Ring Gauge คือ เครื่องมือวัด ที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีผิวการใช้งานอยู่ด้านใน โดยทั่วไปแล้วมักใช้งานในการตรวจสอบวัตถุที่เป็นแท่งทรงกลม และจะมีทั้งด้านที่เป็น Go และ No go จึงทำให้การใช้งานมีความสะดวกและรวดเร็ว เหมาะกับการใช้งานในงานที่ต้องการการตรวจสอบที่มีปริมาณงานที่ต้องตรวจสอบเยอะมากๆ
เหตุผลที่ต้องทำการสอบเทียบ Ring Gauge
เพื่อเป็นการตรวจสอบเครื่องมือวัดว่ายังได้มาตรฐานอยู่หรือไม่ เมื่อมีการใช้งานไปเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวสัมผัสด้านในเกิดการสึกหรอ ทำให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเครื่องมือวัดมีการขยายตัวกว้างขึ้น ซึ่งหากนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงานได้
หน่วยการวัดของเครื่องมือวัดจะแบ่งเป็น 2 หน่วย คือ
- หน่วย Metric
- หน่วย Inch
ซึ่งRing Gaugeจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- เหล็ก (Steel)
- ทังสเตน คาไบต์ (Carbide)
- เซรามิค (Ceramic)
การใช้งานเครื่องมือที่ถูกวิธีและการใช้ที่ผิดวิธี
ในการใช้งานเครื่องมือวัดนั้น เมื่อต้องการตรวจสอบชิ้นงาน จะต้องเลือกเครื่องมือวัดที่มีขนาดพอดีกับชิ้นงานนั้น แล้วทำการวัดโดยการสวม ในกรณีที่เกิดการฝืดหรือสวมไม่เข้าไม่ควรฝืน กดหรือยัดมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ Standard เสียหายได้ และควรใช้กับงานกับผิวสัมผัสที่เป็นผิวเรียบ
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- ไม่ควรจับผิวใช้งานด้านในของตัวเครื่องมือวัด
- ไม่ควรหมุนตัวเครื่องมือในเวลาที่สวมเข้าไปในตัวชิ้นงานแล้ว
- หลังการใช้งานเสร็จ ควรทำการเคลือบบริเวณที่เป็นผิวใช้งานเพื่อไม่ให้เกิดสนิม
- ไม่ควรฝืนกดเครื่องมือในกรณีที่สวมเข้าไม่ได้
ทาง CLC สามารถทำการสอบเทียบเครื่องมือวัดRing Gaugeได้อย่างแม่นยำด้วยเครื่อง Standard ULM ที่มีความแม่นยำสูง และมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากในการสอบเทียบ
วิธีการสอบเทียบ Ring Gauge
- ทำความสะอาดเครื่องมือที่ต้องการจะสอบเทียบด้วยแอลกอฮอล์ ตรวจสอบดูผิวเครื่องมือว่ามีสิ่งสกปรกหรือเป็นสนิมหรือไม่
- หลังจากทำความสะอาดเสร็จก็ให้วางตัว เครื่องมือวัด ทิ้งไว้ในห้องที่มีอุณภูมิ 20 ± 1°C ประมาณ 1 ชั่งโมงก่อนการสอบเทียบ
- ทำการสอบเทียบโดยการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางทั้งแกน X และแกน Y โดยใช้ Probe ทำการ Alignment หาจุดที่กว้างที่สุดของตัวเครื่องมือวัด แล้วทำการอ่านค่าจากเครื่อง ULM
- เครื่องที่ใช้ในการสอบเทียบ Standard ULM ของ CLC มีค่าความละเอียดสูงอยู่ที่ 0.00001 mm และเครื่องมีความเสถียรทำให้ความคลาดเคลื่อนในการวัดต่ำ จึงส่งผลให้ค่าที่สอบเทียบได้มีความแม่นยำในการวัดสูง และ วิธีการสอบเทียบRing Gauge
ยังได้การรับรองมาตรฐานการสอบเทียบ ISO/IEC 17025:2017 จาก สมอ.และ ANAB
วิธีการรักษา เครื่องมือวัด ก่อนการใช้งานและหลังการใช้งาน
ก่อนการใช้งาน
1.ทำความสะอาดบริเวณผิวใช้งานด้านในของเครื่องมือวัดด้วยแอลกอฮอล์ให้สะอาด
2.ตรวจสอบผิวใช้งานว่ามีสนิมหรือรอยขีดข่วนหรือไม่
3.ควรสวมถุงมือเวลาหยิบจับเครื่องมือวัดและไม่ควรจับบริเวณผิวที่ใช้งาน
หลังการใช้งาน
1.หลังใช้งานเสร็จต้องทำความสะอาดเครื่องมืออีกครั้ง
2.ทำการเคลือบผิวเครื่องมือวัดด้านในโดยใช้วาสลีนหรือน้ำมันเคลือบเพื่อป้องกันสนิม
3.เตรียมกล่องเอาไว้สำหรับจัดเก็บเครื่องมือ
ข้อแนะนำในการส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด
1.ควรทำการเคลือบวาสลีนหรือน้ำมันก่อนส่งมาสอบเทียบ
2.ควรทำการใส่กล่องหรือห่อBubble เพื่อลดการกระแทก
3.ตรวจสอบสภาพเครื่องมือว่าเป็นสนิมหรือมีรอยขีดข่วนหรือไม่
4.ไม่ควรวางเครื่องมือวัดทับซ้อนกันเพราะอาจจะทำให้เครื่องมือบิ้น เกิดความเสียหายได้
เกร็ดความรู้
แนะนำวิธีดูRing Gaugeตัวไหนเป็นด้าน Go และ Nogo สังเกตุที่ตัวเครื่องมือจะมีแถบสีเขียวกับสีแดง ถ้าตัวที่มีสีเขียวแสดงว่าด้านนั้นเป็น Go ส่วนสีแดงจะเป็น Nogo หรือตัวที่มีรอยเส้นตรงกลางตัวก็จะเป็น Nogo
ผู้เขียน Lab ULM
ข้อที่คนใช้ Torque Wrench เท่านั้นที่ควรเข้าใจ
—