Temperature Indicator with Surface Sensor หรือ เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว คืออะไร การดูแลรักษาทำอย่างไร

Temperature Indicator with Surface Sensor (เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว)

Temperature Indicator with Surface Sensor หรือ เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว เป็นเครื่องมือวัดอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ค่อนข้างบ่อยตามโรงงานอุตสาหกรรมบ้านเรา มีอีกชื่อที่นิยมเรียกกันคือ Temp with Surface Probe ซึ่งจะเรียกแบบไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงให้ผู้ใช้งานเข้าใจก็พอแล้ว และจำเป็นต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เสมอเพื่อความแม่นยำในการใช้งานครับ

เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว นิยมใช้วัดอุณหภูมิของพื้นผิวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวชิ้นงาน, กระจก, ผนัง และอื่นๆที่มีพื้นผิวเรียบ และอุณภูมิอยู่ในช่วง 50 – 450 ºC รูปร่างหน้าตาหล่อเหลาตามรูปตัวอย่างที่ 1

Temperature Indicator with Surface Sensor,เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว,เครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 1 Temperature Indicator with Surface Sensor

ซึ่งชนิด/ประเภทของ Surface Sensor หรือ Surface Probe มีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นผิวที่ต้องการวัดอุณหภูมิ แต่ครั้งนี้จะขอยกตัวอย่างที่ทางผู้เขียนพบเจอบ่อยมาสักสองตัวอย่างครับ

  1. เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวแบบ Surface Type : ลักษณะตรง Probe จะเป็นหน้าสัมผัส เหมาะสำหรับการวัดอุณหภูมิพื้นผิวเรียบ ลดความผิดพลาดจากแรงกดที่ไม่เท่ากัน เพราะตรง Probe เป็นเซ็นเซอร์แบบแม่เหล็ก (ใช้งานร่วมกับตัวอ่าน หรือ Indicator) ดังตัวอย่างรูปที่ 1

Temperature Indicator with Surface Sensor,เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว,เครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูป 1.1 Surface Type

 

  1. เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวแบบ Roller-Surface Type : ลักษณะ Probe จะเป็นหน้าสัมผัสคล้ายชนิดที่ 1 แต่จะมีล้อสำหรับหมุนตรงปลาย สามารถวัดอุณหภูมิพื้นผิว หรือ กลิ้งไปบนพื้นผิวเพื่อวัดอุณหภูมิได้ แต่ต้องพื้นผิวเรียบ โดยใช้งานร่วมกับตัวอ่าน หรือ Indicator ตัวอย่างรูปที่ 2

Temperature Indicator with Surface Sensor,เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว,เครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 1.2 Roller-Surface Type

เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวแบบหลักๆ ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็มีดังที่กล่าวมานี้ แต่จะแตกต่างกันออกไปตามการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ จะเลือกแบบไหน ยี่ห้อไหน ก็ตามแต่ความเหมาะสม เรียกได้ว่า เอาที่สบายใจกันเลย (เลือกยี่ห้อที่ติดตลาดสักหน่อยก็ดีครับ)

การดูแลรักษาเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว

  • ก่อนใช้งานทุกครั้ง ต้องมั่นใจได้ว่าเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น ปริมาณแบตเตอรี่, สายเซ็นเซอร์, Probe, Indicator ต้องอยู่ในสภาพปกติ
  • หลังจากใช้งานเสร็จแล้ว ควรเช็ดทำความสะอาด Probe ด้วยผ้าสะอาดชุบแอลกอฮอล์
  • ควรเก็บรักษาเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวไว้ในกล่องให้เรียบร้อย อย่าให้สาย Probe พับ,หัก

ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว

  • ทุกครั้งที่นำเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวออกไปใช้งาน ควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง เพราะพื้นผิวที่เราไปวัดนั้น มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง ถ้าเกิดพลาดไปโดนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ
  • ทุกครั้งที่นำเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวออกไปใช้งาน ต้องระมัดระวังไม่ให้ตัวเครื่องหรือส่วนใดๆ (นอกจาก Sensor,Probe) สัมผัสกับความร้อนจากพื้นผิวชิ้นงานโดยตรง เพราะจะทำให้เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวได้รับความเสียหายได้
  • ควรนำ Temp With Surface Probe เข้ารับการ Calibrate (แคลิเบรท) หรือสอบเทียบเครื่องมือวัดกับห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และได้รับรอง ISO/IEC 17025 ตามแผนที่กำหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวของเรา ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติ และผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดยังอยู่ใน MPE หรือ เกณฑ์การยอมรับ ที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ (เรามีบทความเรื่อง MPE ที่ลงก่อนหน้านี้ไปแล้ว ติดตามอ่านต่อได้เลยนะครับ)

 

บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO., LTD หรือ CLC) มีบริการสอบเทียบ Temp With Surface Probe ในรูปแบบ Accredit 17025 (ANAB) ครอบคลุมอุณหภูมิ 50 ถึง 450 ºC และยังมีเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิวจำหน่ายอีกด้วย ท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามกันเข้ามาตามช่องทางการติดต่อทุกช่องทางของบริษัท CLC ได้เลยทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC) มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาทุกท่านโดยตรงครับ

อ่อ เกือบลืมครับ..ถ้าท่านสนใจนำเครื่องมือวัดมาสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC)  ควรที่นำตัวอ่าน หรือ Indicator มาพร้อมด้วย เพราะวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดของทางห้องปฏิบัติการแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC)   ของเราจำเป็นจะต้องอ่านค่าเพื่อเทียบระหว่างเครื่องมือวัดที่เป็นเครื่องมือ Standard ของเรา (STD) เทียบกับตัวอ่าน หรือ Indicator ของเครื่องมือวัดของลูกค้า (DUC) ตามตัวอย่างรูปที่ 1.3

Temperature Indicator with Surface Sensor,เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว,เครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 1.3 การอ่านเทียบระหว่างเครื่องมือวัด Standard ของเรา (STD) เทียบกับ Indicator ของเครื่องมือวัดของลูกค้า (DUC)

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความเรื่อง Temp With Surface Probe (เครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นผิว) ที่นำมาฝากกันพอสังเขปในวันนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ ผิดพลาดขาดตกบกพร่องตรงไหน ก็คงต้องขออภัยกันไว้ ณ ที่นี้ด้วย..แล้วพบกันใหม่กับบทความต่อไปครับ และอย่าลืมว่าจำเป็นต้องส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นประจำ เพื่อความแม่นยำในการใช้งานครับขอบคุณครับ

 

CHOK_AM

 

 

Oven คืออะไร?? แล้วทำไมเราจึงต้องสอบเทียบ

บริการ สอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น

ขอใบเสนอราคา ติดต่อเรา