เครื่องวัดความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อน มีวิธีทดสอบและใช้งานอย่างไร

scorch sublimation tester, ความคงทนของสี,,การสอบเทียบเครื่องมือวัด ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด

Scorch&Sublimation Tester เครื่องวัดความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อน

มาตรฐานการทดสอบ : เป็นการทดสอบ ความคงทนของสี ของสิ่งทอทุกประเภทต่อการรีดและใช้ลูกกลิ้งร้อน โดยสิ่งทออยู่ในสภาพที่แห้ง สภาพที่ชื้นและสภาพที่เปียกหรือขึ้นอยู่กับการใช้งาน

การทดสอบสภาพที่แห้ง : การกดทับชิ้นงานทดสอบที่สภาพแห้งด้วยเครื่องมือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ แรงกด และเวลาที่กำหนด

การทดสอบสภาพที่ชื้น : วางชิ้นงานทดสอบที่สภาพแห้งประกบทับด้วยผ้าฝ้ายที่เปียก แล้วกดทับด้วยครื่องมือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ แรงกด และเวลาที่กำหนด

การทดสอบสภาพที่เปียก : วางชิ้นงานทดสอบที่สภาพเปียกให้ด้านทดสอบอยู่ด้านบน ประกบทับด้วยผ้าฝ้ายที่เปียกแล้วกดทับด้วยครื่องมือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ แรงกด และเวลาที่กำหนด

การประเมิน : การประเมินการเปลี่ยนสีของชิ้นทดสอบและการเปื้อนสีของผ้าประกบโดยเปรียบเทียบกับเกรย์สเกลทันที และภายหลังผึ่งให้แห้งในสภาวะบรรยากาศที่มาตรฐานกำหนด

ความคงทนของสี

วิธีการทดสอบและการใช้เครื่องมือวัด ความคงทนของสี และอุปกรณ์

เครื่องกดทับให้ความร้อนที่มีแผ่นผิวเรียบขนานกัน 1 คู่ ทําให้ร้อนด้วยระบบไฟฟ้าซึ่งควบคุมอุณหภูมิได้คงที่ และมีแรงกด 4 ±1 kPa บนชิ้นงานทดสอบ โดยมีส่วนประกอบต่างๆ  ผ้าสักหลาดทําจากขนแกะ  ทําเป็นแผ่นรอง (Padding) มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับมวลรวมของแผ่นกดเพื่อให้ได้แรงกด 4 : 1 kPa บนชิ้นงานทดสอบ ถ้าผ้าที่นํามาทดสอบมีความหนาอาจต้องเพิ่มพื้นที่ของชิ้นงานทดสอบ หรือเพิ่มพื้นผิวรองรับแรงกดด้วยแผ่นแบบ (Template) ที่ทําจากวัสดุเดียวกับชิ้นงานทดสอบ

scorch sublimation tester, ความคงทนของสี

 

การให้ความร้อนด้วยเครื่องวัด ความคงทนของสี ควรส่งผ่านความร้อนลงจากแผ่นกดแผ่นบนลงไปยังชิ้นงานทดสอบเท่านั้น ถ้าแผนกด แผ่นล่างมีระบบให้ความร้อนที่ปิดไม่ได้ (Turn off) ต้องติดแผ่นด้านความร้อน (Heat-resistant sheet) ควรวางประกบชิ้นงานทดสอบเข้ากับแผ่นด้านความร้อน ก่อนที่จะนําไปวางในเครื่องกดทับให้ความร้อนก่อนการทดสอบแต่ละครั้งควรให้แผ่นด้านความร้อนเย็นลงและผ้าขนแกะแห้ง  แผ่นรองทําจากผ้าสักหลาดขนแกะ มีมวลต่อพื้นที่ประมาณ 260 gm ทําเป็น 2 ชั้น มีความหนาประมาณ 3 mm หรืออาจใช้ผ้าขนแกะผิวเรียบหรือผ้าสักหลาดอื่นแทนได้ หรือผ้าฝ้ายผิวเรียบ ฟอกขาว ไม่ผ่านการเมอร์เซอไรซ์ และไม่ย้อมสี มีมวลต่อพื้นที่ 100 gm ถึง 130 gm  ±3.5

ความคงทนของสี

โดยทั่วไปการเลือกอุณหภูมิที่ใช้ทดสอบขึ้นกับชนิดเส้นใยและโครงสร้างของผ้า หรือเครื่องนุ่งห่ม กรณีที่เป็นเส้นใยผสมให้ใช้อุณหภูมิที่เหมาะกับชนิดเส้นใยที่ทนความร้อนต่ำที่สุด อุณหภูมิทั่วไปที่ใช้ ในการกดทับ มีดังนี้

110 ±2 °C

150 ±2 °C

200 ±2 °C

อาจใช้อุณหภูมิที่ต่างจากที่กําหนดข้างต้น แต่ให้ระบุในรายงานผลทดสอบ  ปรับภาวะชิ้นงานทดสอบก่อนทําการทดสอบ ในบรรยากาศมาตรฐานสําหรับการทดสอบสิ่งทอความชื้นสัมพันธ์ ร้อยละ 65 ±4 และอุณหภูมิ 20 ±2 °C วางชิ้นงานทดสอบที่แห้งบนผ้าฝ้ายไม่ย้อมสี พุ่มผ้าฝ้ายประกบลงในน้ำ บีบเอาน้ำออกจนไม่มีน้ำหยด แล้ววางทับบนชิ้นทดสอบ เลื่อนแผ่นกดแผ่นบนของเครื่องกดทับความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิตามที่กําหนดทับลงบนชิ้นทดสอบ นาน 15วินาที

การประเมินผล ประเมินการเปลี่ยนสีของชิ้นงานทดสอบตามวิธีที่กําหนดใน มอก.เปรียบเทียบกับเกรย์สเกล สําหรับประเมินการเปลี่ยนสีทันทีในตู้ประเมินและภายหลังจากนําชิ้นทดสอบไปเก็บในบรรยากาศมาตรฐาน สําหรับการทดสอบสิ่งทอ นาน 4 ชั่วโมง

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด

1.การสอบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประกบบนและล่าง

โดยการ Compareโดยใช้เครื่องมือชื่อ DOCUMENT PROCEES CALIBRATOR

การสอบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประกบบนและล่าง, DOCUMENT PROCEES CALIBRATOR, ความคงทนของสี

2.สอบเทียบเวลาในการทดสอบ

โดยใช้เครื่องมือชื่อ STOP WATCH  ในการสอบเทียบเวลา

Stop Watch, ความคงทนของสี

3.สอบเทียบน้ำหนักของแผ่นบน

ซึ่งอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อพื้นที่ของแผ่นกดทับ โดยใช้เครื่องมือชื่อ ELECTRONIC BANLANCE ในการสอบเทียบ

ELECTRONIC BANLANCE, สอบเทียบน้ำหนักของแผ่นบน, ความคงทนของสี

4.สอบเทียบความกว้างและความยาวของแผ่นกดทับบนและล่าง  

โดยใช้เครื่องมือชื่อ DIGIMATIC CALIPER ในการสอบเทียบ

DIGIMATIC CALIPER,สอบเทียบความกว้างและความยาวของแผ่นกดทับบนและล่าง  , ความคงทนของสี

ผู้เขียน A BABYSTRIKE

 

 

 

 

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด