Digital Pressure Gauge เกจวัดความดันดิจิตอล
เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้วัดค่าของ Pressure ที่แสดงค่าของ Pressure ที่วัดได้ออกมาเป็นตัวเลข Digital แตกต่างกับการอ่านค่าจาก เพรสเชอร์เกจ แบบเข็ม โดยที่ Digital Pressure Gauge จะมีข้อแตกต่างจาก Pressure Gauge อยู่หลายประการ จะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
- มีการแสดงค่าของ Pressure เป็นตัวเลข Digital
- การอ่านค่า Pressure ได้จากตัวเลขที่แสดงอยู่ที่หน้าจอแสดงผล สามารถอ่านค่า pressure gauge ได้ง่ายเมื่ออยู่ในระยะสายตาการมองเห็น
- ต้องมีระบบไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่จ่ายพลังงานเพื่อเปิดใช้งาน
Pressure Gauge
- มีการแสดงค่าของ pressure gauge เป็นแบบเข็ม เคลื่อนที่บน Scale หน้าปัด
- ไม่ต้องมีระบบไฟฟ้าเพื่อเปิดใช้งาน
- การอ่านค่าของ Pressure ที่วัดได้จะต้องดูการเคลื่อนที่ของเข็ม ตาม Scale บนหน้าปัด และจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกันในระดับสายตา
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาวิธีการสอบเทียบนั้น จะมีความคล้ายคลึงกับของ Pressure Gauge ทั่วไป ซึ่งมีดังต่อไปนี้
- Max Range ของเครื่องมือ
- Media ที่ใช้สอบเทียบ (Air, Oil, Nitrogen, Water)
- ค่าความถูกต้องแม่นยำในการวัดค่าของเครื่องมือ (Accuracy) หรือ ค่าเกณฑ์การยอมรับที่ลูกค้ากำหนด MPE (Maximin Permisible Error)
ค่า Max Range สามารถดูได้ที่ตัว เครื่องมือวัด โดยจะเป็นรายละเอียดบอกว่าเครื่องมือนั้น มี Max Range อยู่ที่เท่าไร ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างในการสังเกตเบื้องต้น ในส่วนของ Range ที่เครื่องมือตัวดังกล่าวสามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัดได้ จะสามารถดูได้โดยตรงที่ตัวเครื่องมือ อีกวิธีการที่สามารถใช้ดู Range ของเครื่องมือ เกจวัดความดันดิจิตอล คือ การดูจากเอกสารที่มากับเครื่องมือหรือคู่มือของเครื่องมือที่ผู้ผลิตกำหนด โดยส่วนมากแล้วจะอยู่ในส่วนที่เป็น Spec ของเครื่องมือตามรูปตัวอย่าง
แต่ในบางกรณีที่ตัวเครื่องมืออาจไม่มี Range บอกแต่สามารถตรวจสอบได้โดยการทดลองเปิดเครื่องมือตัวดังกล่าวขึ้นมาเพื่อที่จะตรวจสอบ Range ของเครื่องมือได้ ซึ่งในแต่ละเครื่องมือจะมีความแตกต่างกันออกไปตามที่ผู้ผลิตเครื่องมือดังกล่าวเป็นผู้กำหนด จึงต้องศึกษาจากคู่มือถึงการใช้งานในหัวข้อต่างๆก่อนการสอบเทียบ
การกำหนด จุดสอบเทียบเครื่องมือวัด เกจวัดความดันดิจิตอล
การสอบเทียบ สามารถกำหนดได้จาก Max Range ของเครื่องมือและจะมี Point สอบเทียบที่ไม่น้อยไปกว่า 5 Point หรือมากกว่าได้โดยที่รวม Point ที่ศูนย์ (Zero) โดยจะเป็นการกำหนดตามมาตรฐาน DKD-R6-1:Guideline Calibration of Pressure หรือ Class ของ Accuracy เช่น
- เครื่องมือวัด Range 0-40 bar สามารถกำหนดจุดสอบเทียบ ได้ตาม Range ที่เครื่องมือ แต่ไม่สามารถสอบเทียบเกิน Range ของเครื่องมือ เช่น 0,10,20,30,40 bar หรือ 0,5,10,15,20,25,30,35,40 bar แต่สามารถทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด ใน Point ที่ลูกค้าต้องการเป็นพิเศษ โดยสามารถแจ้งกับทางบริษัทได้ โดยทางห้องปฏิบัติการจะสอบเทียบเพิ่มเติมซึ่งจะรวมอยู่ใน Range 0-40 bar
การเลือกใช้ Media ที่ใช้สอบเทียบ
Media ที่ใช้สอบเทียบลูกค้าจะต้องแจ้งตามที่ใช้งานจริง เช่น ลม, ไนโตรเจน, น้ำมัน, น้ำ โดยจะต้องตรวจสอบดูจากคู่มือการใช้งานหรือสามารถสังเกตเบื้องต้นได้ โดยดูที่ตัวเครื่องมือใช้กับ media ชนิดไหนมา ตัวอย่างเช่น ถ้าหากมีคราบน้ำมันที่บริเวณข้อต่อที่ตัวเครื่องมือก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า ตัวเครื่องมือนี้ใช้กับน้ำมันมาก่อน หรือ ถ้าตรงบริเวณข้อต่อไม่มีคราบน้ำมันและแห้ง ก็สามารถสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าเครื่องมือตัวดังกล่าวใช้กับลมได้เช่นกัน การสอบเทียบเครื่องมือวัด ที่เลือก Media ผิดไปจากการใช้งานจริง อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องมือเกจวัดความดันดิจิตอล
Accuracy and MPE
ค่าความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ของตัวเครื่องมือนั้นสามารถดูได้ที่ตัวเครื่องมือวัดหรือดูจากคู่มือที่มาจากผู้ผลิตหรืออีกวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้ดู Accuracy ของเครื่องมือ เกจวัดความดันดิจิตอล ได้ คือ การดูจากเอกสารที่มากับเครื่องมือหรือคู่มือของเครื่องมือที่ผู้ผลิตกำหนด โดยส่วนมากแล้วมักจะอยู่ในส่วนที่เป็น Spec ของเครื่องมือ
ผู้เขียน L1 Pressure
ควรอ่าน!! รู้ครบ จบเรื่องเกจวัดความดัน ที่นี่เท่านั้น
—
บริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ
—