เจาะลึก!ชิ้นส่วนภายในที่สำคัญ Pressure Indicator, Pressure Gauge หรือ Pressure Sensor

Pressure Gauge

Pressure Indicator (เกจวัดความดัน)

     เกจวัดความดันมีกี่แบบ ไปดูกัน…แต่ก่อนอื่นอย่างที่ทราบๆกันแล้วว่าเกจวัดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายและเป็นที่นิยมในการใช้วัดความดัน (Pressure) ภายในกระบวนการ อาจจะติดตั้งกับท่อในไลน์ผลิต หรือกับส่วนอื่นๆที่เราต้องการทราบค่าความดันภายใน เช่น ความดันของลม, ความดันของน้ำ, ความดันของน้ำมันไฮดรอลิกส์ เป็นต้น  ลักษณะของการวัดเช่นนี้ เป็นการวัดเพื่อแสดงผลการวัดได้ทันที อาจใช้ในการ Monitoring หรือ เพื่อจดบันทึกค่า แต่มันก็มีบางรุ่นที่จะเป็นสวิตช์ด้วยในตัว  ใช้สั่ง ตัด/ต่อ กระบวนการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่อไป จริงๆแล้วเรื่องราวเกี่ยวกับ Pressure ต่างๆทาง CLC ก็ได้ลงไปหลายบทความแล้วก่อนหน้านี้ (หาเสพย้อนหลังกันได้เลย) ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยเรื่อง Pressure เหมือนเดิมนี่แหละครับ!!!?  แต่ครับแต่…วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดในตัว Pressure Indicator, Pressure Gauge หรือ Pressure Sensor ก็สุดแล้วแต่จะเรียกนะครับ หลักการการทำงานเป็นอย่างไร , มีชิ้นส่วนภายในที่สำคัญอะไรบ้าง วันนี้เราจะเน้นเรื่องชิ้นส่วนภายในและระบบการทำงานของเกจเป็นหลัก เกจวัดความดันจำพวกนี้ คุ้นหน้าคุณตากันเป็นอย่างดี ใช้งานง่าย ราคาไม่แพงจนเกินไป ชิ้นส่วนและหลักการทำงานเป็นอย่างไร ไปดูกันครับ

เกจวัดความดันแบบบูร์ดอง (Bourdon Tube) เกจวัดความดันชนิดนี้ด้านในตัวเครื่องจะมีลักษณะเป็นขดทองแดงกลวง มีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงรี เมื่อมีความดันเข้าไปในท่อขดทองแดงจะพยามยามขยายตัวออกเป็นวงกลม และขดทองแดงที่ว่านี้ก็ติดตั้งให้ทำงานร่วมกับชุดเฟืองและเฟืองก็ติดตั้งให้ทำงานสัมพันธ์กับตัว Pointer(เข็มอ่าน) พอขดทองแดงยืด หด ตามความดันจากภายนอกที่อัดเข้ามา ก็ทำให้ Pointer เคลื่อนที่ไปตามวงรอบของหน้าปัด และเราสามารถอ่านค่าจากสเกลได้ทันที ลองดูจากรูปตัวอย่างรูปที่ 1 ประกอบ

รูปที่ 1

ถ้าดูจากรูปตัวอย่างที่ 1 แล้วยังงงๆ ให้ลองดูรูปที่ 2 นี้ประกอบคำอธิบายด้านบนดูครับ น่าจะเข้าใจหลักการได้ง่ายขึ้น (สงสัยใช่มั้ยว่าผมเอารูปมาแนบผิดหรือปล่าว ลองอ่านด้านล่างให้จบ ท่านจะเข้าใจ)

รูปที่ 2

พอจะจำของเล่นในวัยเด็กชิ้นนี้กันได้บ้างมั้ยครับ ที่เราเป่าลม เข้า-ออก ตรงด้านที่เป็นคล้ายหลอด แล้วปลายอีกด้านจะม้วนเข้าออกตามแรงลมที่เราเป่าเข้าไป ทีนี้พอจะจินตนาการออกแล้วใช่มั้ยครับว่า เจ้าเกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง(Bourdon Tube) นั้น หลักการคร่าวๆก็จะคล้ายๆกับเจ้าของเล่นชนิดนี้เลย(จำชื่อของเล่นไม่ได้) ให้เปรียบเสมือนว่าแรงดันลมจากปากของเราที่เป่าเข้าไปในหลอด คือความดันที่อัดเข้าไปยังเกจวัดความดัน ส่วนตรงปลายของเล่นที่ม้วนเข้าออกนั้น ก็คือขดทองแดงที่อยู่ภายในเกจนั่นเอง

เกจวัดความดันแบบเบลโลว์ (Bellow) เป็นเกจวัดความดันอีกชนิด ที่อาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงเชิงกล ด้วยหลักการยืด,โก่งตัว ของวัสดุที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น เช่นเดียวกับบูร์ดอง (Bourdon Tube) แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้วัดในย่านแรงดันค่อนข้างต่ำ หรือในบางตัวต่ำกว่าบรรยากาศ มีค่า Max สุดไม่เกิน 1.5 bar โครงสร้างของเจ้าเบลโลว์ที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายลูกฟูก ภายในกลวง ปลายด้านนึงยึดติดกับเข็มชี้ค่าความดัน (Pointer) ส่วนปลายอีกด้านเปิด เพื่อเป็นช่องสำหรับให้ความดันที่ต้องการวัดค่าเข้ามา เมื่อเบลโลว์ได้รับความดันจากภายนอกเข้ามา ทำให้ความดันภายในสูงขึ้น ส่งผลให้เบลโลว์ยืดตัวออกในทิศทางเดียวกับความดัน  และพาเข็มชี้วัด(Pointer) เคลื่อนที่  เกจวัดความดันแบบเบลโลว์จะมีค่าความถูกต้อง (Accuracy) และความแม่นยำ (Precision) สูงกว่าเกจวัดความดันแบบบูร์ดอง เนื่องจากปลายด้านนึงของเบลโลว์ติดกับเข็มชี้ค่าเลย โดยที่ไม่ผ่านระบบเฟืองเหมือนแบบบูร์ดอง

ตัวอย่างรูปที่ 3

รูปที่ 3

   มาถึงตรงนี้พอจะเข้าใจหลักการทำงานรวมทั้งชิ้นส่วนภายในของ Pressure Indicator ทั้งสองชนิดกันบ้างแล้วนะครับ ศรัทธาชนิดไหนก็เลือกหามาใช้ได้ตามความเหมาะสมได้เลย หรือถ้าต้องการข้อมูล,ปรึกษาหารือเรื่องนี้ ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC ก็ยินดีครับ และไม่ว่าจะเป็น Pressure Indicator ในรูปแบบไหน หรือหลักการทำงานแบบใด ทาง CLC ก็มีบริการรับสอบเทียบทั้งในและนอกสถานที่ ในรูปแบบ Accredit ISO/IEC 17025:2017 ทั้งจาก สมอ. และ ANAB อีกเช่นเคย แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีครับ..

 

MKS