CLAMP METER และวิธีการใช้

โดยทั่วไปการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันนี้ หากระบบไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีการติดตั้งไม่ดีแล้วละก็ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆตามมาได้ง่าย ดังนั้น เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจเช็ค หรือตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่เราใช้งาน เพื่อให้เราสามารถใช้งานระบบไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุเครื่องมือวัดที่เรานำมาใช้วัดและทดสอบค่าทางไฟฟ้าก็จะมีหลากหลาย ยกตัวอย่าง เช่น Clamp Meter หรือ

  • Leakage Clamp Meter
  • Insulation Tester
  • Earth Resistance Tester
  • Loop Tester
  • PSC, RCD Tester
  • Multi-function Tester
  • Portable Infrared Thermometer
  • Recorder

และวันนี้เราจะนำทุกท่านไปทำความรู้จักกับ แคลมป์มิเตอร์ กันค่ะ

แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

แคลมป์มิเตอร์ เป็น เครื่องมือวัด ที่ใช้สำหรับวัดระดับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟและสามารถวัดค่าอื่นๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักร ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้งานวัดไฟฟ้าตามอาคาร บ้านเรือน และอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้สามารถตรวจหากระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยทั่วไปแคลมป์มิเตอร์จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 แบบ คือ

แบบดิจิตอลที่แสดงผลเป็นตัวเลข (DIGITAL)

ดิจิตอลแคลมป์มิเตอร์,แบบดิจิตอลที่แสดงผลเป็นตัวเลข (DIGITAL Clamp Meter),แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter), สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, สอบเทียบเครื่องมือ,Calibrate

แบบอนาล็อกแสดงผลด้วยเข็ม (ANALOG)

แคลมป์มิเตอร์อนาล็อก,แคลมป์มิเตอร์แบบอนาล็อก,แสดงผลด้วยเข็ม (ANALOG Clamp Meter) ,แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter), สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, สอบเทียบเครื่องมือ,Calibrate

ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกในการวัดกระแสไฟฟ้าในพื้นที่แคบหรือบริเวณที่มีสายไฟเยอะ มีขนาดกะทัดรัด จับได้ถนัดมือ เครื่องมือวัด มีลักษณะเป็นปากคีบจะเป็นรูปหยดน้ำมีช่องไว้สำหรับคล้องเข้ากับสายไฟเพียงเส้นเดียวก็สามารถอ่านค่าได้ทันที จึงกล่าวได้ว่าแคลมป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นมากในงานด้านไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น หรืองานซ่อมบำรุง ระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ เป็นต้น จึงจำเป็นเป็นอย่างมากในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ชนิดนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการวัดที่ผิดพลาดด้วยค่ะ

แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter), สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, สอบเทียบเครื่องมือ,Calibrate

ที่มา : https://th.misumi-ec.com/th/pr/recommend_category/clamp_meter201905/#ClampmeterType

นอกจากนี้ในปัจจุบันทางผู้ผลิต ยังพัฒนาให้เครื่องมือแต่ละรุ่นมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย เช่น สามารถวัดได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับและความต้านทานที่ทนต่ออุณหภูมิสูง สามารถกันน้ำกันฝุ่นได้ และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น เพื่อการตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ละเอียดแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งานจึงควรเลือกใช้แคลมป์มิเตอร์ให้ถูกต้องกับลักษณะของงานเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

ประเภทของแคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

แคลมป์มิเตอร์จะแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้:

  • แคลมป์มิเตอร์แบบอนาล็อก (Analog AC) เป็นแคลมป์มิเตอร์ที่แสดงค่ากระแสไฟฟ้าด้วยเข็ม ใช้สำหรับวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงหรือใช้ในการวัดอุณหภูมิ
  • แคลมป์มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital AC) เป็นแคลมป์มิเตอร์ที่แสดงค่าเป็นตัวเลข ค่าที่ได้จะมีความแม่นยำสูงกว่าแคลมป์มิเตอร์แบบอนาล็อก ใช้สำหรับการวัดไฟฟ้ากระแสสลับ
  • แคลมป์มิเตอร์ AC/DC แบบดิจิตอล (Digital AC/DC) ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าแรงสูง สามารถวัดได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ
  • แคลมป์มิเตอร์ AC/DC แบบ RMS (Digital AC/DC RMS) ใช้วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง กระแสสลับ ความถี่ ความต้านทานและกำลังไฟฟ้า สามารถเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้
  • แคลมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสรั่วไหล (Leakage Current) ใช้ตรวจวัดค่ากำลังไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้า
  • แคลมป์มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า (AC Power) ใช้วัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง กระแสสลับ ตัวเก็บประจุและตัวต้านทาน

