Calibration Tester เครื่องมือวัดด้านมิติ (Dimension) ที่เป็น Standard ที่นิยมใช้กันมีชนิดไหนกันบ้าง

          วันนี้เรามาพูดถึงเรื่อง เครื่องมือวัด ด้านมิติ (Dimension) ที่เป็นระดับ Standard หรือเครื่องมือที่ใช้ สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibration Tester ที่ใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดจำพวก Dial Gauge, Dial Test Indicator และ Digimatic Indicator นั่นก็คือ Calibration Tester นั่นเอง มาดูกันครับว่าที่นิยมใช้กันอยู่ตามห้องปฎิบัติการ หรือ โรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีชนิดไหนกันบ้าง

  1. Calibration Tester หรือ Dial Gauge Tester

เครื่องมือวัด Calibration Tester หรือ  Dial Gauge Tester ลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะมี Range อยู่ที่ 0-25 mm. และมีความละเอียด (Resolution) อยูที่ 0.001 mm. หรือ 1 micron นั่นเอง และมี Accuracy ± 0.002 mm.(2 micron)  Calibration Tester ลักษณะนี้เหมาะในการใช้สอบเทียบเครื่องมือวัด Dial Gauge, Dial Test Indicator, Digimatic Indicator ที่มี Range ไม่เกิน 0-25 mm. และความละเอียดอยู่ที่ 0.01 mm. ( 10 micron)  ตามตัวอย่างรูปที่ 1

เครื่องมือวัด, Standard, เครื่องมือด้านมิติ, Dimension , สอบเทียบเครื่องมือ, สอบเทียบเครื่องมือ Standard

รูปที่ 1  

  1. Calibration Tester

    อีกแบบที่บางห้องปฎิบัติการสอบเทียบหรือบางโรงงานเรียกว่า “ลูกหมู” (ดูคล้ายลูกหมูเหมือนกันนะ)

Calibration Tester ลักษณะนี้ ก็เป็นอีกชนิดที่นิยมใช้กัน เท่าที่เจอมาจะแบ่งย่อยไปอีก 2 แบบ คือ

     2.1 Calibration Tester Range 0-5 mm.

มีค่าความละเอียด (Resolution) อยู่ที่ 0.0002 mm. (0.2 micron) และมี Accuracy± 0.0008 mm. (0.8 micron) ตามตัวอย่างรูปที่ 2

เครื่องมือวัด, Standard, เครื่องมือด้านมิติ, Dimension , สอบเทียบเครื่องมือ, สอบเทียบเครื่องมือ Standard

รูปที่ 2

  2.2 Calibration Tester Range 0-1 mm.

มีค่าความละเอียด (Resolution) อยู่ที่ 0.0002 mm.(0.2 micron) แต่มี Accuracy± 0.0002 mm.(0.2 micron) เลยทีเดียว  ตามตัวอย่างรูปที่ 3

เครื่องมือวัด, Standard, เครื่องมือด้านมิติ, Dimension , สอบเทียบเครื่องมือ, สอบเทียบเครื่องมือ Standard

รูปที่ 3

Note: แบบ 2.1 และ 2.2 หน้าตาเหมือนกัน ต่างกันที่ Range และ Accuracy

  1. Dial Gauge Testing Machine

    เครื่องมือชนิดสุดท้ายนี้จะไม่ค่อยเจอในภาคอุตสาหกรรมเท่าไหร่ แต่สำหรับห้องปฎิบัติการสอบเทียบถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดย CLC เองก็เลือกใช้เครื่องมือวัดชนิดนี้เป็น Standard โดยมี Range 0-100 mm. Resolution 0.1 micron (0.0001 mm.)และมี Accuracy±0.3 micron(0.0003 mm.) ใช้สอบเทียบเครื่องมือวัดที่มี Range สูงได้ถึง 100 mm. ตามตัวอย่างรูปที่ 4

เครื่องมือวัด, Standard, เครื่องมือด้านมิติ, Dimension , สอบเทียบเครื่องมือ, สอบเทียบเครื่องมือ Standard
รูปที่ 4 รูปเครื่องมือStandardของบริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด

ข้อดี – ข้อเสียของ Calibration Tester ทั้ง 3 แบบ

แบบที่ 1

ข้อดี คือ

  • ราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับแบบที่ 2 และ 3
  • เคลื่อนย้ายสะดวก / น้ำหนักเบา
  • ดูแลรักษาง่าย

ข้อเสีย คือ

  • Accuracy ไม่ดีเท่าแบบที่ 2 และ 3
  • สอบเทียบเครื่องมือที่มีความละเอียดสูงเช่น 1 หรือ 2 micron ไม่ได้

แบบที่ 2

ข้อดี คือ

  • Accuracy ดีกว่าแบบที่ 1 เยอะ
  • สอบเทียบเครื่องมือที่มีความละเอียดสูง1 หรือ 2 micron ได้
  • เคลื่อนย้ายสะดวก

ข้อเสีย คือ

  • ราคาสูงกว่าแบบที่ 1 พอสมควร
  • ใช้งานได้ไม่เกิน 5 mm.

 

แบบที่ 3

ข้อดี คือ

  • สามารถสอบเทียบได้ถึง 100 mm.
  • Accuracy ดีประมาณ ± 3 micron
  • Input data เข้าระบบ Computer ได้ทันที (ช่วยลด Human Error)

ข้อเสีย คือ

  • ราคาสูงกว่าแบบที่ 1 และ 2 มาก
  • ต้องใช้ร่วมกับโปรแกรมเฉพาะของรุ่น
  • เคลื่อนย้ายลำบาก

 

     ส่วนการบำรุงรักษาจะเหมือนกันทั้ง 3 แบบ สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยคือ ก่อนและหลังใช้งาน ควรทำความสะอาดบริเวณผิวสัมผัสกับ Probe ของ Dial Gauge ด้วยผ้าสะอาดชุบแอลกอฮอล์และเช็ดให้แห้ง และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรใช้สารเคลือบผิวเครื่องมือวัดบริเวณหน้าสัมผัสกับ Probe ของ Dial Gauge เพื่อเป็นการรักษาและป้องกันสนิม เพื่อยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องมือระดับ Standard ให้อยู่กับเราไปนานๆ

    …ฝากไว้ให้คิด… การเลือกซื้อหาเจ้าเครื่อง Calibration Tester มาใช้งานนั้น ทางผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยคือ เรื่องราคาและความคุ้มค่า เพราะแน่นอนว่า Calibration Tester แต่ละแบบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่มีราคาค่อนข้างสูงเอาเรื่องเลยทีเดียว ถ้าหากเครื่องมือ Dial Gauge, Dial Test Indicatorและ Digimatic Indicator ที่มีครอบครองอยู่มีจำนวนไม่มาก อาจจะไม่คุ้มค่าหากต้องมาเสียเงินซื้อเครื่องมือระดับ Standard มาใช้งาน เพราะนอกจากต้นทุนของเครื่องมือ Standard แล้ว ทุกๆปียังต้องส่งเครื่องมือ Standard ไปสอบเทียบกับห้องปฎิบัติการสอบเทียบภายนอกอีกด้วย..

     สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ตอนนี้ทางบริษัท Calibration Laboratory Co.,Ltd. หรือ CLC ของเรา เป็นตัวแทนจำหน่าย Calibration Tester ทุกรุ่นที่ได้กล่าวมา และยังมีบริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด  Calibration Tester, Dial Gauge Tester, Dial Gauge Testing Machine ในรูปแบบการรับรอง Accredit 17025 ( ทั้ง สมอ. และ ANAB ท่านสามารถติดต่อเข้ามาปรึกษาหรือขอรับบริการได้ตามทุกช่องทางการติดต่อ  ทาง CLC มีบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์สูงคอยให้คำปรึกษาทุกท่านเลยครับ

   สุดท้ายและท้ายสุด ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่าน และจะเป็นประโยชน์ยิ่งๆขึ้น หากท่านช่วยแชร์ให้ผู้ที่สนใจรอบข้างด้วย แล้วพบกันใหม่..ขอบคุณครับ

ผู้เขียน CHOK_AM

 

 

 

วิธีเลือกซื้อเกจบล็อก (Gauge block) ชนิดของเกจบล็อกและเลือกซื้อเกจบล็อกยังไงให้ตรงกับงาน

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

บริการสอบเทียบด้านมิติ