Moisture Balance
MOISTURE BALANCE หรือ เครื่องวัดความชื้น เป็นเครื่องมือวัดค่าแบบหนึ่งที่บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) มีให้บริการแคลิเบรท (Calibrate) หรือ สอบเทียบเครื่องมือวัด โดยเครื่อง MOISTURE BALANCE หรือ เครื่องวัดความชื้น นี้ เป็นเครื่องหาความชื้นของสารที่สามารถหาได้ทั้งในของแข็งและของเหลว ด้วยหลักการการให้ความร้อนด้วยแสงจากหลอดฮาโลเจน (Halogenmoisture analyzer) เครื่องวัดความชื้นจึงเป็นเครื่องมือวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักของตัวอย่างก่อนและหลังจากได้รับความร้อนจนความชื้นหมดไป ตัวอย่างจะถูกชั่งก่อนและหลังการอบเพื่อหาค่าความแตกต่างความชื้นของตัวอย่างจะรวมอยู่ในส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ซึ่งความชื้นจะระเหยเมื่อได้รับความร้อน ค่าความชื้นของวัสดุจะแตกต่างจากการปนของน้ำในวัสดุ ดังนั้นหากเราต้องการหาค่าความชื้นของวัสดุ เราจึงต้องให้วัสดุคายน้ำออกมา กระบวนการคายน้ำนั้นคือกระบวนการที่จะไล่น้ำออกจากตัวอย่างออกมา ซึ่งวัสดุจะคายน้ำที่อุณหภูมิหน่วยองศาเซลเซียส (อุณหภูมิการคายน้ำขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ)
ทำไมต้องมีการวิเคราะห์ปริมาณความชื้น
วัสดุธรรมชาติทุกชนิดจะมีความชื้นเป็นส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหรือความชื้นในตัวอย่างไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากนัก แต่ในการค้าจะต้องแสดงคุณสมบัติหรือใช้ค้นหาคุณสมบัติอื่นๆ ตามมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความชื้นด้วยเครื่องวัดความชื้น จึงเป็นการตรวจสอบอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะปริมาณความชื้นจะบอกให้ทราบว่าวัสดุนั้นมีคุณภาพดีหรือไม่
โดยค่าความชื้นสามารถบ่งชี้คุณสมบัติของวัสดุได้ ดังนี้
- ระยะเวลาการเก็บรักษา สามารถเก็บรักษาได้นานแค่ไหน
- การจับตัวของผงแป้ง
- การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์
- คุณสมบัติการไหล, ความหนืด
- ปริมาณส่วนประกอบที่ไม่รวมความชื้น
- ความเข้มข้นหรือความบริสุทธิ์
- ค่าอื่นๆ ตามข้อกำหนดของกฎหมาย
เครื่องวัดความชื้นทำงานอย่างไร?
MOISTURE BALANCE (เครื่องวัดความชื้น) ทำงานตามหลัก “การสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง เครื่องวัดความชื้นจะมีส่วนประกอบสองส่วน นั่นคือ ชุดชั่งน้ำหนักและชุดทำความร้อน ในการวัดปริมาณความชื้น น้ำหนักเริ่มต้นของตัวอย่างจะถูกบันทึกไว้ก่อน จากนั้นหลอดไฟฮาโลเจน (Halogen moisture analyzer) หรือ เครื่องกระจายความร้อนแบบอินฟราเรดอื่นๆ จะให้ความร้อนและทำให้ตัวอย่างแห้ง พร้อมกันนั้นเครื่องชั่งในตัวเครื่องวัดความชื้น จะทำการบันทึกน้ำหนักของตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง เมื่อตัวอย่างไม่สูญเสียน้ำหนักอีกต่อไป เครื่องมือจะปิดการทำงานและคำนวณค่าปริมาณความชื้น โดยจะใช้น้ำหนักรวมที่สูญเสียไปในการคำนวณปริมาณความชื้น
วิธีเลือกเครื่องวัดความชื้นหลักเกณฑ์และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกซื้อเครื่องวัดความชื้นที่เหมาะสม
การเลือกเครื่องเครื่องวัดความชื้นคุณอาจไม่แน่ใจว่าเครื่องใดที่เหมาะกับความต้องการของคุณ เพราะว่ามีเครื่องวัดความชื้นอยู่มากมายหลากหลายรุ่นในท้องตลาด การเปรียบเทียบข้อมูลจำเพาะในเอกสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ แต่การเลือกเครื่องวัดความชื้น ที่เหมาะกับการใช้งานเฉพาะทางของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าข้อมูลจำเพาะเหล่านี้ ซึ่งไม่ได้แสดงให้เห็นถึงภาพทั้งหมดเลย ประสิทธิภาพในการวัดผลสำหรับตัวอย่างเฉพาะของคุณ หรือความสะดวกต่อการใช้งานในสภาพที่มีการทำงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างหลักเกณฑ์ที่เราไม่สามารถดูได้จากเอกสารข้อมูล ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงฟังก์ชันการทำงานและประสิทธิภาพของเครื่องมือจากมุมมองในภาพรวมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งศึกษาคำแนะนำ “วิธีเลือกเครื่องวัดความชื้น” และหาคำตอบว่าองค์ประกอบที่สำคัญต่อไปนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของคุณอย่างไร
คุณลักษณะและประเภทของตัวอย่าง
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและความง่ายในการใช้งาน
- การบริหารจัดการข้อมูล
- การทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์
- การสนับสนุนและบริการ
- อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมทางเลือก
- คำอธิบายข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค
ระบบทำความร้อนของเครื่องวัดความชื้นคืออะไร?
