TORQUE DRIVER
Torque Driver หรือ ไขควงทอร์ค คือเครื่องมือช่างประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนประแจปอนด์ (Torque Wrench) หรือ ประแจทอร์ค ใช้สำหรับขันน็อตหรือสกรูให้ได้ค่าความแน่นตามที่ต้องการ ไขควงทอร์คจะมีดอกไขควงขนาดต่างๆตามแต่ลักษณะการใช้งานเป็นตัวขัน มีลักษณะหน้าตาเหมือนไขควงเปลี่ยนหัวได้ทั่วๆไป แต่จะมีสเกลวัดค่าแรงบิดที่ตัวเอาไว้ตั้งค่าแรงและอ่านค่าแรงที่ขัน
วิธีใช้ไขควงทอร์ค (Torque Driver)
- ใส่ดอกไขควงขนาดที่ต้องการใช้งาน โดยดันเข้าไปให้ลูกปืนล็อค (จะมีเสียงดังกริ๊ก) ในขั้นตอนนี้ถ้าคนที่ยังไม่เคยใช้ไขควงลักษณะที่เป็นตัวล็อคดอกไขควงแบบ Spring Bit Retainer จะรู้สึกใส่ยาก ยิ่งถ้าเป็นไขควงทอร์คตัวใหม่ที่เพิ่งนำออกมาใช้งาน สปริงจะมีความแข็งอยู่ต้องออกแรงดันมากกว่าปกติถึงจะเข้าล็อค เวลาจะถอดดอกไขควงออกก็เช่นกันต้องออกแรงกระชากมากกว่าปกติ ดอกไขควงถึงจะหลุดออก
- ตั้งค่าแรงบิดที่ตัวไขควงทอร์ค โดยให้ดันแหวนปลดล็อคด้ามทอร์คค้างไว้เพื่อหมุนปรับสเกล หลักการคือหมุนซ้ายเพื่อลดค่าทอร์ค หมุนขวาเพื่อเพิ่มค่าทอร์ค 1 สเกลที่เราหมุนจะขยับตามค่า Resolution โดยเน้นดูขีดกลางเป็นหลัก
- เมื่อเราตั้งค่าแรงทอร์คตามที่ต้องการแล้ว ก็นำไปไขน็อตสกรูตามปกติ เมื่อถึงค่าที่ตั้งไว้ จะมีเสียงลั่นของสปริงดังแกร๊กแปลว่าหมุนแรงถึงตามที่ตั้งค่าทอร์คไว้แล้ว
มีหน่วยวัดอะไรบ้าง
Torque Driver เป็นเครื่องมือที่ใช้ขันแรงและวัดค่าแรงบิดของน็อต ดังนั้นหน่วยในการวัดค่าแรงจะมีได้หลายหน่วย เช่น Newton Meter (N·m), kilogram-force centimeter (kgf·cm), pound-force foot (lbf·ft) เป็นต้น ซึ่งทางบริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบได้ทุกหน่วยการวัดของเครื่องมือเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า
บริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบได้ครอบคลุมทุกหน่วยการวัดที่กล่าวมาข้างต้นและได้รับการรับรอง มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย (TISI) และจาก ANSI National Accreditation Board (ANAB) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยขอบข่ายการวัดสามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ได้ด้วยวิธีการ Comparison with Torque Standard โดยจุดสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ดังแสดงในรูปด้านล่าง
ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย (TISI)
ACCREDIT 17025 จาก ANSI National Accredit Board (ANAB)
รูปตัวอย่างการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ของ CLC โดยใช้วิธีการ Comparison (DUC) with Torque Standard (STD)
การดูแลรักษาไขควงทอร์ค
ส่วนประกอบหลักของไขควงทอร์คก็คือสปริง และลูกปืนหรือบล็อคยึด (Block/Pawl) สปริงจะมีอายุการใช้งานของมัน สปริงอาจสูญเสียความยืดหยุ่นได้หากถูกยืดหรือบีบอัดมากไป ส่วนลูกปืน หรือบล็อคยึดหากอยู่ผิดที่นานๆก็อาจสึก หรืออาจเคลื่อนไปอยู่ผิดที่ ทำให้ค่าทอร์คไม่ตรง
การดูแลรักษาทำได้ง่ายๆดังนี้
- แบ่งการไขเป็น 2 จังหวะ ครั้งแรกไขแน่นครึ่งเดียว แล้วค่อยใช้ไขควงทอร์คไขตอนสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง
- ทำความสะอาดน็อต และโบล์ทให้สะอาดก่อนไข
- ก่อนเก็บไขควงทอร์ค หรือ ประแจทอร์ค ให้ตั้งค่าทอร์คให้กลับมาที่จุดต่ำสุดเพื่อคลายสปริง (ห้ามตั้งต่ำกว่าค่าต่ำสุด)
- ห้ามเอาไขควงทอร์คไปไขคลายน็อต เนื่องจากแรงในการไขอาจให้ค่าเกินค่าทอร์คของไขควงทอร์คได้
- ห้ามทำไขควงทอร์คตก การตกครั้งหนึ่งอาจทำให้ค่าทอร์คคลาดเคลื่อนได้ทันที
ผู้เขียน Keaw VIP
Digital Torque Screwdriver มีดีกว่า Torque Screwdriver แบบธรรมดายังไงนะ (TONE DBDT3S)
—
ซื้อเครื่องมือด้านแรงบิดและแรง บริการสอบเทียบด้านแรงบิดและแรง