ตู้บ่มเชื้อ – สิ่งที่อาจมีผลต่อการใช้งานพร้อมทั้งวิธีการ สอบเทียบ เครื่องมือวัด ประเภทตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ (Incubator) เบื้องต้น วันนี้ Super Cal กันครับ
Incubator (ตู้บ่มเชื้อ ตู้บ่มเพาะเชื้อ)
ตู้บ่มเชื้อ MEMMERT IF30 ความจุ 32 ลิตร
ตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ (Incubator) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบ่มเพาะเชื้อ เลี้ยงเชื้อ หรือการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำ เหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านชีววิทยาและจุลชีววิทยาและสำหรับการควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานอาหาร โรงงานยา
คุณสมบัติของตัวตู้บ่มเชื้อจะมีแผงควบคุมการทำงานและแสดงอุณหภูมิอยู่ด้านหน้าของเครื่อง ส่วนใหญ่มีประตูชั้นในทำด้วยวัสดุใส สามารถมองเห็นภายในตู้ได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเปิดตู้ จึงไม่ทำให้อุณหภูมิภายในตู้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยวัดในการใช้งานของตู้บ่มเชื้อส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน่วย องศาเซลเซียส (ºC) ขีดความสามารถในการใช้งานอยู่ประมาณ 100 องศาเซลเซียส (ºC) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ทางผู้ผลิตทำการผลิตออกมาจำหน่าย มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ แบบ Pt100 ทำให้วัดค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การควบคุมอุณหภูมิส่วนใหญ่เป็นแบบดิจิตอล สามารถปรับอุณหภูมิได้ที่หน้าจอภายนอกตัวเครื่อง ตู้บ่มเชื้อส่วนใหญ่สามารถตั้งเวลาการทำงานได้ตั้งแต่ 1 นาที ถึง 99 วัน และมีพัดลมสำหรับหมุนเวียนอากาศภายใน จึงทำให้อุณหภูมิภายในตู้มีความสม่ำเสมอทั่วทั้งตู้
และหากเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆที่ผลิตออกมาจะมีระบบป้องกันเมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าที่ตั้งค่าไว้ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดอันตรายหรือตัวอย่างเกิดความเสียหาย อีกทั้งภายในตู้ที่ทำจากแสตนเลส (Stainless Steel) จึงทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย
ทำไมต้องสอบเทียบตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ
1. การสอบเทียบเครื่องมือ Incubator ทำให้เราทราบค่าความคลาดเคลื่อน (Error) ของเครื่องมือที่ใช้งาน
2. เพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องมือวัดนั้น มีความถูกต้องตามที่มาตรฐานกำหนด (Spec)
3. เพื่อให้ผลการวิเคราะห์จากกระบวนการต่างๆไม่คลาดเคลื่อน มีความน่าเชื่อถือ
การใช้งานตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ (Incubator)ที่ถูกวิธี
ผู้ใช้งานควรอ่านคู่มือให้เข้าใจทั้งหมดก่อนการใช้งานเครื่องมือวัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือ หรือ เกิดอันตรายกับตัวผู้ใช้งานเอง และหากต้องการทำสิ่งเหล่านี้ควรถอดปลั๊กไฟก่อนเสมอ
- เมื่อต้องทำการเปลี่ยนฟิวส์
- เมื่อ Incubator ทำงานผิดปกติหรือขณะทำการซ่อม
- เมื่อไม่ได้มีการใช้งานเครื่องมือวัด เป็นระยะเวลานาน
- เมื่อต้องทำการเคลื่อนย้ายตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ
คุณรู้หรือไม่??
