมือสอบเทียบเพื่อตรวจสอบเช็คค่าเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือที่เราใช้งานอยู่นั้นยังสามารถที่จะใช้งานได้ และเมื่อสอบเทียบแล้วต้องยังคงได้ค่าที่แม่นยำ ถูกต้องอยู่ เครื่องมือวัดในอุตสหกรรมการผลิตและในโรงงานส่วนมากก็จะมีการส่งตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ที่ทางลูกค้าได้กำหนดไว้ ( MPE)  เพื่อให้ได้มาตรฐานต่อๆไป

สิ่งที่ควรรู้เพื่อเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม

ในการเลือกใช้งานลูกค้าควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น วัดแรงดันของลม  วัดแรงดันของน้ำ วัดแรงดันของก๊าซ และวัดแรงดันของน้ำมัน ทางผู้ใช้งานควรเลือกเครื่องมือให้ถูกต้องกับการใช้งานจริงเพื่อลดปัญหาและข้อผิดพลาดในการใช้งาน เพราะจะส่งผลกระทบและปัญหาตามมาได้ถ้าในกรณีที่ทางลูกค้าเลือกเครื่องมือมาใช้งานไม่ตรงประเภท

สิ่งที่ผู้เขียนอยากให้ทางลูกค้าได้นึกถึงความสำคัญของการสอบเทียบ

ผู้ใช้งานควรมีการกำหนดช่วงระยะเวลาในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือแต่ละประเภทที่ใช้งานอยู่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยระยะเวลาในการกำหนดขึ้นอยู่กับการใช้งานด้วยถ้าใช้บ่อยก็ควรส่งสอบเทียบบ่อย เพื่อดูค่าความคลาดเคลื่อนของตัวเครื่องมือ ความหมายก็คือ กำหนด Due date กำหนดวันส่งเครื่องมือเข้าสอบเทียบ เช่น 3 เดือน/ครั้ง , 6 เดือน/ครั้ง , 1ปี/ครั้ง ควรสอบเทียบเครื่องมือก่อนนำมาใช้งาน ควรเลือกใช้บริการห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตราฐานและได้รับการรับรองความสามารถ Accredit ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 การสอบเทียบเครื่องมือวัดมีความสำคัญต่อทุกโรงงานอุตสาหกรรมที่ยื่นทำระบบคุณภาพควรต้องมีระบบมาตรฐานคุณภาพที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับโรงงานสร้างประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ที่ได้ทำการผลิตออกไป

PRESSURE INDICATOR ส่วนมากที่พบเจอบ่อยลูกค้าส่วนมากจะเลือกใช้กันแบบเป็น DIGITAL (ตัวเลข) มากกว่า ANALOG (เข็ม) เนื่องจากมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปเพราะถ้าเป็นแบบ DIGITAL (ตัวเลข) ค่าที่อ่านได้ค่อนข้างจะนิ่งและละเอียดกว่า อ่านค่า Accuracy ความละเอียดได้ค่อนข้างสูง ค่าที่เครื่องมือวัดได้จะแสดงผลเป็นตัวเลขขึ้นอย่างรวดเร็วต่อการใช้งาน ซึ่งแน่นอน ราคาก็จะสูงกว่าแบบ ANALOG (เข็ม) ค่ะ

 

ตัวอย่างรูปแบบทั่วไปของ PRESSURE INDICATOR

       

 

   

 ผู้เขียน Kaem Yui

 

บริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา