ประเภท ความแตกต่างกันและข้อดีข้อเสียของเครื่องเชื่อม(Weld Machine) แต่ละประเภท

เครื่องเชื่อม_Weld-Machine_สอบเทียบ-Calibration-Lab_04

Weld Machine หรือ เครื่องเชื่อม ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ระดับอู่ซ่อมรถ, สถานที่ก่อสร้าง, ไปจนถึงระดับภาคอุตสาหกรรม และมีให้เลือกมากมายหลายแบบตามแต่ความเหมาะสมของหน้างาน และทุนในกระเป๋าที่สามารถจะควักจ่ายได้ และระยะหลังๆก็มีเครื่องเชื่อมจากประเทศจีนเข้ามาจำหน่าย มีทั้งคุณภาพดีและไม่ดีปะปนกันไป แต่ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไปที่ไม่ได้ใช้งานหนักมากนัก ก่อนซื้อก็ควรหาข้อมูลและสเปคต่างๆจากผู้ผลิตให้ดี เพื่อจะได้เครื่องเชื่อมที่ตรงความต้องการมากที่สุด เรามาดูกันครับว่า Weld Machine (เครื่องเชื่อม) ที่นิยมใช้งานกันในภาคอุตสาหกรรมมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร

ประเภทและความแตกต่างกันของเครื่องเชื่อม(Weld Machine)

1. ตู้เชื่อมอาร์กอน เครื่องเชื่อมลักษณะนี้ก็แบ่งแยกย่อยไปได้อีก2-3 แบบ มีทั้งเครื่องเชื่อมแบบอาร์กอนอย่างเดียว, แบบอาร์กอนและเชื่อมเหล็กทั่วไป (เชื่อมธูป), แบบอาร์กอน เชื่อมธูปและเชื่อมอลูมิเนียม ดังตัวอย่างรูปที่ 1

 

รูปที่ 1

2. ตู้เชื่อมมิก (MIG) Metal Inert Gas หรือที่คนทั่วไปเรียก ตู้เชื่อมคาร์บอน(CO2) การเครื่องเชื่อมลักษณะนี้อาจจะต้องใช้แก๊สผสมคาร์บอนด้วย ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เพราะการเชื่อมแบบนี้จะสามารถเชื่อมชิ้นงานที่มีความบางได้ดีกว่าเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้กับธูปเชื่อม ดังตัวอย่างรูปที่ 2

รูปที่ 2

 

ข้อดีและข้อเสียของตู้เชื่อมแบบมิก (MIG)

  • ข้อดีของตู้เชื่อมแบบมิก (MIG) คือ สามารถเชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ทองแดง และการเชื่อมแบบมิก(MIG) จะสามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าแบบเชื่อมไฟฟ้าด้วยธูปเชื่อม ทำให้ประหยัดเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนลวดเชื่อม เพราะสามารถเดินแนวเชื่อมได้ยาวและต่อเนื่องกว่าการเชื่อมไฟฟ้าด้วยธูปเชื่อม
  • ข้อเสีย คือ ราคาค่อนข้างสูง, ใช้อุปกรณ์มากกว่า ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหน้างานไม่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อย ตู้เชื่อมแบบมิก(MIG) ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะจะได้คุณภาพของการเชื่อมที่ดีและที่สำคัญประหยัดเวลากว่า

3. เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA เป็นกระบวนการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ (MMA : Manual Metal Arc Welding) คือ การต่อโลหะให้ติดกันโดยวิธีให้ความร้อนอุณหภูมิสูง อุณหภูมิที่เกิดขึ้นที่บริเวณปลายลวดเชื่อมอยู่ที่ประมาณ 5000-6000 C การเชื่อมลักษณะนี้เป็นการเติมโลหะลงในแนวเชื่อม และเป็นการทำให้ฟลักซ์ที่หุ้มลวดเชื่อมได้รับความร้อนและหลอมละลายปกคลุมตลอดแนวเชื่อมเอาไว้ ไม่ไห้อากาศเข้าไปในแนวเชื่อม ทำให้ช่วยชะลอการเย็นตัวของแนวเชื่อม เพื่อให้แนวเชื่อมประสานกับโลหะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตัวอย่างรูปที่ 3

รูปที่ 3

 

ข้อดีและข้อเสียของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA

ข้อดี

  • ให้ชิ้นงานคุณภาพสูง (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้งาน)
  • ไม่ยุ่งยาก
  • ลดเสียงขณะปฎิบัติงาน
  • เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำ

ข้อเสีย

  • ต้องตรวจสอบแนวเชื่อมทุกขั้นตอน
  •  เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA อาจทำให้คุณสมบัติของโลหะบางชนิดเปลี่ยนแปลง
  •  อาจเกิดการบิดตัวหรือหดตัวของชิ้นงาน (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ใช้งาน)

การดูแลรักษา Weld Machine (เครื่องเชื่อม)

  •  ก่อนและหลังใช้งาน ผู้ใช้งานควรตรวจสอบชิ้นส่วน รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องเชื่อม ให้อยู่ในสภาพที่ดี พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นปลั๊กไฟ, สายไฟ, ฉนวนต่างๆ หรือแม้กระทั่งธูปเชื่อม, ลวดเชื่อม, แว่นนิรภัย, หน้ากากเชื่อม และถุงมือป้องกันความร้อนและอื่นๆ
  • ไม่ควรเก็บไว้ในบริเวณใกล้กับแหล่งความร้อนสูงๆ หรือ บริเวณที่มีความชื้นและน้ำ ที่สำคัญที่สุดไม่ควรแก้ไข/ดัดแปลง ถ้าต้องการซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องเชื่อม ควรกระทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญเพื่อความถูกต้องและปลอดภัย
  • นำเครื่องเชื่อม เข้ารับการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ แคลิเบรท (Calibrate) กับห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือ ตามความถี่ของการใช้งาน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับประเภทของเครื่องเชื่อม รวมทั้งข้อดี-ข้อเสีย ของเครื่องแต่ละประเภท ที่ได้นำมาพูดคุยกันในครั้งนี้ จริงๆแล้ว ยังมีแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกมากมาย แต่ที่ผู้เขียนได้หยิบยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขปแค่ 3 ประเภทนี้ เพราะตามภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ รวมถึงหน้างานก่อสร้างก็ตาม จะนิยมใช้กันอยู่ 3 ประเภทนี้เป็นหลัก

สำหรับ บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) ของเราก็มีบริการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ แคลิเบรท (Calibrate) ในรูปแบบ Accredit ตามมาตรฐาน ISO/IEC  17025 (ANAB)  เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเครื่องเชื่อมของท่านมีประสิทธิภาพที่ดี ควรหมั่นสอบเทียบอย่างน้อย 1 ปี/ครั้ง หรือ ตามความถี่ของการใช้งานเป็นหลัก

หากผู้อ่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานและการสอบเทียบเครื่องเชื่อมสามารถติดต่อเข้ามาปรึกษากับทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) ได้เลยนะครับ เรามีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญเรื่องการสอบเทียบเครื่องมือวัด คอยให้คำแนะนำ..และที่สำคัญ ปรึกษาฟรีอีกเช่นเคยครับท่าน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่กับบทความเรื่องต่อๆไปครับกระผม…ขอบคุณที่อ่านจนจบ^^…

 

 

 

CHOK_AM

สอบเทียบเครื่องมือ Electrical

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา