การทำงาน (Function) ของ RTDs (Resistance temperature detectors)

สาย RTDs Resistance temperature detectors_สอบเทียบเครื่องมือวัด

Resistance thermometers ถูกสร้างขึ้นในหลากหลายรูปแบบซึ่งให้ความเสถียรและความถูกต้องแม่นยำในการวัดที่สูงกว่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิอีกชนิดที่เรียกว่า เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouples) บางตัว เพราะในขณะที่ Thermocouples อาศัยปรากฏการณ์ซีแบ็ค ( Seeback effect ) ในการสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้า Resistance thermometers กลับทำงานโดยอาศัยความต้านทานไฟฟ้าและต้องการแหล่งจ่ายไฟภายนอก ซึ่งค่าความต้านทานจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิเป็นเส้นตรงตามสมการ Callendar-Van Dusen ลวดแพลทินัมที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิจะต้องไม่ปนเปื้อนเพื่อรักษาสภาพความเสถียร และต้องอยู่ในวัสดุที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวคือมีการขยายตัวเมื่อได้รับอุณหภูมิที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้ค่า Differential expansion และความเครียดเกิดขึ้นน้อยที่สุด

สาย RTDs Resistance temperature detectors_สอบเทียบเครื่องมือวัด

นอกจากนี้อาร์ทีดียังสามารถประกอบจากเหล็กหรือทองแดงได้ตามความเหมาะสมของการใช้งานแพลทินัมเกรดอุตสาหกรรมจะมีค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทานไฟฟ้าอยู่ที่ 0.00385 ต่อองศาเซลเซียส (0.385%/องศาเซลเซียส) ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป และมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ที่ 100 โอห์ม ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสตามมาตรฐานที่ BS EN 60751:1996
(ปรับจากมาตรฐาน IEC 60751:1995) สำหรับมาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทานไฟฟ้าอยู่ที่ 0.00392/องศาเซลเซียส

นอกจากนั้นแล้วความต้านทานของลวดตะกั่วที่เชื่อม RTDs นับก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการวัด การเชื่อมต่อโดยการต่อแบบ 3 สาย หรือ 4 สาย แทนการต่อเพียง 2 สาย จะช่วยกำจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากความต้านทานไฟฟ้าที่เป็นผลมาจากกระบวนการวัดอุณหภูมิที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมทั่วโลกมักใช้การเชื่อมต่อแบบ 3 สายเนื่องจากมีประสิทธิภาพเพียงพอและเหมาะสม ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบ 4 สายจะใช้ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำสูงอีกด้วย

บริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรีผู้นำด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมในประเทศไทย
เรามีบริการสอบเทียบแบบครบวงจร
ดูบริการสอบเทียบทั้งหมดของเราได้ที่  Calibration Services