Linear Scale หรือ Litematic คืออะไร พร้อมวิธีการสอบเทียบ

14_1_15_Product_900x900_LITEMATIC_VL_50_B_50_S_B_e92c4afdcb,Linear Scale, เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือวัด

เครื่อง LITEMATIC หรือ Linear Scale คือ เครื่องมือวัด ที่ออกแบบมาสำหรับการวัดชิ้นงานที่เปลี่ยนรูปได้ง่ายและชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำสูง เพราะมีกำลังวัดต่ำ 0.01 N เหมาะสำหรับการวัดชิ้นงานที่บอบบาง แกนหมุนของเครื่องจะเคลื่อนที่ด้วยมอเตอร์เลื่อนขึ้นเลื่อนลงและหยุดเมื่อสัมผัสชิ้นงานความละเอียดของเครื่อง 0.01 ไมโครเมตร ตัวTABLE จะเป็นเซรามิก เพื่อป้องการการกัดกร่อน เราสามารถพบ เครื่องมือวัด ชนิดนี้ตามโรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงพลาสติก กระป๋องน้ำอลูมิเนียมหรือแผ่นฟิล์ม เป็นต้น

การสอบเทียบเครื่องมือ LITEMATIC หรือ Linear Scale

เครื่องมือ STANDARD ที่ใช้ในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด จะใช้ GAUGE BLOCK ในการสอบเทียบ และห้องที่ต้องใช้ในการสอบเทียบจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 20 ± 1 °C เพื่อความแม่นยำในการสอบเทียบ

ขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัด

1. เช็ดทำความสะอาด GAUGE BLOCK และเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 

  1. ทำความสะอาดเครื่อง LITEMATIC ให้สะอาด ไม่มีฝุ่นผง เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีความละเอียดสูงไม่ควรมีฝุ่นผงติดตามเครื่องมือ
  2. เมื่อทิ้งไว้ครบ 1 ชั่วโมงแล้วให้เลือกใช้ GAUGE BLOCK ชิ้นที่จะใช้สอบเทียบตามช่วงที่ใช้งานจริ

  1. กดลูกศรเลื่อนลงที่หน้าเครื่องเพื่อให้หัว Probe เลื่อนลงมาแตะที่ Table ให้สนิทแล้วกด zero ที่หน้าเครื่อง บางเครื่องไม่ได้เป็นแบบระบบ auto ต้องใช้มือในการจับเลื่อนหัว Probe ทำให้อาจมีความคลาดเคลื่อนในการวัดเพราะน้ำหนักที่ลงลงได้ไม่เท่ากัน
  2. เมื่อเครื่อง LITEMATIC หรือ Linear Scale โชว์ค่าที่หน้าจอ DIGITAL เป็น Zero หรือแสดงผลเป็นเลขศูนย์ทั้งหมดแล้วให้กดลูกศรขึ้นเพื่อเลื่อนหัว Probe ขึ้น
  3. เมื่อหัว Probe เลื่อนขึ้นแล้วให้นำ Gauge Block ที่ได้เช็ดทำความสะอาดและอยู่ในอุณหภูมิที่คงที่อย่างน้อย 1 ชั่วโมงมาทำการวางบน Table ของเครื่อง LITEMATIC วิธีการวางให้วางตรงกลางตรงกับหัว Probe และ Gauge Block ต้องแนบสนิดกับตัว Table
  4. กดลูกศรเลื่อนลงหน้าเครื่อง LITEMATIC เพื่อให้หัว Probe แตะที่ตัว Gauge Block แล้วจึงอ่านค่า ตัวอย่างเช่น ถ้านำ Gauge Block ก้อน 1mm วาง เครื่องก็จะต้องอ่านค่าได้ 1.000 mm เป็นต้น บางเครื่องมือมีความเป็นไปได้ที่จะมีค่า error ซึ่งค่าที่อ่านได้อาจมีความคลาดเคลื่อนโดยขึ้นอยู่กับสภาพเครื่องมือและวิธีการจัดเก็บ
  5. ทำการวัดซ้ำกันอย่างน้อย 3 ครั้งเพื่อ Confirm ค่าที่วัดได้ ส่วนจุดสอบเทียบก็ขึ้นอยู่กับช่วงที่ใช้งานหรือแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ตามระยะของเครื่องมือ เช่น 10% full scale ตัวอย่าง เครื่อง spec 100 mm แบ่ง 10% ก็จะเริ่มวัด ที่ 10 mm ไปจนถึง 100 mm เป็นต้น 
  6. จดบันทึกผลค่าที่อ่านได้ตามระยะของชิ้น Gauge Block ถือเป็นเสร็จสิ้นการ สอบเทียบเครื่องมือวัด

สภาพเครื่องมือวัดและอุณหภูมิของห้องที่ใช้จัดเก็บเครื่องมือมีผลในการวัด ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลในคู่มือและจัดเก็บไว้ในห้องที่เหมาะสมเพื่อความเที่ยงตรงในการใช้งาน

 

ผู้เขียน Onsite

 

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา