ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (STANDARD WEIGHT)
ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานยา โรงงานอาหาร หรือโรงงานอื่นๆ ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีการใช้งานเครื่องมือวัดต่างๆมากมาย เครื่องชั่งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมามีน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจวัดเครื่องชั่งให้ตรงตามมาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะตรวจสอบว่าเครื่องชั่งที่เราใช้งานกันอยู่ มีค่า error มากหรือน้อยเท่าไรนั้น จะต้องใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (STANDARD WEIGHT) เป็นตัววัดค่าของเครื่องชั่งนั้นๆพร้อมทั้งมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อีกทีนะคะ ดังนั้นวันนี้ เราจะมาดูกันว่าตุ้มน้ำหนักแบบไหน เหมาะกับเครื่องชั่งแบบไหน และจะเลือกใช้ Standard แบบไหน น้ำหนักเท่าไรกันบ้างไปดูกันเลยค่ะ
ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (STANDARD WEIGHT)
ตุ้มน้ำหนัก คือ มวลที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิง วัสดุที่ใช้ผลิตตุ้มน้ำหนักก็มีหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น
เหล็กไร้สนิม (Stainless Steel)ปลอดสารแม่เหล็ก | |
เหล็กหล่อ (Cast Iron) | |
ทองเหลือง (Brass) |
|
อะลูมิเนียม (Aluminum) |
มาตรฐานของตุ้มน้ำหนักที่ใช้โดยทั่วไป
1. OIML International Organization of Legal Metrology ระดับชั้น E1…M3
ใช้กับตุ้มน้ำหนักที่มีพิกัดน้ำหนัก 1 mg ถึง 50 kg
2. ASTM American Society for Testing and materials ระดับชั้น 1…6
ใช้กับตุ้มน้ำหนักที่มีพิกัดน้ำหนัก 1mg ถึง 5,000 kg
3. NBS National Bureau of Standards ระดับชั้น J.. . T
ใช้กับตุ้มน้ำหนักที่มีพิกัดน้ำหนัก 50 mg ถึง 1,000 kg
และในวันนี้เราจะมาพูดถึงการสอบเทียบตามมาตรฐาน OIML ซึ่งเป็นมาตรฐานที่บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเราใช้ในการสอบเทียบและออก Certificate ให้กับลูกค้ากันค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนค่ะว่า Standard Weight ตามมาตรฐาน OIML แบ่งออกเป็นกี่ Class และใช้เกณฑ์การตัดสินอย่างไร
ตามมาตรฐาน OIML R111-1 จะทำการแบ่ง Class ของตุ้มน้ำนักตามค่าความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมรับได้ (Maximum permissible errors: MPE) ของค่าน้ำหนักมวล (Nominal conventional mass values) นอกจากนี้แล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ด้วย ความหนาแน่นของวัสดุ ความต้านทานการกัดกร่อน ความแข็ง ความต้านทานการสึกหรอ ความเปราะ ความเป็นแม่เหล็ก โครงร่างรูปทรง และความเรียบผิว เป็นต้น
ตารางแสดงค่า Maximum permissible error for weights (± mg)
จากตารางเราจะเห็นได้ว่า Standard Weight จะมีขนาดเฉพาะไม่ได้ผลิตขึ้นมาทุกขนาด ยกตัวอย่างเช่นขนาด 3,6,7,9 g จะไม่มีในตาราง เรามาดูการอ่านค่าหรือการกำหนด Class จากตารางกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ตุ้มน้ำหนัก Class F1 ขนาด 1 kg จะมีค่า MPE อยู่ที่ 5 mg ในขณะที่ ตุ้มน้ำหนัก Class F2 ขนาด 1 kg จะมีค่า MPE อยู่ที่ 16 mg
ความสำคัญของตุ้มน้ำหนักแต่ละ Class สามารถจำแนกได้ดังนี้ค่ะ
- Class E1 เป็นตุ้มน้ำหนักที่มีระดับความถูกต้องสูงสุด ใช้สำหรับการตรวจสอบตุ้มน้ำหนักมาตรฐานระดับประเทศ และตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน OIML class E2 (หรือต่ำกว่า) ค่า MPE ที่ 1 kg 5 mg
- Class E2 เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก F1 (หรือต่ำกว่า) และใช้สำหรับตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class I ตามมาตรฐาน OIML ค่า MPE ที่ 1 kg = 6 mg
- Class F1 เหมาะสำหรับการตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก OIML ระดับ F2 (หรือต่ำกว่า) และใช้สำหรับตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class I ตามมาตรฐาน OIML ค่า MPE ที่ 1 kg = 5 mg
- Class F2 เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบตุ้ม OIML M1 หรือต่ำกว่า และใช้ตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class II (เครื่องชั่งสำหรับซื้อขายเชิงพาณิชย์ เช่นเครื่องชั่งทองและอัญมณี) ค่า MPE ที่ 1 kg = 16 mg
- Class M1 เหมาะสำหรับการใช้ตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก OIML M2 หรือต่ำกว่า และตรวจสอบเครื่องชั่ง class II ค่า MPE ที่ 1 kg = 50 mg
- Class M2 เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบตุ้ม OIML M3 และตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class III (เครื่องชั่งทั่วไป หรือสำหรับการชั่งซื้อขายสินค้าที่มีน้ำหนักมาก) ค่า MPE ที่ 1 kg = 160 mg
- Class M3 เหมาะสำหรับการตรวจสอบเครื่องชั่ง class IIII หรือ class III หรือ เครื่องชั่งซึ่งยอมรับความผิดพลาดสูงสุด ที่ 1 kg = 500 mg
ดังนั้นหากลูกค้าต้องการส่ง ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐานสอบเทียบ แต่ไม่รู้จะระบุค่า Error อย่างไร ลูกค้าสามารถระบุตามค่าที่กำหนดในตารางได้เลยค่ะ และหากลูกค้าต้องการนำตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไปใช้ในการเช็คค่าของเครื่องชั่งที่มีการใช้งานอยู่นั้นก่อนการเลือกใช้ตุ้มน้ำหนัก จะต้องคำนึงถึงค่า Maximum permissible error (MPE)ของตุ้มน้ำหนักแต่ละ Class ด้วยนะคะ
สุดท้ายนี้เราจะมาดูกันว่า บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเราสามารถสอบเทียบตุ้มน้ำหนักได้ที่ Class ไหน และมีค่า ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด (CMC) เท่าไรกันบ้างไปดูกันค่ะ
ตุ้มน้ำหนักที่สอบเทียบ โดยได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 จากทั้ง สมอ และ ANAB
รายการสอบเทียบ | ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด | รายการสอบเทียบ | ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด |
---|---|---|---|
Conventional Mass | สมอ | Conventional Mass | ANAB |
CLASS F2 | (CLASS F1,F2,M1,M2,M3) | ||
1 mg | 20 µg | 1 mg | 6 µg |
2 mg | 20 µg | 2 mg | 6 µg |
5 mg | 20 µg | 5 mg | 6 µg |
10 mg | 25 µg | 10 mg | 8 µg |
20 mg | 30 µg | 20 mg | 10 µg |
50 mg | 40 µg | 50 mg | 12 µg |
100 mg | 50 µg | 100 mg | 16 µg |
200 mg | 60 µg | 200 mg | 20 µg |
500 mg | 80 µg | 500 mg | 25 µg |
1 g | 0.10 mg | 1 g | 30 µg |
2 g | 0.12 mg | 2 g | 40 µg |
5 g | 0.16 mg | 5 g | 50 µg |
10 g | 0.20 mg | 10 g | 60 µg |
20 g | 0.25 mg | 20 g | 80 µg |
50 g | 0.30 mg | 50 g | 0.1 mg |
100 g | 0.50 mg | 100 g | 0.16 mg |
200 g | 1.0 mg | 200 g | 0.3 mg |
500 g | 2.5 mg | 500 g | 0.8 mg |
CLASS M1 | 1 Kg | 1.6 mg | |
1 Kg | 16 mg | 2 Kg | 3 mg |
2 Kg | 30 mg | 5 Kg | 8 mg |
5 Kg | 80 mg | 10 Kg | 16 mg |
10 Kg | 0.16 g | 20 Kg | 30 mg |
20 Kg | 0.30 g | ||
Conventional Mass | Conventional Mass | ||
1mg to 100 g | 0.5 mg | 1mg to 100 g | 0.16 mg |
>100 g to 200 g | 1.0 mg | (100 to 200) g | 0.3 mg |
>200 g to 500 g | 2.5 mg | (200 to 500) g | 0.8 mg |
>500 g to 1 kg | 16 mg | (500 to 1000) g | 1.6 mg |
>1 kg to 2 kg | 30 mg | (1000 to 2000) g | 3 mg |
>2 kg to 5 kg | 80 mg | (2 to 5) kg | 8 mg |
>5 kg to 10 kg | 0.16 g | (5 to 10) kg | 16 mg |
>10 kg to 20 kg | 0.30 g | (10 to 20) kg | 30 mg |
ทั้งนี้ทาง บริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเรายังมีตุ้มน้ำหนักขนาดต่างๆจำหน่ายและมีบริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อีกด้วยนะคะ หากลูกค้าท่านใดสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทุกช่องทางการติดต่อเลยนะคะ
ผู้เขียน Katai
Class ของตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน และการดูแลรักษา
—
ซื้อเครื่องชั่ง ราคาพิเศษ คลิก บริการสอบเทียบด้านมวลและเครื่องชั่ง
—