เครื่องวัดที่ใช้งานมีการสอบเทียบบ่อยแค่ไหน? นี่เป็นคำถามที่ผู้ดูแลเครื่องวัดได้พบเห็นเป็นประจำ โดยจะได้คำตอบที่คล้ายคลึงกัน เช่น 1 ปีบ้าง, 6 เดือนบ้าง เป็นต้น โดยคำตอบเหล่านี้ผู้ดูแลระบบวัดมักได้รับข้อมูลต่อๆกันมาและนำมาใช้ปฏิบัติตามความสะดวก แต่ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลที่กำหนดให้เครื่องวัดต้องได้รับการสอบเทียบซ้ำนั้นมีเหตุผลและเนื้อหาทางมาตรวิทยาที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับความถูกต้องของผลวัดไม่ใช่การดำเนินการตามประเพณีปฏิบัติเท่านั้น อะไรคือความหมายที่ว่านี้
หลักสูตรนี้จะกล่าวถึงช่วงเวลาสอบเทียบเครื่องวัด(Calibration Interval) บนหลักการทางมาตรวิทยาและตามแนวทางของมาตรฐานสากลซึ่งนอกจากลดความผิดพลาดในการวัดแล้วยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบเครื่องวัดอย่างสมเหตุสมผลด้วย
วัตถุประสงค์
- เข้าใจถึงคุณสมบัติ drift ของเครื่องวัด
- รู้จักมาตรฐานสากลที่กำหนดให้เครื่องวัดต้องสอบเทียบซ้ำ
- เข้าใจถึงเหตุผลการสอบเทียบเครื่องวัดซ้ำตามช่วงเวลา(Calibration Interval)
- สามารถกำหนดช่วงเวลาสอบเทียบตามมาตรฐาน OIML, ILAC, NCSLI
เนื้อหาการบรรยาย
· พื้นฐานและความสำคัญของการสอบเทียบเครื่องวัด |
· ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 9001, IATF 16949, ISO/IEC 17025 ในการสอบเทียบซ้ำ |
· Terminology ที่ควรทราบ |
· รู้จัก Measurement Uncertainty ประกอบการกำหนดช่วงเวลาสอบเทียบ |
· คุณลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องวัดและกระบวนวัดต่อความผิดพลาดในการวัด |
· มาตรฐานและแนวทางอ้างอิงในการกำหนด Calibration Interval |
· ขั้นตอนการกำหนดช่วงเวลาสอบเทียบ |
· การกำหนด Maximum Drift และการเฝ้าระวังช่วงเวลาสอบเทียบ |
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ 02-578-0353 หรือส่งอีเมลมาที่ info@cal-laboratory.com