Coating Thickness Gauge (เครื่องวัดความหนาผิวเคลือบ) คืออะไร

วันนี้ผู้เขียนมีตัวอย่างการใช้เครื่อง Coating thickness gauge (เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ) ที่มักจะสับสนจนถูกใช้งานไม่ถูกวิธีมาฝากกันครับ และอย่าลืมว่าเครื่องมือวัดทุกชนิดจำเป็นต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อความแม่นยำของค่าการวัดในการใช้งานด้วยครับ

 

Coating Thickness Gauge คือ เครื่องมือใช้ตรวจวัดค่าความหนาของผิวเคลือบสีที่อยู่บนโลหะ (Ferrous) หรืออโลหะ (Non Ferrous) (ตามตัวอย่างรูปที่1)

Coating Thickness Gauge คือ เครื่องมือใช้ตรวจวัดค่าความหนาของผิวเคลือบสีที่อยู่บนโลหะ (Ferrous) หรือ อโลหะ (Non Ferrous) เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 1

บ่อยครั้งที่พบว่ายังมีคนใช้งานจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องมือวัดชนิดนี้ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่และก็เข้าใจผิดคิดว่าเจ้าเครื่องนี้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาก็สามารถนำ Probe ไปแตะบนผิวเคลือบหรือสีที่อยู่บนโลหะและทำการอ่านค่าที่หน้าจอแสดงผลและบันทึกผลการวัดได้เลยแต่หารู้ไม่ว่า..การกระทำเช่นนั้นเป็นการใช้เครื่อง Coating thickness gauge อย่างไม่ถูกต้องโดยไม่สมกับราคาค่าตัวของ Coating thickness gauge เอาซะเลย (ราคาหลักหลายหมื่น) นอกจากนี้ยังทำให้การวัดค่าครั้งนั้นคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมากกกกกอีกด้วย

เรามาดูกันครับว่าการใช้งาน เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ หรือ Coating thickness gauge ให้ถูกวิธีนั้นควรทำอย่างไร

การใช้งานเครื่องวัดนี้ทางผู้เขียนขออธิบายพอสังเขปแล้วกันนะครับเพราะ Coating thickness gauge แต่ละ Brand Model นั้นมีการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่บ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละรุ่นแต่โดยรวมแล้วหลักการไม่หนีกันสักเท่าไหร่ครับ

มาเริ่มกันเลยครับ… let’s go!!

วิธีการใช้เมื่อทำการเปิดเครื่องขึ้นมา

อันดับแรกที่ต้องทำคือนำ Probe (sensor อ่านค่า) ของเครื่องมือ Coating thickness gauge ทำการ set ค่า zeroโดยการนำ Probeไปแตะบน Zero plate ขึ้นอยู่กับงานโลหะ (Ferrous) หรืออโลหะ(Non Ferrous) (ตามตัวอย่างรูปที่ 2)

การใช้งานเครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 2

จากนั้นให้เข้า Mode เก็บค่า Zero ให้เครื่อง Coating thickness gauge จำค่า Zero จากแผ่น Zero Plate ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องอาศัยคู่มือของเครื่องแต่ละรุ่น (รับรองว่าไม่ยากเลยครับ)

Standard foil สำคัญอย่างไร ??

หลังจากเก็บค่าศูนย์แล้วสิ่งที่ทุกคนควรต้องมีคือ Standard foil หรือ Calibration foil ตามแต่จะเรียก (ต้องหมั่นส่งสอบเทียบเป็นประจำนะครับ) นำ Standard foil ไปวางบน Zero plate (Ferrous, Non Ferrous) แล้วใช้ Probe แตะไปบน Standard foil เพื่อทำการ Memory ให้เครื่องมือจำค่าของ Standard foil ที่เราวางไปบน Zero plate (ตามคู่มือแต่ละรุ่น) (ตามตัวอย่างรูปที่3)

จำค่าของ Standard foil ที่เราวางไปบน Zero plate เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ สอบเทียบเครื่องมือวัด

จำค่าของ Standard foil ที่เราวางไปบน Zero plate เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 3

ในการเลือกใช้ Standard foil แต่ละขนาดในการ Memory ในแต่ละครั้งให้ผู้ใช้งานคำนึงถึงความหนาผิวเคลือบหรือสีที่อยู่บนโลหะ (Ferrous), อโลหะ (Non Ferrous) ของตัวชิ้นงานที่เราต้องการวัดเป็นสำคัญเพราะเครื่องมือ Coating thickness gauge จะมีค่า Accuracy ที่ดีแค่ช่วง Range แคบๆเช่นถ้าต้องการวัดความหนาผิวเคลือบที่ Spec ประมาณ 500 ไมครอนผู้ใช้งานต้องเลือก Standard foil ที่มีความหนาใกล้เคียงกับชิ้นงานที่จะวัดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้บวกลบไม่ควรเกิน 50-100 ไมครอนจึงจะทำให้ค่าที่วัดออกมากถูกต้องมากที่สุด

เมื่อทำตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไปทั้งหมดแล้วก็สามารถนำเครื่องมือไปใช้วัดความหนาผิวเคลือบที่อยู่บนชิ้นงานได้เลยรับรองค่าที่วัดได้จะเป็นค่าที่ถูกต้องตามศักยภาพและมาตรฐานของเครื่องมือราคาหลักหลายหมื่นอย่างเช่นเจ้า Coating thickness gauge ที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้แน่นอนครับ

อ่อออ..ลืมบอกไปว่าก่อนการใช้ เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ ทุกๆขั้นตอนนี้อย่าลืมทำความสะอาด Probe, Zero plate, Standard foil (Calibration foil)และผิวชิ้นงานให้สะอาดหมดจดซะก่อนอาจจะใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์ก็ได้และหมั่นส่งสอบเทียบตามระยะเวลาที่กำหนดด้วยนะครับสำหรับการ สอบเทียบเครื่องมือวัด บริษัท Calibration Laboratory เรามีให้บริการสอบเทียบเครื่อง Coating thickness gauge และ Standard foil (Calibration foil) ด้วยครับ สนใจสอบถามราคา คลิ๊กเลย –> บริการสอบเทียบด้านมิติ

 

ผู้เขียน Chok_AM

 

 

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

บริการสอบเทียบด้านมิติ