Anemometer (เครื่องวัดความเร็วลม) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดความเร็วลม ซึ่งตรวจสอบปริมาณการไหลของอากาศโดยมีหน่วยความเร็วเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) หรือ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/hr)
เครื่องวัดความเร็วลม ที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น
- เครื่องวัดความเร็วลมแบบใบพัด (Windmill Anemometer) การใช้งานจะต้องวางในที่ทิศทางลมจะพัดผ่านใบพัด เมื่อลมหมุนใบพัด รอบการหมุนของใบพัดจะถูกคำนวณเป็นค่าความเร็วลมออกมา
- เครื่องวัดความเร็วลมแบบเทอร์โมอิเล็กทริค (Hot Wire Anemometer) ใช้เส้นลวดเล็กๆ ซึ่งถูกทำให้อุณหภูมิสูงกว่าอากาศโดยรอบ เมื่อลมพัดทำให้เส้นลวดเย็นลง ความเร็วลมนั้นมีผลกระทบต่ออัตราที่ลวดสูญเสียความร้อน โดยความเร็วลมจะถูกคำนวณจากกระแสไฟฟ้าที่จำเป็นในการรักษาอุณหูมิลวดให้คงที่
- เครื่องวัดความเร็วลมแบบถ้วย (Cup Anemometer) เป็นเครื่องวัดความเร็วลมแบบแรกที่ถูกนำมาใช้งาน ประกอบด้วยเสาและแขน 3-4 แขนติดอยู่กับปลายเสา เมื่อลมพัดผ่านจะทำให้แขนทั้งหมดหมุนรอบเสา เสาหรือเพลาจะเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วลม ซึ่งสามารถคำนวณกลับมาเป็นค่าความเร็วลมได้
- เครื่องวัดความเร็วลมแบบอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Anemometer) ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการวัดความเร็วลม
ทำไมถึงต้องสอบเทียบเครื่องวัดความเร็วลม ???
ความเร็วลมมีผลต่อชิ้นงานและสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน เราจึงจำเป็นที่ต้องส่งเครื่องมือวัดเข้ามาสอบเทียบ เพื่อดูว่าเครื่องมือวัดความเร็วลมยังแสดงค่าที่ตรงอยู่ และวัดค่าได้แม่นยำ
การใช้งาน เครื่องวัดความเร็วลม เบื้องต้น
- กดปุ่มเปิดเครื่องมือวัด
- อ่านค่าที่หน้าจอ สามารถอ่านค่าความเร็วได้ทันทีที่หน้าจอแสดงผล
- สามารถเปลี่ยนหน่วยการวัดได้ โดยเลือกจากปุ่ม Unit
- กดปุ่มฟังก์ชั่น ในการเลือกหรือต้องการวัดค่าอื่น ตามสเปคของเครื่องมือแต่ละรุ่น
- เมื่อใช้งานเสร็จต้องปิดเครื่องมือวัดทุกครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้งาน เครื่องมือวัด : ต้องเก็บเครื่องมือวัดใส่กล่องทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ เพราะ Probe หรือใบพัด ค่อนข้างที่จะบอบบาง แตกหักง่าย และควรหมั่นทำความสะอาดใบพัดบ่อยๆให้ใบพัดสะอาด ปราศจากฝุ่น เพื่อที่จะได้ค่าที่แม่นยำ
CLC ให้บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ความเร็วลมโดย
Calibration Laboratory (CLC) ได้รับการรับรอง ISO 17025 ในเครื่องมือวัดความเร็วลมนี้ด้วย ตาม Scope Lab
Accredit 17025 ANAB ที่ Range 0-45 m/s
โดยทาง Calibration Laboratory (CLC) สอบเทียบเครื่องมือวัดความเร็วลม ด้วยวิธีการ Comparison with Known Velocity โดย วิธีการสอบเทียบเบื้องต้น เราติดตั้งเครื่องมือวัดกับแกนยึด และให้เครื่องมือ Standard (STD) กำเนิดแรงลมตามจุดสอบเทียบที่ต้องการจะวัด อ่านค่าเปรียบเทียบผลที่หน้าจอเครื่องมือลูกค้า (DUC) กับเครื่องมือStandard (STD)
เครื่องมือ Standard ที่ทาง CLC ใช้ สอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibrate) มีค่าความแม่นยำสูง ทำให้ค่า Uncertainty ที่ออกมานั้นไม่สูงมากซึ่ง CMC อยู่ที่ 1.2 % of reading และเรายังเป็น Lab ที่ได้รับการรับรองในเครื่องมือวัดความเร็วลม โดย Range ที่ CLC ได้รับการรับรองนั้นอยู่ที่ 0-45 m/s ซึ่งครอบคลุมการใช้งานในทุกภาคอุตสาหกรรม
วิธีการดูแลรักษา เครื่องมือวัดความเร็วลม ก่อนใช้งานและหลังการใช้งาน
- อย่าให้หัว Sensor รับการกระแทก เพราะอาจจะแตก หัก เสียหายได้
- ทำความสะอาด Sensor ให้สะอาดอยู่เสมอห้ามให้มีฝุ่นเกาะ เพราะจะมีผลต่อค่าที่วัดได้
- เก็บเข้ากล่องทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ
- ปิดทุกครั้งเมื่อไม่มีการใช้งาน
- หลีกเลี่ยงการเก็บในที่ที่มีฝุ่นมาก
ผู้เขียน JIB VIP
การสอบเทียบ Flow นอกสถานที่? การทำงานพร้อมการสอบเทียบ
—