- ขดลวดความร้อนเป็นแหล่งให้ความร้อนที่นิยมใช้งานในช่วงแรก ข้อดีคือ ราคาไม่สูง ทนทาน แต่ใช้ระยะเวลานาน ช่วงรอความเย็นลดลง
- Halogen lamps เป็นแหล่งให้ความร้อนที่นิยมกันมากในปัจจุบันของ moisture analyzer ข้อดีคือ ร้อนเร็ว เย็นเร็ว ดูแลรักษาง่าย ตัวอย่างทดสอบจะเริ่มได้รับความร้อนจากการสัมผัสกับอากาศ นั่นคือจะมีการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน
- IR sensors การแผ่รังสีจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนเมื่อกระทบกับวัสดุทดสอบ ในกรณีนี้ตัวอย่างทดสอบจะร้อนจากข้างในและส่งผ่านความร้อนออกด้านนอก
โดยในการทดสอบนั้นต้องเกลี่ยชิ้นงานให้กระจายทั่วภาชนะตัวอย่างทดสอบต้องไม่หนาเกินไป เพราะความชื้นจะระเหยจากผิว ถ้าเป็นไปได้ตัดชิ้นงานให้มีขนาดเล็กลงหากต้องการหาค่าความชื้นของ ของเหลวจะต้องใช้อุปกรณ์ประกอบในการทดสอบ เช่น ทรายซิลิกา
เครื่องวัดความชื้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตหรือในห้องปฏิบัติการในอุตสาหกรรมใด?
- อุตสาหกรรมประเภทอาหาร
- อุตสาหกรรมประเภทยา
- อุตสาหกรรมประเภทก่อสร้าง
- อุตสาหกรรมการเกษตร
Moisture Balance กับการ Calibrate
เนื่องจากเครื่อง MOISTURE BALANCE หรือ เครื่องวัดความชื้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความชื้นของวัสดุ ส่งผลไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในด้านการซื้อขายและด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การดูแลรักษาเครื่องวัดความชื้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ควรทำควบคู่ไปกับการแคลิเบรท (Calibrate) หรือสอบเทียบเครื่องมือวัดด้วย เพื่อยืนยันตามมาตรฐานได้ว่าเครื่องวัดความชื้นยังรายงานค่าได้ตรงตามความความจริง
โดยสามารถตรวจสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด ความแม่นยำได้ทั้ง 2 ฟังก์ชั่นด้วยกัน
- อุณหภูมิที่ตัวเครื่องทำความร้อน (Temperature) หากไม่สอบเทียบเครื่องมือวัด อาจทำให้ผลค่าความชื้นในตัววัสดุที่ทำการทดสอบไม่ตรงตามความจริง ในกรณีอุณหภูมิต่ำกว่าค่าแสดง วัสดุอาจยังมีความชื้นหลงเหลืออยู่ หรือหากความร้อนสูงกว่าค่าแสดงอาจทำให้วัสดุที่ใช้เกิดไหม้ได้
- น้ำหนักที่ตัวเครื่องวัดความชื้นแสดง (Balance) หากไม่สอบเทียบเครื่องมือวัด ผลของน้ำหนักวัสดุทั้งก่อนและหลังทดสอบอาจไม่ตรงกับความจริงและส่งผลต่อผลิตภัณฑ์
SCOPE การ CALIBRATE เครื่อง Moisture Balance CALIBRATE อุณหภูมิความร้อน(Temperature)
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) สามารถให้บริการในการสอบเทียบเครื่องมือวัดทั้งภายในและนอกสถานที่ โดย Range ในช่วงอุณหภูมิที่เครื่องวัดความชื้นสามารถทำอุณหภูมิได้ ควรสอบเทียบอุณหภูมิตามการใช้งานจริง 1หรือ 2 point อาทิเช่น 80 องศาเซลเซียส , 105 องศาเซลเซียส , 120 องศาเซลเซียส
CALIBRATE น้ำหนักที่ตัวเครื่องอ่านค่า (Balance)
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) สามารถให้บริการในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ทั้งภายในและนอกสถานที่ โดย Range ในช่วงน้ำหนักตั้งแต่หน่วย มิลลิกรัม, กรัม ไปจนถึง หน่วยกิโลกรัม ตาม SCOPE ของเครื่องชั่งที่ทางห้องปฏิบัติการแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC)ได้การรับรองมาตรฐาน ทั้ง ISO/IEC 17025:2017 SCOPE สมอ. และ ANAB
ISO/IEC 17025:2017 SCOPE สมอ.Range ตั้งแต่ 1mg to 2500 kg
รูป 1.1 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการถาวร)
รูป 1.2 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการถาวร)
รูป 2.1 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการนอกสถานที่)
รูป 2.2 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการนอกสถานที่)
ISO/IEC 17025 SCOPE ANABRange ตั้งแต่ 1 mg to 4500 kg
ผู้เขียน Paemy Little
บริการสอบเทียบด้านมวลและเครื่องชั่ง
—————
VDO l สอบเทียบ”เครื่องชั่ง”เอง ทำได้หรือไม่? มีวิธีอย่างไร
VDO l “เครื่องชั่ง” อยากปรับค่าเอง ทำอย่างไร