ในการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นต้องมีการวัด(Measurement)เกี่ยวข้องด้วยเสมอทั้งในขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ, การผลิต และการตรวจสอบสินค้าสำเร็จรูปซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าระบบวัดเป็นงานที่มีความซับซ้อนโดยเฉพาะอย่ายิ่งในกรณีที่การวัดนั้นมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินคุณภาพงานและสินค้าเนื่องด้วยต้องมีการนำ Measurement Uncertainty เข้ามาพิจารณาร่วมกับผลวัดในการตัดสินคุณภาพสินค้าดังกล่าวด้วยซึ่ง ทำให้เกิดความไม่สะดวกกับพนักงานการผลิตที่ต้องทำการวัดและไม่คุ้นเคยกับการนำ Measurement Uncertainty มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของผลวัดเพื่อการตัดสินคุณภาพสินค้า
หลักสูตรนี้จะกล่าวถึงแนวทางการวัดที่ง่ายและสะดวกสำหรับบุคลากรที่ต้องทำการวัดเพื่อตัดสินคุณภาพสินค้าโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Measurement Uncertainty โดยตรงเนื่องจากระบบวัดได้ถูกออกแบบโดยชดเชยความไม่แน่นอนดังกล่าวไว้แล้วตามแนวทางของมาตรฐานสากล ISO 14253 ดังนั้นพนักงานเพียงแต่บันทึกผลการวัดอย่างง่ายตามที่เคยปฏิบัติแต่สามารถให้ผลการตัดสินคุณภาพสินค้าได้ถูกต้องตามแนวทางที่ผู้จัดการระบบวัดได้วางแนวทางไว้
วัตถุประสงค์
- เข้าใจถึงระบบวัดในเชิงโครงสร้างและองค์ประกอบ
- เข้าใจถึงความเสี่ยงในการตัดสินผลวัด กับ Measurement Uncertainty
- สามารถกำหนด Guard-band ที่เหมาะสมกับระบบวัด
- สามารถการจัดระบบวัดเพื่อความสมบูรณ์ของผลวัด
เนื้อหาการบรรยาย
· โครงสร้างและองค์ประกอบของระบบวัด |
· รูปแบบของผลวัด |
· ความเสี่ยงในการตัดสินผลวัด Consumer risk and Producer risk |
· Measurement Uncertainty(MU)กับความสมบูรณ์ของผลวัดเพื่อการตัดสินคุณภาพชิ้นงาน |
· การตัดสินผลวัดอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล ILAC |
· การวัดอย่างง่ายและถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล ISO 14253-1 |
· Test Uncertainty Ratio(TUR) |
· การใช้ Accuracy ของเครื่องวัดแทน Measurement Uncertainty |
· การวัดเพื่อตัดสินผลอย่างง่ายและถูกต้อง(ถูกต้องมากน้อยเท่าไร?) |
· Metrological Traceability |
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ 02-578-0353 หรือส่งอีเมลมาที่ info@cal-laboratory.com