ประโยชน์ของแคลมป์มิเตอร์

            แคลมป์มิเตอร์โดยทั่วไปแล้ว จะถูกนำมาใช้งานในการวัดกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าต่างๆ โดยการนำแคลมป์มิเตอร์ไปคล้องกับสายไฟที่ต้องการวัด ก็จะทำให้สามารถทราบค่ากระแสไฟฟ้าได้จากจอแสดงผลบนแคลมป์มิเตอร์ ในปัจจุบันแคลมป์มิเตอร์ได้มีการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการวัดได้ทั้ง ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และไฟฟ้ากระแสตรง (DC) นอกจากนั้น แคลมป์มิเตอร์ที่มีการใช้ในปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการวัดกำลังไฟฟ้า (Power) ต่อเข้ากับเครื่องบันทึกกราฟ (Recorder) หรือเครื่องออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) เพื่อใช้ในการตรวจสอบ และวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้าได้อีกด้วย

วิธีการใช้แคลมป์มิเตอร์

  • ก่อนทำการใช้งานแคลมป์มิเตอร์ควรศึกษาอุปกรณ์และข้อมูล วิธีการใช้งานให้ละเอียด
  • การสวมถุงมือป้องกันไฟฟ้า รองเท้าเซฟตี้ และหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายของตัวบุคคลและอุปกรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงานได้
  • จากนั้นทำการใช้งานแคลมป์มิเตอร์โดยการคล้องสายไฟที่ต้องการจะตรวจสอบเข้ากับแคลมป์มิเตอร์
  • หมุนปุ่มปรับเพื่อเลือกโหมดการวัดให้เรียบร้อยและอ่านค่ากระแสไฟฟ้าที่หน้าจอแสดงผล โดยแคลมป์มิเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้ทุกที่ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่แคบหรือในที่มืดและยังสามารถใช้สำหรับการวัดแบตเตอรี่รถยนต์หรือวัดมอเตอร์ไฟฟ้าได้อีกด้วย

ข้อแนะนำในการใช้งาน

  • ตรวจสอบว่าอุปกรณ์เป็นแบบดิจิตอลหรือแบบอนาล็อก
  • เนื่องจากอุปกรณ์นี้มีหลายประเภท เช่น ประเภทกระแสสลับอย่างเดียว ประเภทกระแสสลับและกระแสตรง ประเภทวัดกระแสรั่วแบบสลับ จึงควรเลือกเครื่องที่เหมาะสมกับกระแสไฟฟ้าที่ต้องการวัด
  • เนื่องจากส่วนใหญ่รูปคลื่นของกระแสไฟฟ้ามักมีการเพี้ยน จึงแนะนำให้เลือกเครื่องที่วัดค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของการเรียงกระแสของแคลป์มิเตอร์

            เนื่องจากแคลมป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดที่สามารถวัดค่ากระแสไฟฟ้าตรงและกระแสไฟฟ้าสลับได้ โดยการวัดค่ากระแสไฟฟ้าสลับจะต้องมีการเปลี่ยนจากสัญญาณสลับให้กลายเป็นสัญญาณกระแสไฟฟ้าตรงก่อน ดังนั้นภายในของ เครื่องมือวัด จะประกอบด้วยวงจรเรียงกระแสไฟฟ้าอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ True RMS Method กับ Mean Method โดยประเภท True RMS Method จะมีประสิทธิภาพในการวัดสูงกว่าแบบ Mean Method เนื่องจากสามารถวัดแรงดันได้กับสัญญาณคลื่นทุกประเภท (Wave Form) แต่ Mean Method จะวัดค่าได้เฉพาะอินเวอร์เตอร์เพียวซายน์เวฟ (Pure-Sine Wave) เท่านั้น ซึ่งเหมาะใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความเร็วของอุปกรณ์

            ทั้งนี้ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเราก็สามารถให้บริการทางด้านการ สอบเทียบเครื่องมือวัด โดยได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 และยังมีจำหน่ายแคลมป์มิเตอร์อีกด้วย หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทางเลยนะคะ

ผู้เขียน KATAI

 

 

ไฟฟ้าสถิตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทำความรู้จักกับเครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิตกัน

 

สอบเทียบเครื่องมือ Electrical

ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา