Textile Tape (เทปวัดระยะ, สายวัด)
คือ เครื่องมือวัด ทางด้านมิติ (Dimension) ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ วัดขนาดของชิ้นงานในการประกอบชิ้นส่วน เพื่อหาค่าความถูกต้องและ ค่าของความผิดพลาดของขนาดชิ้นงานที่ทำการผลิตหรือประกอบขึ้น ถ้าเครื่องมือวัดดังกล่าวที่ใช้งานอยู่เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น ย่อมจะส่งผลเสียหาย ให้กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพตามข้อกำหนด ซึ่งอาจทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ”อย่างมาก” โดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และเพื่อยืนยันระบบการผลิตที่มีคุณภาพ อย่างคงเส้นคงวา กระบวนการยืนยันความถูกต้องของเครื่องวัดที่เรียกว่า การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งยังมีผู้ใช้ สายวัด จำนวนไม่น้อยที่ต้องการจะสอบเทียบเครื่องวัดดังกล่าวเอง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจวิธีการสอบเทียบที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล
Textile Tape มักได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานหรือการค้าโดยเฉพาะ เทปวัด อาจทำจากวัสดุที่แตกต่างกันและมีความยาวต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน สำหรับเทปที่มีไว้ในการใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าทำจากผ้าหรือพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ เทปสายวัด ที่ดีควรทำด้วยวัสดุไม่ยืด ไม่หด สามารถใช้ได้ทั้งหน่วยนิ้วและหน่วยเซนติเมตร ซึ่งพวกเขามีชื่อว่า “สายวัด สำหรับเย็บผ้า” เทปวัด ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการวัดเส้นรอบเอวของผู้รับการทดสอบ ทุกวันนี้ เทปวัดสำหรับเย็บผ้า ทำจากไฟเบอร์กลาส,พลาสติกซึ่งไม่ฉีกขาดหรือยืดได้ง่าย เทปวัดแบบทำเครื่องหมายเองช่วยให้ผู้ใช้สามารถวัดด้วยมือเดียวได้อย่างแม่นยำ มีการแบ่งช่องอย่างชัดเจน ในการวัดตัวหน่วยเซนติเมตรจะมีความละเอียดกว่าหน่วยนิ้ว ซึ่งการเย็บผ้าสตรีส่วนใหญ่นิยมใช้หน่วยเซนติเมตร (สายวัดจะมีความยาว 60 นิ้ว หรือ 150 เซนติเมตร)
แผนภาพแสดงเศษส่วนของนิ้วบนเทปวัดมาตรฐานที่สิบหก
วิธีการอ่านเศษส่วนของนิ้วบน Textile Tape (สายวัด) มาตรฐานที่สิบหก
ใช้วัดตัวเพื่อทราบขนาดสัดส่วนของบุคคลและสร้างแบบเสื้อผ้า การอ่านสายวัดหลักนิ้ว แบ่งเป็น 8 ช่อง นิยมอ่านเป็นเศษส่วน ดังนั้น 1 ช่อง อ่านว่า เศษ 1 ส่วน 8
2 ช่อง อ่านว่า เศษ 1 ส่วน 4 และ 3 ช่อง อ่านว่า เศษ 3 ส่วน 8
การอ่าน สายวัดหน่วยเซนติเมตร แบ่งเป็น 10 ช่อง นิยมอ่านเป็นทศนิยม ดังนี้
- ช่อง อ่านว่า 1
- ช่อง อ่านว่า 2
- ช่อง อ่านว่า 3
- ช่อง อ่านว่า 4
- ช่อง อ่านว่า 5
การเก็บดูแลรักษา เทปวัด
- ห้ามใช้ Textile Tape แทนเชือกผูกเอว เพราะจะทำให้สายวัดบิดเบี้ยว เสียรูป
- ควรเก็บรักษาโดยวิธีการแขวน เพราะจะทำให้สายวัดอยู่ในสภาพเดิมไม่เสียรูป สะดวกต่อการใช้งาน
- ระวังการใช้สายวัดกับของมีคม อาจทำให้สายวัดขาดได้
- ระวังไม่ให้สเกล Textile Tape จาง อาจทำให้ผลการวัดคลาดเคลื่อน
- ควร สอบเทียบเครื่องมือวัด Textile Tape อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ได้ค่ามาตรฐานเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการวัด
มาตรฐาน สายวัด
สัญลักษณ์การจำแนกประเภท EC สีแดงที่พิมพ์บน สายวัด แบบยืดหดได้ ความแม่นยำของ Textile Tape วัดขึ้นอยู่กับปลายเทปและเครื่องหมายที่พิมพ์ลงบนเทป ความแม่นยำในการสิ้นสุดของเทปวัดแบบยืดหดได้นั้นขึ้นอยู่กับกลไกการเลื่อนและความหนาของตะขอ
หาก Textile Tape ได้รับการรับรองแล้วจะมีการพิมพ์ระดับคลาสลงบนเทปควบคู่ไปกับสัญลักษณ์อื่น ๆ รวมทั้งความยาวเล็กน้อยของเทปปีที่ผลิตประเทศที่ผลิตและชื่อของผู้ผลิต สำหรับเทปพับเก็บได้ Class I มีความแม่นยำที่สุดและมีแนวโน้มที่จะมีราคาแพงที่สุด ในขณะที่เทป Class II เป็นคลาสที่พบได้บ่อยที่สุด
โดยทาง Calibration laboratory (CLC)มีบริการรับ สอบเทียบเครื่องมือวัด ได้และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) (ตามรูปที่ 1) และ ISO/IEC 17025:2017 จากหน่วยงาน ANSI National Accreditation Board | ANAB (ตามรูปที่ 2) อีกด้วย
รูปที่1 มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
รูปที่2 มาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากหน่วยงาน ANSI National Accreditation Board (ANAB)
อย่าลืมว่าในการวัดระยะหรือขนาดทุกชนิดจำเป็นต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการวัด การเตรียมชิ้นงาน และการผลิต
ผู้เขียน PAEMY LITTLE
เคล็ดลับ วิธีการดูแลรักษาตลับเมตร ( Steel Tape )
—
บริการสอบเทียบด้านมิติ ดูสินค้าด้าน Dimension