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้งานควรต้องรู้เพราะอาจจะมีผลต่อการใช้เครื่องมือวัดหรือประสิทธิภาพของเครื่องมือวัดในระยะยาว คือ
1. ในกรณีเคลื่อนย้ายตู้บ่มเชื้อต้องไม่ให้เครื่องเอียงเกิน 45 องศา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบทำความเย็นของเครื่อง
2. เมื่อเคลื่อนย้ายเครื่องบ่มเชื้อไปในพื้นที่ใช้งานเรียบร้อย ยังไม่ควรใช้งานเครื่องโดยทันที ควรวางเครื่องมือวัดไว้อย่างน้อย 1-2 วัน แล้วค่อยทำการใช้งานเครื่อง เพื่อให้ระบบทำความเย็น ปรับตัวสู่การทำงานปกติ
3. พื้นที่ใช้ติดตั้งหรือวางเครื่องมือวัดควรเป็นพื้นที่แข็งและเรียบ
4. ไม่ควรวางตู้บ่มเชื้อแนบติดกับอุปกรณ์อื่นหรือกำแพง ควรมีที่ว่างหรือระยะห่าง อย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อให้เครื่องได้มีพื้นที่ ในการระบายความร้อน
5. เครื่องมือวัดควรใช้งานในสภาวะแวดล้อม ตามที่กำหนดในคุณสมบัติเครื่องซึ่งทางผู้ผลิตเองจะระบุในคู่มือการใช้งานอยู่แล้ว
6. ไม่ควรเปิด – ปิด เครื่องมืออย่างรุนแรงเพราะอาจจะทำให้ประตูเสียหายได้
ข้อควรระวังในการใช้งานตู้บ่มเชื้อ
ในส่วนของความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้งานจะต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเครื่องมือวัด หรือเกิดการบาดเจ็บกับตัวผู้ใช้เครื่องมือได้
- 1. เครื่องมือวัดต้องมีการต่อลงกราวด์เสมอ
- ก่อนเสียบปลั๊กไฟควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า แรงดันไฟฟ้า ตรงกับคุณสมบัติที่ต้องการของ Incubator หรือไม่
- ไม่ควรถอดปลั๊กไฟฟ้า ขณะที่เครื่องมือวัดยังเปิดใช้งานอยู่
- หากตู้บ่มเชื้อเกิดปัญหาการใช้งาน ไม่ควรซ่อมเครื่องด้วยตัวเอง การซ่อมควรทำโดยผู้ที่มีความรู้และมีความชำนาญเท่านั้น
- เครื่องมือวัดควรใช้งานในสภาวะแวดล้อม ตามที่กำหนดในคุณสมบัติเครื่องซึ่งทางผู้ผลิตเองจะระบุในคู่มือการใช้งานอยู่แล้ว
- ไม่ควรเปิด – ปิด เครื่องมืออย่างรุนแรงเพราะอาจจะทำให้ประตูเสียหายได้
วิธีการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อ (Incubator)
วิธีการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อเบื้องต้นคือ เจ้าหน้าที่สอบเทียบจะนำสาย Sensor Thermocouple Type K หรือ สาย Sensor RTD 4 wire
รูปสาย sensor และตัวอ่านค่า(Indicator) ของบริษัท Calibration Laboratory Co.,Ltd.
ซึ่งได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 จำนวน 9 ตำแหน่ง (ขนาด 1 m3 )จำนวนตำแหน่งการ wire สาย Sensor ขึ้นอยู่กับขนาดตู้บ่มเชื้อ(DUC) และตำแหน่งการติดตั้งตามรูป Figure 1 โดยทำการปิดตู้บ่มเชื้อให้สนิท และตั้งค่าที่ต้องการทำการสอบเทียบ เช่น หากต้องการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส (ºC) ให้ตั้งค่าอุณหภูมิตู้บ่มเชื้อที่ 50 ºC แล้วรอจนกว่าค่าอุณหภูมิตู้บ่มเชื้อจะอยู่ที่ 50 องศาเซลเซียส (ºC) จากนั้นจึงอ่านค่าที่เครื่องมือ Standard (STD) และค่าที่หน้าตู้บ่มเชื้อ(DUC) เปรียบเทียบกัน แล้วบันทึกค่าที่อ่านได้
- จุดสอบเทียบที่ลูกค้าต้องการ
- เกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือ(MPE) (ถ้ามี) เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าทางห้องปฏิบัติการจะเลือกใช้ สาย Sensor ที่ เป็น Thermocouple Type K หรือ RTD 4 wire เนื่องจากมีค่า Uncertainty ที่แตกต่างกัน
- ขนาดของตู้บ่มเชื้อ (กว้างxยาวxสูง)
ลูกค้าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร หากต้องการส่งสอบเทียบ เครื่องมือวัด
- งดการใช้งานเครื่องมือวัดก่อนทำการสอบเทียบ
- นำเชื้อหรือตัวอย่างงานออกจากตู้บ่มเชื้อ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวอย่างงาน และเพื่อให้ได้ผลการสอบเทียบที่ถูกต้องแม่นยำ
การดูแลทำความสะอาดตู้บ่มเชื้อ
- เช็ดทำความสะอาดภายนอกด้วยน้ำสบู่อ่อนๆแล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาด ส่วนภายในทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
- ตรวจสอบขอบยางและรอยต่อต่างๆ เพื่อป้องกันการรั่วซึม หากพบต้องรีบแก้ไข
- เวลาทำความสะอาดห้ามใช้แปรงขัด, กรด, เบนซิน, ทินเนอร์ ตัวทำความสะอาดอื่นหรือน้ำร้อน เนื่องจากอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของพื้นผิวตู้บ่มเชื้อ
- ห้ามใส่สารเคมีที่มีไอระเหยหรือก่อให้เกิดการเผาไหม้ได้ในตู้บ่มเชื้อ เช่น Ethanol, Benzene, Alcohol, Propane หรือสารที่มีความเหนียวหนืด
และอย่าลืมว่าเพื่อการทำงานของตู้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นต้องทำการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อย่างสม่ำเสมอครับ
ผู้เขียน กระต่าย
Oven คืออะไร?? แล้วทำไมเราจึงต้องสอบเทียบ
หลักการทำงานของ Autoclave ประเภทและข้อแนะนำในการใช้งาน
———-
บริการสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น