Pressure Switch เลือกใช้งานอย่างไรให้ถูกประเภท

Pressure-Switch

เครื่องมือวัด Pressure Switch หรือ สวิตช์ความดัน คือ อุปกรณ์ที่ควบคุมความดันที่มีสัญญาณ Out put เป็นแบบดิจิตอล (ON-OFF) ทำหน้าที่ในการตัด และต่อวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์ทำงานหรือหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ นิยมใช้กันมากในงาน Pneumatic ที่เกี่ยวกับระบบควบคุมความดันของปั๊มลม Hydraulic หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการจัดการแรงดันในระบบ เป็นต้น จึงจัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานนอกเหนือไปจากวาล์วระบายความดัน และยังช่วยรักษาตัวอุปกรณ์ ยืดอายุการใช้งานอีกด้วย เหมาะสำหรับใช้งานในทุกประเภทอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของ Pressure Switch

Pressure-Switch, เครื่องมือวัด, Pressure Switch , สวิตช์ความดัน

เมื่อเปิดให้สวิตช์ความดันทำงานภายใต้ระบบแรงดัน ในสภาวะที่อากาศมีแรงดันต่ำกว่าแรงดันที่ถูก Set ไว้ในระบบ เครื่องมือวัดก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุนและผลักดันให้ปั๊มอัดอากาศทำงานตามไปด้วย ต่อมาเมื่ออากาศภายในถังมีความดันสูงตามที่ Set ไว้ Pressure Switch จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า ส่งผลให้มอเตอร์หยุดทำงาน และปั๊มอัดอากาศก็จะหยุดทำงานตามไปด้วย เมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศถูกนำไปใช้ ความดันภายในถังจะต่ำลงจนถึงจุดที่ถูก Set ไว้ สวิตช์ความดัน จะกลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง โดยจะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มอากาศทำงานต่อไป การทำงานจะสลับกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ ถ้าต้องการให้มอเตอร์และปั๊มอากาศหยุดทำงานจะต้องปิดสวิตช์ควบคุมการทำงาน

ประเภทของ สวิตช์ความดัน

          เครื่องมือวัดประเภทสวิตช์ความดัน ประกอบด้วยส่วนของการตรวจจับ (Detector) และสวิตช์ไฟฟ้า สวิตช์จะเปิดและปิดหน้าสัมผัสที่ความดันเฉพาะที่เรียกว่าจุดที่ตั้งไว้ (Set point) จุดที่ตั้งอาจถูกแก้ไขหรือปรับได้ การเลือก เครื่องมือวัด ที่มีจุดสวิตช์ในช่วงความดันใช้งานที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความแม่นยำและอายุการใช้งานที่ยาวนาน คุณสมบัติและความสามารถที่แม่นยำนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสวิตช์ความดัน

เครื่องมือวัด จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่

  • แบบ Electromechanical : ประกอบด้วยส่วนของการตรวจจับและสวิตช์ไฟฟ้าแบบ Snap-action สามารถใช้ส่วนตรวจจับได้หลายประเภท แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ สิ่งนี้เคลื่อนที่เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในระบบ โดยการเคลื่อนที่ของมันส่งผลโดยตรงต่อการเปิดและการปิดของหน้าสัมผัสของสวิทช์แบบ Snap-action
  • แบบ Solid State : มีจุดสวิตช์อย่างน้อยหนึ่งจุด สวิตช์นี้ไม่เพียงแต่เปิดและปิดวงจรสวิตช์ความดันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจอแสดงผลดิจิตอล และให้เอาต์พุตแบบอนาล็อกและดิจิตอล รุ่นที่มีในปัจจุบันส่วนใหญ่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างสมบูรณ์และสามารถเชื่อมต่อกับ PLC หรือคอมพิวเตอร์ได้ ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือมีพิกัดแรงดันการทำงานและการตอบสนองความถี่ที่หลายหลาก มีความทนทานต่อการกระแทกและการสั่นสะเทือน มีความแม่นยำถึง ± 0.25% เมื่อเปรียบเทียบกับสวิตช์ความดัน แบบ Electromechanical แล้วสวิตช์ความดันแบบ Solid State มีอายุการใช้งานนานกว่ามาก

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือก Pressure Switch

  • ชนิดของสวิตช์
  • Pressure Nominal หรือ PN คือ ค่าความดันใช้งานของท่อ
  • Adjustable Range คือ ช่วงค่าความดันที่สามารถปรับค่าได้ของเครื่องมือวัด
  • Materials Body คือ ประเภทวัสดุของตัวสวิตช์ความดันจะมีหลากแบบให้เลือกตามความเหมาะสม ทั้ง Brass (ทองเหลือง), Steel (เหล็ก) หรือ Stainless steel (สแตนเลส)
  • Connection หรือ เกลียวเชื่อมต่อ
  • Tolerance หรือ ค่าพิกัดเผื่อ
  • Metering Substances หรือ วัตถุที่ต้องการตรวจวัด

มีหน่วยวัดอะไรบ้าง

สวิตช์ความดัน เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมแรงดันในระบบ ดังนั้นหน่วยในการวัดค่าแรงดันจะมีได้หลายหน่วย เช่น bar , PSI, kg/cm² เป็นต้น ซึ่งทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบได้ทุกหน่วยการวัดของเครื่องมือเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า

บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัดได้ครอบคลุมทุกหน่วยการวัดที่กล่าวมาข้างต้นและได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 จาก  ANSI National Accreditation Board (ANAB) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยขอบข่ายการวัดสามารถสอบเทียบได้ด้วยวิธีการ Comparison technique with Pressure Module โดยจุดสอบเทียบที่ได้รับการรับรองอยู่ที่ 0 to 13 790 kPa Scope การสอบเทียบคลิก

 

MKS

 

 

 

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด