Refractometer
เป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการที่เรียกว่า “การหักเหของแสง” ซึ่งการหักเหของแสง (Refraction) เกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน เป็นผลทำให้ทิศทางของแสงเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในขณะที่เกิดการหักเหก็จะเกิดการสะท้อนของแสงขึ้นมาพร้อมๆกันด้วย
การแบ่งชนิด Refractometer แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด
- Hand-Held Refractometer
- Abbe Refractometer
- Digital Refractometer
- Inline Process Refractometer
ประเภทของ Refractometer แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- Hand-Held Refractometer
- Bench Top Refractometer
ข้อดี-ข้อเสีย ในแต่ละประเภทของ Refractometer
Hand-Held Refractometer
ข้อดี | ข้อเสีย |
1. ใช้งานง่าย | 1. ช่วงการใช้งานแคบ |
2. ราคาไม่แพง | 2. ควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ |
3. เคลื่อนย้ายสะดวก | 3. บอกค่าได้แค่โดยประมาณ |
Bench Top Refractometer
ข้อดี | ข้อเสีย |
1. ช่วงการใช้งานกว้าง | 1. ราคาแพง |
2. บอกค่าความละเอียดได้ 0.01% | 2. เคลื่อนย้ายไม่สะดวก |
3. ควบคุมอุณหภูมิได้ | |
4. อายุการใช้งานนาน |
การประยุกต์ใช้งานของ Refractometer
อุตสาหกรรมอาหารจะใช้วัดความเข้มข้นของน้ำตาลหรือปริมาณของแข็งที่ละลายได้ (%) ของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อ
- หาค่าความเข้มข้นที่แน่นอนของผลิตภัณฑ์
- วัดค่าอัตราส่วนของสารผสมสำหรับสารละลายที่ใช้ในรสชาติน้ำอ้อย
- ควบคุมการส่งออกตามมาตรฐานสากล
- เปรียบเทียบคุณภาพกับมาตรฐานสากล
- เปรียบเทียบคุณภาพกับมาตรฐานคู่แข่ง
- พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมเคมีจะใช้วัดความเข้มข้นของสารละลายทางเคมี เช่น
- สารละลายจากการคัดแยกน้ำมัน
- สารละลายจากน้ำยาล้างแอลกอฮอล์
การสอบเทียบ Refractometer จึงมีความสำคัญ เนื่องจากจะทำให้เกิดความมั่นใจว่า เครื่องมือวัดมีความถูกต้อง เพิ่มความน่าเชื่อถือในผลการวัดที่ได้ และทำให้มั่นใจว่าเครื่องมือมีความผิดพลาดในการวัดอยู่ในช่วงที่กำหนดอยู่เสมอ
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ผลการวัดผิดพลาด
- เครื่องมือไม่เหมาะสมกับสารละลายตัวอย่างที่จะทำการวัด เช่น ในน้ำนม หรือเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ไม่เหมาะสมกับ Refractometer ชนิด Hand-Held จะเหมาะกับชนิด Digital
- ช่วงการใช้งาน นำสารละลายตัวอย่างที่อยู่นอกช่วงการใช้งานของเครื่องมือมาวัด
- เลือกความละเอียดของเครื่องมือไม่เหมาะสมกับสารละลายบางชนิด นอกจากนี้ งานบางประเภทต้องการความละเอียดของเครื่องมือวัดสูง เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา
- เครื่องมือไม่ได้รับการสอบเทียบ แล้วนำมาใช้ในการวัดสารละลายต่างๆ อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้
- คุณภาพของสารมาตรฐานที่ใช้ในการสอบเทียบจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตทั้ง ISO 17025 และ ISO Guild 34 ตามมาตรฐานของห้องปฎิบัติการการผลิต
- ผู้ใช้งานไม่มีความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือวัด ทักษะการใช้งานของเครื่องมือที่ไม่ชำนาญ
- สภาพแวดล้อมในการใช้เครื่องมือ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ที่ไม่เหมาะสม
ผู้เขียน L7