ถ้าจะให้พูดถึง Pi Tape คงมีน้อยคนนักที่จะรู้จักถ้าไม่อยู่ในแวดวงของการวัดที่เกี่ยวข้องกับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือถ้าไม่ได้จำเป็นต้องใช้ก็จะรู้จักน้อยมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงตัว Pi Tape กัน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเทปวัดตัวนี้กัน เทปวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง สำหรับการวัดท่อหรือวัตถุทรงกลม สำหรับการใช้งานนั้นเพียงแค่นำเทปมาวัดรอบวัตถุทรงกลมที่ต้องการวัด และสามารถอ่านค่าเส้นผ่านศูนย์กลางได้ทันที
รูป Pi Tape
เมื่อกล่าวถึงPi Tapeได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Norman Collins, Leo Cochran และ Harold Phillips เป็นบุคคลที่คิดค้นและพัฒนาระบบอุปกรณ์วัดของPi Tape Texasในปี 1944 ขณะทำงานในซานดิเอโก Norman Collins ได้พัฒนาวิธีการวัดด้วยเทปที่สามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้อย่างแม่นยำโดยใช้การวัดเส้นรอบวง นอกจากนี้ Norman Collins เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ Harold Phillips, Sr. ซึ่งเป็นช่างเทคนิคการสอบเทียบและในปี 1966 Harold และ Norman ได้ร่วมมือกัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ของPi Tape Texas ที่มีความหมายเหมือนกันกับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางที่แม่นยำในระดับโลก ซึ่งในวงการงอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของอเมริกา เช่น Gemini, Apollo และ Saturn ของช่วงเวลานั้นก็ได้นำผลิตภัณฑ์ของPi Tapeเข้าไปใช้ในระบบการวัดด้วยเหมือนกัน และแม้กระทั่งบริษัทต่างๆ เช่น General Atomic, NASA, Lockheed, Rocketdyne, Ryan, Solar, Rohr, Convair, General Dynamics, Boeing และ Martin Marietta ต่างก็พึ่งพาเครื่องมือ Pi Tape เพื่อพัฒนาโครงการของตนตั้งแต่ท่อส่งก๊าซอะแลสกาไปจนถึงแท่นพิมพ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เครื่องอัดรีดพีวีซี อุตสาหกรรมอวกาศและเครื่องบิน ไปจนถึงล้อรถยนต์Pi Tape Texas ได้ร่วมมือกับผู้นำในอุตสาหกรรมต่างๆ มากว่า 71 ปี ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์เทปวัดที่มีนวัตกรรมและมีความแม่นยำที่สุดที่มีในระดับโลกเลยทีเดียว
มาถึงตรงนี้เราคงพอจะรู้ที่มาที่ไปของกันบ้างแล้ว ปัจจุบันได้ถูกนำไปช่วยในระบบการวัดในส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆ แพร่หลายมากขึ้น เช่น ในระบบอุตสาหกรรมท่อ, ยางรถยนต์, ขวด, อุตสาหกรรมพลาสติก หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งในท้องตลาดก็มีอยู่หลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ WINTAPE , Lufkin , KDS , INSIZE , Nihon Doki , BA-Metrologie หรือจะเป็นของยี่ห้อ Pi Tape เองโดยตรงก็มีจำหน่ายเช่นกัน Pi Tapeเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นงานที่มีรูปทรงเป็นทรงกลม ทรงกระบอกซึ่งวิธีการวัดก็นำมาวัดรอบๆชิ้นงานที่ต้องการวัดบนตัวของPi Tapeจะมีตัวเลขบอกขนาดอยู่ซึ่งจะมองเห็นง่ายชัดเจน
หลักการและวิธีการวัดPi Tape
ตัวอย่างการใช้Pi Tapeในการวัดงานและการอ่านค่าจากการวัด (ขนาด 15-50 mm)
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเทปและวัตถุที่จะวัดนั้นสะอาดทั้งคู่
- พันเทปไว้รอบๆ วัตถุที่จะวัด โดยควรให้สเกล Vernier อยู่ต่ำกว่าสเกล Gauge Member ดึงเทปที่พันรอบวัตถุให้แน่น
- การอ่านค่าจากการวัดตามตัวอย่างดูได้ตามรายละเอียดดังนี้
- สเกลบน Gauge Member 1 เส้นจะมีค่าเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 mm ในขณะที่สเกล บน Vernier 1 เส้นจะแบ่งละเอียดได้ถึง 0.01 mm
- ดูตำแหน่งเส้น “0” บนสเกล Vernier กับค่าที่มากที่สุดบนสเกล Gauge Member ที่ด้านซ้ายของเส้น “0” บนสเกล Vernier (จากตัวอย่างในรูปจะเป็นค่าที่ 27 mm บวกกับ 3 เส้นสเกล ดังนั้นจะได้ค่า = (27+3×0.25) mm = 27.75 mm
- ต่อไปให้สังเกตุที่เส้นที่สเกล Vernier เรียงตรงกันกับสเกล Gauge Member (จากตัวอย่างจะเป็นเส้นที่ 15 ดังนั้นจะได้ค่าบนสเกล Vernier = 15×0.01 mm = 0.15 mm)
- สุดท้ายเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุจะเท่ากับ ค่าที่อ่านบนสเกล Gauge Member รวมกับค่าที่อ่านได้บน สเกล Vernier (จากตัวอย่างจะได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุที่วัดคือ 25 mm + 0.15 mm = 27.90 mm)
การดูแลรักษาPi Tape
- เทปมีความละเอียดอ่อนควรใช้งานอย่างระมัดระวัง รักษาเทปให้สะอาดและแห้ง
- หลังการใช้งานแต่ละครั้ง เช็ดทำความสะอาด ทาน้ำมันป้องกันสนิมเล็กน้อย ม้วนใส่ในภาชนะเทปและเก็บในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นต่ำ
- เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือยังอยู่ใน Spec ควรส่งสอบเทียบห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ACCREDIT ISO/IEC 17025 อย่างสม่ำเสมอ
ข้อควรระวังการใช้งานPi Tape
- สำหรับรุ่น White Easy to Read Tape Stainless หรือ 1095 Spring Steel ห้ามใช้น้ำมันหรือใช้ตัวทำละลายในการทำความสะอาดโดยเด็ดขาด
- ระวังไม่ให้เทปถูกเหยียบ หรือทำให้หัก
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และมีสินค้าPi Tapeพร้อมจำหน่ายแล้ว ตอนนี้หากสนใจสั่งซื้อสามารถติดต่อขอรายละเอียดสินค้าได้ที่ฝ่ายขายของเราได้เลยค่ะ เราจำหน่ายพร้อม สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่ได้รับการรับรอง ACCREDIT ISO/IEC 17025:2017 จาก ANAB ประเทศสหรัฐอเมริกาค่ะ
ผู้เขียน Gamtui @^-^@
วิธีเลือกซื้อเกจบล็อก (Gauge block) ชนิดของเกจบล็อกและเลือกซื้อเกจบล็อกยังไงให้ตรงกับงาน
—