Power Meter คืออะไร สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้งาน Power Meter

Power Meter เครื่องมือวัด สอบเทียบเครื่องมือวัด อิเล็กทรอนิกส์

Power Meter(พาวเวอร์มิเตอร์)  คือ  เครื่องมือวัด ที่ใช้วัดและสามารถแสดงค่าเป็นพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถใช้วัดแรงดันไฟฟ้า( V ) กระแสไฟฟ้า ( I )กําลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power)กำลังไฟฟ้าจริง และ Harmonic โดยส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมจะนำตัว Power Meter ไปใช้วัดค่าไฟฟ้าในขบวนการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและยังสามารถช่วยจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องเพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในด้านการควบคุมหรือนำไปปรังปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด และจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด นี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อความเที่ยงตรงของการวัด

Power Meter (พาวเวอร์มิเตอร์) เครื่องมือวัด สอบเทียบเครื่องมือวัด อิเล็กทรอนิกส์

Power Meter เปรียบเสมือน การรวมเครื่องมือวัด Multimeter กับ Clamp Meter เข้าด้วยกันจึงสามารถวัดได้ทั้ง แรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (I), ความต้านทาน (Ω) และฟังชั่นอื่นๆ ของเครื่องมือทั้ง 2 ประเภทนี้อีกด้วย

Power meter จะใช้วิเคราะห์กำลังไฟฟ้าหลักๆ 3 ประเภทดังนี้

  1. Active Power (P) คือกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง ซึ่งเกิดการโหลดจากการต้านทาน จะมีหน่วยวัดเป็นวัตต์(W) หรือกิโลวัตต์(kW) ซึ่งจะมีวิธีคำนวณได้จากสมการ P= V x 1 x Cos(zeta)
  2. Reactive Power (Q) คือ กำลังไฟฟ้าที่ศูนย์เสียไปหลังจากการเกิดการโหลดตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุซึ่งมีหน่วยเป็นวาร์(VAR) หรือ กิโลวาร์(kVAR) ซึ่งจะคำนวณได้จากสมการ  Q=V x Ax Sin (zeta)
  3. Apparent Power (A) คือกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ(Input) หรือผลรวมทางเวกเตอร์ของไฟฟ้าจริง และกำลังไฟฟ้าที่ศูนย์เสีย จะมีหน่วยเป็นโวลต์ แอมแปร์ (VA) หรือกิโลโวลต์ แอมแปร์ (kVA) ซึ่งจะคำนวณได้ตามสมการ Q= Vx A x Sin(zeta)

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้งาน Power Meter

  1. เราควรทราบข้อมูลด้านเทคนิค และศึกษารายละเอียด เพื่อที่จะได้เห็นข้อจำกัดของใช้งาน เช่น Input , Output ช่วงที่ต้องการวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ รวมถึงอุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น
  2. วิธีการติดตั้งอุปกรณ์ ควรศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียดก่อนติดตั้ง ว่ามีอุปกรณ์เสริม หรือมีการต่อสายอย่างไร เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหาหลังจากการติดตั้ง
  3. ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆบนหน้าจอ และวิธีการใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ เพื่อการใช้งานได้ตรงตามความต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  4. เพื่อความถูกต้องและแม่นยำในการใช้วัดค่าต่างๆ ควรตรวจสอบเครื่องมือวัดก่อนการใช้งาน และควรนำเครื่องมือวัด Power Meter เข้ารับการแคลิเบรท (Calibrate) หรือ การสอบเทียบเครื่องมือวัดซ้ำอีกครั้ง กับห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน อย่างน้อยไม่ควรเกิน 1,000 ชม

หากทางลูกค้าต้องการสอบเทียบเครื่องมืดวัด Power Meter (พาวเวอร์มิเตอร์) แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) มีบริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ชนิดนี้ โดยใช้วิธีการสอบเทียบ Direct Measurement with Multifunction Calibrator และยังได้การรับรอง ISO/IEC 17025 จากสถาบัน สมอ. (TISI) อยู่ใน Scopeหน้าที่ 70,71และจากสถาบัน ANAB อยู่ใน Scope หน้าที่ 10,11

 

ผู้เขียน THM Melo

 

 

 

สอบเทียบเครื่องมือ Electrical


ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา