สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านนะคะ ทุกท่านคงทราบดีว่าในปัจจุบันนั้นการตัดแต่งและการขึ้นรูปชิ้นงานถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่จะใช้ในการขึ้นรูปจึงถือว่าสำคัญไม่แพ้กันนะคะ และที่สำคัญคือทุกเครื่องมือวัดหรือเครื่องจักรนั้นจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือ อยู่เสมอแล้วเครื่องจักรแบบไหนกันที่มักนิยมนำมาใช้เพื่อขึ้นรูปชิ้นงานด้วยความรวดเร็ววันนี้เรามีคำตอบมาให้ลองไปศึกษาดูกันเลยค่ะ
เครื่อง CNC (Computer Numerical Control)
คือ เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้หลายภาษา สามารถทำงานได้โดยการป้อนคำสั่งผ่านระบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวเครื่องก็จะทำงานตามแบบที่เราใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไป โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องจักรประเภทนี้จะเหมาะกับงานที่เป็นโลหะที่ต้องการความละเอียด, แม่นยำ และมีความซับซ้อนสูง เช่น งานกลึง หรือ งานมิลลิ่ง ต่างๆ เครื่อง CNC สามารถทำงานในรูปแบบที่มีความยากได้ดีกว่าเครื่องกลึงแบบ manual ที่ยังต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องเป็นผู้ทำ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเพราะผู้ชำนาญในงานกลึง, งานมิลลิ่ง (Milling) มีจำนวนไม่มาก อีกทั้งค่าแรงก็สูง ประกอบกับความต้องการที่จะผลิตชิ้นงานให้ได้จำนวนมากๆและรวดเร็ว
ประเภทของเครื่อง CNC ที่นิยมใช้ทั่วไป
จะมี 2 ประเภทหลักดังนี้คือ
-
เครื่อง CNC สำหรับงานมิลลิ่ง (CNC Milling Machine)
เครื่อง CNC ประเภทนี้จะประกอบด้วย 3 แกนหลักๆหรืออาจจะมีแกนอื่นๆเพิ่มได้ตามความต้องการและความยากง่ายของงาน ซึ่งแต่ละแกนจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ เช่น
- แกน X ทำหน้าที่ขยับโต๊ะงานไปทางซ้ายหรือขวา
- แกน Y ทำหน้าที่ขยับโต๊ะงานไปทางด้านหน้าหรือด้านหลัง
- แกน Z ทำหน้าที่เคลื่อนหัวจับดอกกัดไปด้านบนหรือด้านล่าง
เครื่อง CNC จะทำงานโดยการเปิดให้หัวจับดอกสว่านหมุนตามความเร็วรอบที่ผู้ใช้สั่งในระบบควบคุม จากนั้นจึงเคลื่อนที่แกนต่างๆไปยังตำแหน่งที่ต้องการกัดของชิ้นงาน เครื่อง CNC จะเคลื่อนแกนต่างๆและกัดงานตามแบบที่ผู้ใช้งานเขียนขึ้นจนครบ
-
เครื่อง CNC สำหรับงานกลึง
เครื่อง CNC สำหรับงานกลึงจะประกอบไปด้วย 2 แกนหลัก ซึ่งจะมีการเดินเพียง 2 ทิศทาง แบ่งเป็น
- แกน X สำหรับแกนสั้น
- แกน Z สำหรับแกนยาว
เครื่องกลึง CNC นั้นจะทำงานโดยการสั่งการผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ CNC controller สำหรับควบคุมเครื่อง CNC และมีมอเตอร์สำหรับหมุนชิ้นงานบนหัวกลึงและใช้มีดกลึงเคลื่อนที่ตามแบบงานของผู้ใช้ หากเป็นเครื่องกลึง CNC ที่มีขนาดใหญ่อาจจะมีระบบเปลี่ยนมีดอัตโนมัติร่วมด้วยเพื่อการกลึงงานที่หลากหลายมากขึ้น
แต่ในการใช้งานจริงๆแล้วนั้นเจ้าเครื่อง CNC นั้นสามารถนำไปใช้กับงานได้อีกหลากหลายประเภทมากกว่านี้อีกคะ เพราะชื่อที่เรียกกันว่า เครื่อง CNC คือ เป็นระบบควบคุมที่ใช้ตัวเลขในการควบคุม ดังนั้นจึงสามารถนำระบบ CNC นี้ไปใช้กับงานใดๆ ก็ได้ที่จำเป็นต้องใช้มอเตอร์ หรือมีตำแหน่งในการควบคุม หรือมีความเร็วในการควบคุม ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่อง CNC สำหรับงานกลึงหรือมิลลิ่ง (Milling) เท่านั้นค่ะ
เครื่อง Computer Numerical Control นิยมใช้กับงานใดได้บ้าง
- งานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโลหะ เช่นเฟอร์นิเจอร์
- งานสร้างแม่แบบชิ้นงานสำหรับการหล่อต่างๆ (Mold)
- งานในอุตสาหกรรมยานยนต์การสร้างอะไหล่รถยนต์
- งานสร้างชิ้นงานตามสั่งลูกค้า (Made to order)
- งานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร
- งานผลิตอัญมณี
- งานหล่อพระ, พระพิมพ์ หรืองานประติมากรรมต่าง ๆ
ข้อดีของการใช้เครื่อง CNC
- ได้งานที่มีความละเอียดและมีประสิทธิภาพ
- งานที่ผลิตออกมาได้มาตรฐานและคุณภาพ ชิ้นงานที่ผลิตออกมาเท่ากันเสมอ
- สามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้อย่างรวดเร็ว
- ทำงานได้ดีแม้ว่าชิ้นงานจะมีความยากและซับซ้อนสูง
- ช่วยลดเวลาการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานลง และลดแรงงานในการผลิต
ข้อเสียของการใช้เครื่อง Computer Numerical Control
- เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนในการออกแบบและการผลิต ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้เครื่อง CNC มีราคาสูง อีกทั้งยังต้องมีค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี
- ต้องใช้งานเครื่อง CNC เป็นประจำ เพราะถ้าใช้น้อยก็จะทำให้เครื่องCNCเสื่อมสภาพได้
- เหมาะกับการผลิตงานจำนวนมากๆ หากผลิตน้อยชิ้นจะไม่คุ้ม
- ค่าซ่อมเครื่องมีราคาสูงมากและต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น
- มีระบบควบคุมเป็นภาษาอังกฤษ ผู้ใช้และผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาเป็นอย่างดี
เห็นไหมคะว่าเจ้าเครื่อง CNC มีความสำคัญเพียงใด ทั้งนี้หากลูกค้าที่มีการใช้งานเครื่อง CNC อยู่แล้วและสนใจที่จะ สอบเทียบเครื่องมือวัด กับทาง บริษัท แคลิเบรชั่นแลบอราทอรี จำกัด ของเราก็มีให้ บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เครื่อง CNC โดยใช้ Standard เป็น Laser Interferometer (LSI) สอบเทียบแบบ Comparison ให้เครื่องมือลูกค้าได้ทุกแกนครอบคลุมตั้งแต่ระยะ 0 – 2000 mm โดยได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 ทั้ง สมอ. และ ANAB อีกด้วยนะคะ ซึ่งสามารถสอบเทียบสูงสุดได้ถึง 15000 mm หากลูกค้าท่านไหนสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทางการติดต่อเลยนะคะ
ผู้เขียน Katai
—