ทำความรู้จักกับฟังก์ชันหลักของ MULTIMETER

MULTIMETER (มัลติมิเตอร์) คือ เครื่องมือวัด อิเล็กทรอนิกส์อเนกประสงค์ที่รวมฟังก์ชันการวัดหลายอย่างไว้ในหน่วยเดียว สามารถวัดคุณสมบัติทางไฟฟ้าต่างๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า (โวลต์มิเตอร์), กระแสไฟฟ้า (แอมมิเตอร์) และความต้านทาน (โอห์มมิเตอร์)
ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ สามารถเลือกใช้งานได้อยู่ 2 แบบ คือ

  • DIGITAL MULTIMETER แบบ ย่านวัดอัตโนมัติ

จะมีปริมาณไฟฟ้าแต่ละชนิดที่จะทำการวัด มีย่านในการตั้งวัดเพียงย่านเดียวสามารถใช้วัดปริมาณไฟฟ้าตั้งแต่ค่าต่ำๆไปจนถึงค่าที่มันสูงสุดที่เครื่องมือสามารถแสดงค่าออกมาได้

  • DIGITAL MULTIMETER แบบ ย่านวัดปรับด้วยมือ

จะแตกต่างจากย่านวัดแบบอัตโนมัติเพราะผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนปรับเลือกย่านในการวัดให้เหมาะสมกับค่าปริมาณไฟฟ้าในจุดนั้นๆถ้าเราเลือกและปรับไม่ถูกต้อง ตัวมัลติมิเตอร์จะไม่สามารถอ่านค่าที่วัดออกมาได้ ตัวมัลติมิเตอร์แบบย่านปรับด้วยมือจะใช้งานในรูปแบบคล้ายๆ Analog

MULTIMETER,ย่านวัดปรับด้วยมือ, ย่านวัดอัตโนมัติ, DIGITAL MULTIMETER

MULTIMETER สามารถนำมาใช้วัดอะไรได้บ้างในเบื้องต้น

  • วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
  • วัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
  • วัดความต้านทาน

มาทำความรู้จักอักษรที่ใช้งานบ่อยๆบนตัว มัลติมิเตอร์

  • Ω จะอ่านค่าความต้านทาน
  • VDC จะอ่านค่าโวลต์ไฟฟ้ากระแสตรง
  • VAC จะอ่านค่าโวลต์ไฟฟ้ากระแสสลับ
  • ขั้วต่อ Output จะเอาไว้ใช้วัดสัญญาณ Output
  • ขั้วต่อ – (ลบ) COM MEASURING TERMINAI-COM ใช้ต่อกับสาย PROBE สีดำ
  • ขั้วต่อ + (บวก) MEASURING TERMINAI ใช้ต่อกับสาย PROBE สีแดง

ในการใช้งานของตัวมัลติมิเตอร์จะมีสาย PROBE ใช้งานร่วมด้วย ซึ่งสาย PROBE นั้นจะมีลักษณะเป็นสายไฟ ดำ ,แดง เอาไว้ใช้วัดกระแสไฟสาย PROBE สีดำจะเป็นวัดขั้วลบ สาย PROBE สีแดงจะเป็นวัดขั้วบวกในส่วนของตัวเครื่องมือวัดหลักๆจะมีฟังก์ชัน Amp และ Ohm อยู่ในตัวเครื่อง

สาย Probe, MULTIMETER

Amp Meter แอมป์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัด ที่ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่สามารถวัดได้นั้นจะมี 2 แบบ คือ กระแส AC และกระแส DC มีหน่วยในการวัดออกมาเป็นแอมป์ (A)

Ohm Meter โอห์มมิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดในส่วนของความต้านทานค่า  Ω

ข้อควรระวังในการใช้ มัลติมิเตอร์

  1. ก่อนการใช้งานควรศึกษาดูคู่มือในการใช้งานให้ดีก่อนจะได้ใช้งานไม่ผิดประเภท
  2. ควรนำไปใช้งานให้เหมาะสม ไม่ควรนำไปใช้งานเกินความสามารถของตัวเครื่องมือ
  3. เสียบสาย PROBE ให้ถูกต้อง ขั้วบวก ,ขั้วลบ ไม่ควรเสียบสลับกัน
  4. ต้องเอาสายวัดออกจากวงจรทดสอบก่อนที่จะปรับเปลี่ยนพิสัยการวัด
  5. ควรหาข้อมูลก่อนที่จะทำการวัดค่า ว่าจุดที่จะวัดมีไฟกี่โวลต์เพราะจะได้เลือกย่านในวัดใช้งานได้เหมาะสม
  6. กรณีต่อสายวัดผิดขั้วตัวมัลติมิเตอร์จะแจ้งให้ทราบว่าเรากำลังต่อผิดขั้วอยู่ ให้ทำการสลับสายวัดให้ถูกต้อง
  7. อย่าปรับโหมดฟังก์ชั่นการวัดขณะทำการวัด ห้ามปรับไปที่ย่านวัดอื่นๆเด็ดขาด ( มัลติมิเตอร์จะพัง) ถ้าจำเป็นจะต้องเปลี่ยนโหมดฟังก์ชันในการวัดต้องถอดสายวัดออกจากจุดวัดก่อนทุกครั้ง
  8. หากค่าที่อ่านได้อ่านเกินสเกลจะต้องรีบเอาสาย PROBE ออกจากตัวมัลติมิเตอร์ทันที
  9. ถ้าไม่ได้ใช้งานตัวมัลติมิเตอร์ บ่อยๆ ควรเอาถ่าน หรือ แบตเตอรี่ออกด้วยทุกครั้ง
  10. ควรสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อความเที่ยงตรงแม่นยำของการใช้งาน

ผู้เขียน Gaem Yui

 

 

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด