ในการจัดการระบบวัดนั้นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ต้องได้รับการควบคุมอย่างถูกต้องคือตัวเครื่องวัด โดยการควบคุมเครื่องวัดที่ปฏิบัติเป็นประเพณีทั่วไปคือการสอบเทียบซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่หลังการสอบเทียบและทวนสอบเครื่องวัดและนำเครื่องวัดไปใช้แล้วเจ้าของระบบวัดมักใช้งานเครื่องวัดไปเรื่อยๆจนถึงการสอบเทียบครั้งต่อไปโดยไม่ทราบว่าเครื่องวัดยังมีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปใช้วัดงานหรือไม่ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการวัด(Measurement Risk)อย่างหนึ่ง ดังนั้นมาตรฐานสากลหลายฉบับ เช่น ISO/IEC 17025 เป็นต้น จึงกำหนดให้เจ้าของระบบวัดต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อควบคุมเครื่องวัดภายหลังการสอบเทียบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Intermediate Check เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องวัดยังมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการวัดงาน แต่การทำ Intermediate Check ดังกล่าวคืออย่างไร?
หลักสูตรนี้จะอธิบายถึงเครื่องวัดในฐานะขององค์ประกอบหลักของระบบวัด, คุณลักษณะ Drift ของเครื่องวัด, Measurement Uncertainty, ผลของDrift ต่อความเสื่อมของเครื่องวัด, ผลของ Drift ต่อ Measurement Uncertainty และต่อความเสี่ยงในการวัด, การจัดระบบควบคุมเครื่องวัดด้วย Intermediate Check, การเลือกใช้เครื่อง Standard เพื่อการทำ Intermediate Check เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปใช้ควบคุมเครื่องวัดหลังการสอบเทียบได้อย่างถูกต้องลดความเสี่ยงในการวัดผิด
วัตถุประสงค์
- เข้าใจถึงคุณลักษณะ Drift ของเครื่องวัด
- เข้าใจถึงผลของ Drift ต่อ Measurement Uncertainty(MU) และ Test Uncertainty Ratio(TUR)
- เข้าใจถึงมาตรฐานข้อกำหนด Intermediate Check
- สามารถจัดทำระบบงาน Intermediate check และ จัดทำ Procedureได้ตามหลักมาตรวิทยา
- รับรู้และตระหนักถึงการจัดการเครื่องวัดเพื่อความสมบูรณ์ของผลวัด
เนื้อหาการบรรยาย
· เครื่องวัด กับ องค์ประกอบของระบบวัด |
· คุณลักษณะ Drift ของเครื่องวัด |
· ข้อกำหนดมาตรฐานด้านการสอบเทียบเครื่องวัดและ Intermediate Check |
· การสอบเทียบ, การทวนสอบ และ Intermediate Check |
· รู้จัก MU เพื่อ Intermediate Check |
· Drift ของเครื่องวัด กับ Uncertainty Growth |
· รู้จัก TUR เพื่อ Intermediate Check |
· การทำ Intermediate check |
· Procedure สำหรับ Intermediate check |
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ 02-578-0353 หรือส่งอีเมลมาที่ info@cal-laboratory.com