การกำหนดคุณลักษณะของเครื่องแก้วปริมาตร

การกำหนดคุณลักษณะของเครื่องแก้วปริมาตร

1.แบ่งโดยระดับชั้นคุณภาพ

เครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Glassware) สามารถแบ่งได้ตามระดับชั้นคุณภาพ

(Class) ได้ 2 ระดับชั้นคุณภาพตามความแม่นยำ (accuracy) คือ Class A และ Class B ซึ่งจะถูก

กำหนดด้วยค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (Tolerance)

  • Class A : ใช้สัญลักษณ์ A เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นยำสูง มีค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร (Tolerance) ต่ำ เหมาะสำหรับงานทดสอบ งานวิเคราะห์ที่ต้องการความแม่นยำสูง
  • Class B : ใช้สัญลักษณ์ B เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นยำต่ำกว่า Class A มีค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร (Tolerance) เป็น 2 เท่า ของเครื่องแก้ว Class A

ตัวอย่างเครื่องแก้วที่ผลิตตามมาตรฐานจะมีการชี้บ่งที่ตัวของเครื่องแก้ว

คุณลักษณะเครื่องแก้ว

คุณลักษณะเครื่องแก้ว

2.การแบ่งประเภทการใช้งานของเครื่องแก้ว

เครื่องแก้ววัดปริมาตรในห้องปฏิบัติการ จะแบ่งตามวิธีการใช้งาน ได้แก่ เครื่องแก้ววัด

ปริมาตรชนิดการใช้งานสำหรับบรรจุของเหลว (To Contain) และเครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดการใช้

งานสำหรับถ่ายของเหลว (To Deliver)

  • เครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดการใช้งานสำหรับบรรจุของเหลว (To Contain) จะมีอักษรย่อ

TC หรือ In หรือ C ปริมาตรที่ระบุบนเครื่องแก้วจะเป็นปริมาตรน้ำกลั่นที่บรรจุภายในเครื่องแก้วนั้นที่อุณหภูมิอ้างอิง โดยทั่วไปเป็นอุณหภูมิ 20oC เครื่องแก้วชนิดนี้ใช้ในการบรรจุของเหลวที่ต้องการปริมาตรที่ถูกต้อง เช่น การเตรียมสารละลาย การเจือจางสารละลาย และการวัดปริมาตรของเหลวที่บรรจุในเครื่องแก้ว ห้ามนำไปใช้ในการตวงหรือการถ่ายของเหลว เพราะจะทำให้ปริมาตรที่ถ่ายออกมาไม่ครบตามที่ระบุ เนื่องจากมีบางส่วนติดอยู่ภายในภาชนะไม่ว่าจะถ่ายออกด้วยวิธีใด

  • เครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดการใช้งาน สำหรับถ่ายของเหลว (To Deliver) จะมีอักษรย่อ

TD หรือ Ex หรือ D ปริมาตรที่ระบุบนเครื่องแก้วจะเป็นปริมาตรของน้ำกลั่นที่ถ่ายออกจากเครื่องแก้วนั้นที่อุณหภูมิอ้างอิง เครื่องแก้วชนิดนี้สำหรับตวงหรือการถ่ายของเหลว โดยการถ่ายจะต้องปฏิบัติตามวิธีที่กำหนดในวิธีมาตรฐาน ซึ่งจะได้ปริมาตรที่ระบุ

ตัวอย่าง

คุณลักษณะเครื่องแก้ว

 

 

ผู้เขียน LAB 7