Pressure Transmitter คือ อะไรพร้อมวิธีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด

Pressure Transmitter คือ อุปกรณ์วัดความดัน (Pressure) ของ ของเหลว เช่น น้ำ (Water) ,น้ำมัน (Oil) และ ก๊าซ (Air , N2)

โดยจะมีลักษณะการทำงานที่ตรวจวัดความดันและจะทำการแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณมาตรฐานซึ่งมีหลายแบบ เช่น สัญญาณอนาล็อค 4-20 mA , 0-10V , 0-5V เป็นต้น โดยสัญญาณเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร หรือ กระบวนการต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น

  • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  • อุตสาหกรรมอาหาร
  • อุตสหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
  • อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างลักษณะงานที่เรามักจะพบเห็นการใช้งานตัว เพรสเซอร์ ทรานส์มิตเตอร์

  • วัดแรงดันในระบบอัดอากาศ
  • วัดแรงดันภายในท่อลมก่อนปล่อยเข้าสู่ระบบการผลิต
  • วัดแรงดันไอน้ำในระบบ Boiler
  • วัดแรงดันน้ำมันในกระบอก Hydraulic

วิธีการสอบเทียบ เพรสเซอร์ ทรานส์มิตเตอร์

การพิจารณาหาวิธีการสอบเทียบ นั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการสอบเทียบ ตัวอย่างเช่น

  •  ย่านการวัดสูงสุด (Max Range)
  • Media ที่ใช้งาน สามารถสังเกตได้ที่ตัวเครื่องมือ ยกตัวอย่าง เช่น
  • การใช้งานกับ Media เช่น  ลม (Air), ไนโตรเจน (N2), น้ำ (Water), น้ำมัน (Oil)

หลักเกณฑ์ในการเลือกประเภทตัวกลาง (Media) ของ ความดัน ที่จะนำมาใช้สอบเทียบ ลูกค้าจะต้องแจ้งประเภทของตัวกลาง (Media) ของ เพรสเซอร์ ทรานส์มิตเตอร์ ว่าต้องใช้ตัวกลาง (Media) ไหน
ในการสอบเทียบ ทางห้องปฏิบัติการไม่สามารถพิจารณาเลือกให้ได้ เนื่องจากการสอบเทียบหากใช้ ประเภทของตัวกลาง (Media) ของ Pressure Transmitter  ที่ไม่ตรงกับการใช้งานจริง ในบางลักษณะงานอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวของเครื่องมือมาตรฐาน (STANDARD) และส่งผลเสียก่อให้เกิดการปนเปื้อน เมื่อลูกค้านำเครื่องมือกลับไปใช้งานหลังสอบเทียบเสร็จ ยกตัวอย่างเช่น

  •  เกณฑ์การยอมรับ MPE (Maximum Permissible Error)  คือ ค่าความผิดพลาด (Error) สูงสุดที่สามารถยอมรับได้ สามารถใช้ค่า Accuracy ของเครื่องมือเป็นเกณฑ์ได้โดยที่สามารถดูได้จากที่ตัวเครื่องมือหรือคู่มือจากผู้ผลิต ในหัวข้อที่บอกถึงรายละเอียดข้อมูลทางเทคนิค (Technical Data) หรือต้องสอบถามกับทางผู้ใช้งาน

 

การกำหนดวิธีการสอบเทียบ Pressure Transmitter แบบมีหน้าจอ Display อ่านค่าความดัน

1. พิจารณาจากย่านการวัดสูงสุด (Max Range) ของเครื่องมือ

สามารถสังเกตได้ที่ตัวเครื่องมือโดยปกติแล้วจะมีระบุเอาไว้ โดยพิจารณาสอบเทียบตาม Max Range โดยจะเฉลี่ยในแต่ละ Point
ในช่วงของความดันที่เท่ากัน เช่น Max Range มีค่าเท่ากับ 10 bar การสอบเทียบก็จะเฉลี่ย เป็น Point ที่เท่ากัน
โดยที่ความต้องการขั้นต่ำสุด ซึ่งก็คือ การสอบเทียบไม่ต่ำกว่า 5 Point สามารถกำหนด Point ได้ดังนี้คือ  0, 2 ,4, 6, 8, 10 bar

หากไม่สามารถหาได้ที่ตัวเครื่องมือ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งานเป็นเวลานานทำให้เกิดการลบเลือน เช่น สีของตัวอักษรรายละเอียด ซีดจาง เสียหาย จะต้องหาคู่มือมาเพื่อตรวจสอบ Max Range ก่อนการสอบเทียบ

นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดจุดสอบเทียบโดยกำหนดจากช่วงของการใช้งานจริงได้ กรณีที่ไม่ทราบ Range ที่นำมาสอบเทียบ เช่น

เครื่องมือมีช่วง Range  ของการใช้งานอยู่ที่ 8 – 16 bar สามารถกำหนด Point ของ การสอบเทียบ ได้ ดังนี้ 8, 10, 12, 14, 16 bar
เพื่อหลีกเลี่ยงการสอบเทียบ เกิน Max Range

หมายเหตุ

  •  กรณีที่ไม่สามารถหารายละเอียดอ้างอิง Range ของ เครื่องมือวัด ได้เลย จะทำให้การกำหนดจุดสอบเทียบทำได้ยากและอาจทำให้เครื่องมือเสียหายหากกำหนดจุดสอบเทียบเกิน Max Range

2. พิจารณาจากตัวกลาง (Media) ที่ เครื่องมือวัด ใช้งานอยู่

การเลือกใช้ Media ในการสอบเทียบนั้นจะต้องใช้ตามการใช้งานจริงเท่านั้น การสอบเทียบโดยใช้ Media ที่ไม่ตรงกับการใช้งานจริงจะทำให้เกิดการปนเปื้อนและเสียหายต่อระบบของการสอบเทียบหรืออาจทำให้เกิดการปนเปื้อนในระบบการใช้งานที่นำมาสอบเทียบ

 

3. พิจารณาจาก MPE ของ เครื่องมือวัด

                  กำหนดจากข้อมูลจากทางผู้ผลิตดูที่คู่มือ หรือ จากผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดให้ ตามเกณฑ์การยอมรับ (MPE) โดยสามารถดูได้ที่ตัวเครื่องมือ

 

การกำหนด วิธีการสอบเทียบ Pressure Transmitter แบบไม่มีหน้าจออ่านค่าความดัน

การสอบเทียบจะมีวิธีการพิจารณาคล้ายกันกับ เพรสเซอร์ ทรานส์มิตเตอร์ แบบมีหน้าจออ่านค่า แต่การรายงานค่าจะเป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็น Current (mA) หรือ Voltage (V)

การพิจารณาจุดสอบเทียบ, Media, MPE จะต้องมีการพิจารณาเหมือนกันกับ เพรสเซอร์ ทรานส์มิตเตอร์ แบบมีหน้าจอ Display อ่านค่าความดัน ตามที่ได้กล่าวไว้ด้านบน

ผู้เขียน L1 Pressure

 

Pressure Transmitter คืออะไร เลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา