แผนการชักตัวอย่างเป็นเทคนิคสำคัญในการตัดสินคุณภาพรุ่นสินค้า(Lot) ทั้งในส่วนของห้องปฏิบัติการที่ต้องการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ISO/IEC 17025:2017(ข้อ 7.3) และอุตสาหกรรมที่มีระบบการตรวจสอบคุณภาพรุ่นสินค้าซึ่งองค์กรสามารถเลือกใช้รูปแบบของแผนการชักตัวอย่างที่เหมาะสมกับลักษณะของสินค้าที่ตัดสินได้ คือ รูปแบบที่ตัดสิน“ได้” “ตก” หรือ รูปแบบที่ตัดสินจากผลวัด
ในกรณีสินค้าที่ตัดสินผลการตรวจสอบโดยใช้ข้อมูลจากผลวัด(Measurement Result) นั้น มาตรฐานสากล ISO 3951 แนะนำให้องค์กรจัดทำแผนการชักตัวอย่างเชิงผันแปร(เชิงปริมาณ)เพื่อตัดสินรุ่นสินค้า
สำหรับการอบรมนี้จะกล่าวถึงแผนการชักตัวอย่างจากรุ่นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีลักษณะต่อเนื่อง(Lot by Lot) โดยกล่าวถึงหลักการของแผนการชักตัวอย่างเชิงผันแปร(เชิงปริมาณ)(Variables Sampling Plan) และการประยุกต์ใช้ตามมาตรฐานสากล ISO 3951 และ MIL-STD-414
วัตถุประสงค์
- เข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของแผนการชักตัวอย่างเชิงผันแปร(Variables Sampling Plan)
- รู้จักการประยุกต์ใช้แผนการชักตัวอย่างเชิงผันแปรตามมาตรฐาน ISO 3951และ MIL-STD-414
- สามารถสร้างแผนการชักตัวอย่างเชิงผันแปร
- เข้าใจถึงหลักพื้นฐานทางมาตรวิทยาของระบบวัดที่ให้ผลการตัดสินอย่างถูกต้อง
เนื้อหาการบรรยาย
· การตัดสินคุณภาพชิ้นทดสอบเทียบกับรุ่นสินค้า |
· ข้อกำหนดคุณภาพรุ่นสินค้ากับการชักตัวอย่าง |
· การวัดเพื่อตัดสินคุณภาพชิ้นงาน |
· หลักพื้นฐานของแผนการชักตัวอย่าง |
· แผนการชักตัวอย่างเชิงผันแปร(Sampling Procedures for Inspection by Variables) |
· การจัดทำ Variables Sampling Plan ตามมาตรฐาน ISO 3951-1 |
· การจัดทำ Variables Sampling Plan ตามมาตรฐาน MIL-STD-414 |
· โครงสร้างเทคนิคใน Variables sampling plan |
· Variables Sampling Plan รูปแบบกราฟ |
· หลักพื้นฐานทางมาตรวิทยาที่ให้ผลวัดถูกต้อง |
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ 02-578-0353 หรือส่งอีเมลมาที่ info@cal-laboratory.com