เครื่องวัดความเค็ม เป็นอย่างไร

อย่างที่รู้กันดีการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หรือมีปริมาณโซเดียมสูงเกินไปนั้น จะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ถึงแม้ว่าโซเดียมจะช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายและช่วยในการทำงานของเส้นประสาทรวมถึงกล้ามเนื้อให้เป็นปกติดี แต่การได้รับโซเดียมหรือความเค็มปริมาณสูงเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ ทั้งโรคความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคยอดฮิตอันดับต้นๆ ของคนไทย เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทยที่ชอบทานอาหารที่มีรสจัดซึ่งรวมไปถึงการปรุงอาหารด้วยเกลือ, น้ำปลา, ผงชูรส, ซีอิ๊ว, เต้าเจี้ยว, น้ำมันหอย และเครื่องปรุงต่างๆ ด้วยนั้นเอง เพราะฉะนั้น เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีและยั่งยืน การลดเค็มเท่ากับลดโรคต่างๆลงได้ และระดับความเค็มในอาหารควรเป็นเท่าไหร่ที่จะกินได้อย่างปลอดภัยและพอดีล่ะ? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้มันมีความเค็มเท่าไหร่?…วันนี้ผู้เขียนจะพามาแนะนำผู้ช่วยในการตรวจสอบความเค็มในอาหารนั้นคือ !!!

Salt Meter หรือ Salinity Meter (เครื่องมือวัดความเค็ม)

เครื่องมือวัดความเค็ม (Salinity Meter หรือ Salt Meter) คือ เครื่องมือวัดความเค็มชนิดหนึ่ง ที่ได้ค่าจากการวัดความเข้มข้นของเกลือที่ละลายในน้ำ โดยจะมีพลังงานไฟฟ้ามากกว่าน้ำเปล่าๆ การทดสอบโดยการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า (Electrical Conductivity หรือ EC) และแปลงออกมาเป็นค่าความเค็มโดยอาศัยหลักการหักเหของแสงที่มีหน่วยในการวัดเป็น % หรือ ppt ซึ่งเครื่องวัดความเค็มส่วนใหญ่จะใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำเพื่อระบุว่าน้ำปลอดภัยสำหรับการชลประทานหรือไม่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตร หรือควบคุมคุณภาพปริมาณความเค็มในงานอุตสาหกรรมด้านอาหาร เช่น การผลิตอาหารสำเร็จรูป น้ำผลไม้ เครื่องปรุงและเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยในเรื่องสุขภาพ

 

ความเค็มหมายถึงระดับความเข้มข้นของโซเดียมที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งมาตราฐานความเค็มอ้างอิงจากน้ำทะเลเท่ากับ 35 ppt น้ำทะเลจะมีโซเดียมที่ละลายอยู่เช่น โซเดียมแมกนีเซียม แคลเซียมและโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือที่เรียกกันว่าเกลือแกง เป็นสารที่ให้ความเค็มที่พบได้บ่อยที่สุด โซเดียมจะพบได้ในอาหารหลากหลายชนิดตามธรรมชาติ เช่น นม เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลต่างๆ และมักพบในอาหารแปรรูปจำนวนมากอย่างเช่นขนมปัง, เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก เบคอน, ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงต่างๆ เช่น โมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) ซึ่งใช้เป็นวัตถุปรุงรสอาหาร 

 

หน่วยการวัดค่า Salinity

1) หน่วย % (เปอร์เซ็นต์) หมายถึงทุกกิโลกรัม (ประมาณหนึ่งลิตรโดยปริมาตร) ของโซเดียมละลายอยู่

2) หน่วย ppt (ส่วนในพันส่วน) เขียนย่อเป็น % มีค่าเท่ากับกรัม/ลิตร (g/L)

3) ความเค็มในหน่วย PSU (Practical salinity unit) มาตราส่วนความเค็มเชิงปฏิบัติ

หมายเหตุ: 1 ppt = 1,000 ppm = 1,000 mg/L = 0.1 เปอร์เซ็นต์

หลักการทำงานและวิธีการใช้งาน Salinity Meter หรือ Salt Meter

เราสามารถวัดค่า Salinity โดยใช้หลักการวัดค่า Conductivity ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสองของเครื่องวัดความเค็มในตัวอย่างน้ำ ค่าการนำไฟฟ้าหรือค่า EC ของตัวอย่างได้รับอิทธิพลจากความเข้มข้นและองค์ประกอบของโซเดียมที่ละลายในน้ำ โซเดียมช่วยเพิ่มความสามารถของสารละลายในการนำกระแสไฟฟ้า ดังนั้นค่า EC ที่สูงแสดงว่ามีระดับความเค็มสูงและเครื่องวัดมีการสร้างความสัมพันธ์ที่แม่นยำระหว่างค่าการนำไฟฟ้าและความเค็ม จะแสดงค่าความเค็มในหน่วยของ % (เปอร์เซ็นต์) หรือ ppt หรือ กรัม/ลิตร หรือ PSU ขึ้นอยู่กับชนิดและความสามารถของเครื่องวัดในแต่ละรุ่น

