Surface Roughness Tester , Surface Roughness Specimen
1.เครื่อง Surface Roughness Tester
2. แผ่น Surface
Roughness Specimen
ที่มา: https://mitutoyotoolsales.com/wp-content/uploads/2019/11/Surftest-SJ-210-Series-178-Portable-Surface-Roughness-Tester.jpg
Surface Roughness Tester, Roughness Specimen คืออะไร
Surface Roughness Tester คือ เครื่องที่ใช้สำหรับวัดความเรียบพื้นผิวของโลหะ ซึ่งทุกครั้งก่อนใช้งาน ควรต้องใช้แผ่น Surface Roughness Specimen เช็คค่า Roughness เช่น ค่า Ra, Rz , Ry ก่อนที่จะนำไปวัดชิ้นงานหรือลักษณะพื้นผิวโลหะตามที่ต้องการ
Surface Roughness Specimen คือเครื่องมือที่ใช้ในเช็คค่าProbeวัดชิ้นงานของเครื่อง Surface Roughness Tester โดยการเลือกแผ่นของแต่ละค่าให้ตรงตามพื้นผิวของแต่ละพื้นผิวที่ต้องการวัด
โดยนิยามของแต่ละพารามิเตอร์ที่หาได้จากการหาค่าเฉลี่ยจากกราฟความหยาบของแต่ละพื้นผิวมี ดังนี้
Ra คือ ค่าเฉลี่ยของพื้นผิวที่มีความหยาบสูงสุด
Ry คือ ค่าเฉลี่ยของพื้นผิวที่มีความหยาบของพื้นผิวแบบสิบจุด
Rz คือ ค่าเฉลี่ยของพื้นผิวที่มีระยะของช่วงเส้นกราฟไม่สม่ำเสมอ
วิธีการใช้งาน Surface Roughness Tester , Surface Roughness Specimen
Surface Roughness Specimen จะนำไปใช้สำหรับเช็คค่าของเครื่อง Surface Roughness Tester โดยจะแบ่งตามค่าความความราบเรียบและความหยาบของพื้นผิวชิ้นงานใช้คำนิยามค่าความหยาบ คือ Ra ,Rz ,Ry ซึ่งก่อนจะนำเครื่อง Surface Roughness Tester ไปใช้งาน ต้องเช็คค่าความความราบเรียบและความหยาบของพื้นผิวชิ้นงานก่อนว่าจะใช้วัดความหยาบพื้นผิวชิ้นงานแบบไหน แล้วนำไปเช็คค่ากับแผ่น Surface Roughness Specimen ตามลักษณะพื้นผิวชิ้นงานที่เซตไว้กับเครื่อง เพื่อเช็คว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
Standard ที่ใช้ในการสอบเทียบ Surface Roughness Tester , Surface Roughness Specimen
Surface Roughness Tester (DUC) สอบเทียบโดยใช้เครื่อง Surface Roughness Specimen (STD)
Surface Roughness Specimen (DUC) สอบเทียบโดยใช้เครื่อง Contour Measurement (STD)
เครื่อง Contour Measurement ของบริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด
ทางบริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบได้
ในส่วนของเครื่อง Surface Roughness Tester ความราบเรียบและความหยาบของพื้นผิวชิ้นงานขีดความสามารถที่สอบเทียบได้ ได้แก่ค่า Ra ,Rz
ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 โดย ANSI National Accreditation Board (ANAB) โดยอยู่หน้า
Page 26 of 45
Roughness Tester | Roughness
Ra 0.37 μm Ra 0.43 μm Ra 2.99 μm Rz 1.35 μm Rz 2.28 μm Rz 9.20 μm |
0.05 μm 0.04 μm 0.06 μm 0.08 μm 0.2 μm 0.42 μm |
In house method: CLC-CPDA-16 by Roughness Tester |
ในส่วนของ แผ่น Surface Roughness Specimen ความราบเรียบและความหยาบของพื้นผิวชิ้นงานขีดความสามารถที่สอบเทียบได้ ได้แก่พารามิเตอร์ Ra ,Rz ,Ry
ได้รับการรับรอง ISO/IEC17025 โดย ANSI National Accreditation Board (ANAB) โดยอยู่หน้า
Page 25 of 45
Roughness Specimen | Ra Up to 12.7 μm
Rz Up to 50 μm Ry Up to 11.3 μm |
0.05 μm
0.5 μm 0.07 μm |
In house method: CLC-CPDA-12 by Comparison with Surface & Contour Measurement |
การเก็บรักษา Surface Roughness Specimen, Surface Roughness Tester
1.การทำความสะอาด Surface Roughness Specimen เช็คเบื้องต้นว่าบนแผ่นมีรอยเยอะหรือไม่ ถ้าไม่เยอะมากโดยการสังเกตด้วยตาเปล่าให้ทำการเช็ดแบบแห้งโดยการใช้กระดาษทิชชู่ไร้ฝุ่น กรณีที่เช็คแล้วพบว่าเช็ดแบบแห้งไม่ออกอาจจะมีคราบวาสลีนติดอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ เช็ดรูดตามแนวเส้นห้ามเช็ดสวนทางกับแนวเส้นเพราะอาจจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้ ทั้งก่อนและหลังใช้งาน
- ระวังผิวหน้าของ Surface Roughness Specimen อย่าให้มีรอยขีดข่วน หรือขึ้นสนิม
- ระมัดระวังหัว Probe ห้ามโดนกระแทก
- 4. เมื่อใช้งานเสร็จควรทำความสะอาดและเก็บในกล่องทันที
ผู้เขียน Ple