วิธีการใช้งานเครื่องวัดความเค็ม

  1. เปิดเครื่องที่ปุ่ม On/Off
  2. จุ่มหัว Electrode ลงในตัวอย่างให้เครื่องมือตั้งฉากตรง
  3. กดปุ่มเซ็นเซอร์การวัดรอ 3 วินาที เปอร์เซ็นต์เกลือของตัวอย่างจะแสดงบนจอแสดงผลดิจิตอล
  4. บันทึกค่า และเช็ดทำความสะอาดเครื่องมือหลังใช้งาน

หมายเหตุ: เป็นการยกตัววิธีการใช้งานในบางรุ่นเท่านั้น เครื่องวัดความเค็มแต่ละรุ่นใช้งานไม่เหมือนกันให้ผู้ใช้งานศึกษาคู่มือก่อนใช้งาน

 

Salt Meter หรือ Salinity Meter (เครื่องวัดความเค็ม)มีกี่ประเภท

เครื่องวัดความเค็มในปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถแสดงค่าความเค็มแบบติจิตอลได้ มีความสะดวกสะบาย ใช้งานง่าย รวดเร็วและความแม่นยำถูกต้องในการวัดมากขึ้น บางรุ่นสามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้ด้วยในตัว เครื่องมือมีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาได้สะดวก ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ มีระบบป้องกันฝุ่น จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานเครื่องวัดความเค็มให้ตรงกับงานที่ทำได้ โดยเครื่องวัดความเค็มที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลักๆอยู่  3 แบบดังนี้

1.เครื่องวัดความเค็มแบบกล้องส่อง

จะอาศัยแสงจากภายนอกในการส่องดูและอ่านค่าตามขีดวัดสเกล

 

2.เครื่องวัดความเค็มแบบปากกาจุ่ม

สามารถวัด ความเค็ม ได้โดยการนำหัววัด (Electrode) ไปจุ่มในตัวอย่างที่ต้องการวัดได้โดยตรงและอ่านค่าเป็นแบบดิจิตอล

3.เครื่องวัดความเค็มแบบหลุมปริซึม 

โดยนำตัวอย่างหยอดลงในหลุมปริซึม ซึ่งจะใช้แสง Laser ภายในเครื่องสะท้อนหาค่าดัชนีหักเหและแสดงผลเป็นตัวเลขแบบดิจิตอล ข้อดีสามารถอ่านค่าตัวอย่างของเหลวที่ทึบแสงได้

เกล็ดความรู้เพื่อสุขภาพ

  • ระดับความเค็มที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีความเค็มต่ำ จะต้องวัดได้ค่าน้อยกว่า 7%NaCl และสามารถคำนวณกลับเป็นปริมาณโซเดียมได้เท่ากับ 275.3 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร
  • ระดับความเค็มที่มีความเค็มปานกลาง จะวัดได้ค่า 7-0.9% NaCl และสามารถคำนวณกลับเป็นปริมาณโซเดียมได้เท่ากับ 275.3-354 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร
  • ระดับความเค็มที่มีความเค็มสูง จะวัดได้ค่าที่มากกว่า 9% NaCl และสามารถคำนวณกลับเป็นปริมาณโซเดียมได้มากกว่า 354 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่อันตรายและไม่ควรกิน
  • ร่างกายของเรานั้นรับโซเดียมได้ไม่ควรเกิน 2,400 มก./วัน

ส่วนประกอบ เครื่องวัดความเค็ม (Salinity meter หรือ Salt Meter)

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้งาน

  1. เครื่องวัดความเค็มสามารถวัดตัวอย่างเฉพาะของเหลวได้เท่านั้น ไม่สามารถวัดตัวอย่างที่เป็นของแข็งหรือของแห้งได้
  2. เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งหลังใช้งาน
  3. ระวังหัวโพรบ Electrode กระทบกับของแข็ง อาจทำให้แตกหักเสียหายได้
  4. หมั่นส่งเครื่องมือสอบเทียบประจำทุกปี เพื่อตรวจวัดค่าความถูกต้องของเครื่องมือ
  5. ไม่ควรจุ่มเครื่องวัดความเค็ม ทิ้งไว้ในอาหารหรือตัวอย่าง
  6. ไม่ควรวัดอาหารร้อน ใช้วัดอาหารหรือตัวอย่าง ณ อุณหภูมิห้องเท่านั้น

SCOPE ที่ได้รับการรับรอง (Accredited17025)

ทางบริษัท แคริเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดความเค็ม
และได้รับการรับรอง Accredited ISO/IEC 17025:2017 ของ Scope ต่างประเทศ ANAB จากอเมริกา
Range ที่ได้รับการรับรอง 0-26% Salinity  โดยใช้วิธีการสอบเทียบแบบ Direct Measurement by NaCl Salt Standard Solution
สามารถดูรายละเอียด Scope Update ได้ที่นี่ คลิก

Credited by Timnorton