เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมที่ใช้สำหรับการวัดน้ำหนักในโรงงานอุตสาหกรรมมีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย หากเครื่องวัดน้ำหนักเกิดความคลาดเคลื่อนนอกจากทำให้ระบบการผลิตไม่ได้คุณภาพแล้ว อาจทำให้น้ำหนักชิ้นงานผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายได้ การตรวจสอบเครื่องชั่งเพื่อคำนวณค่าความถูกต้องและความคลาดเคลื่อนของชิ้นงานจึงมีความจำเป็นต้องตรวจเช็คเครื่องชั่งให้เป็นมาตรฐาน โดยใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (Standard Weight) เสมอ
Class ของตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (Standard Weight หรือ Mass) จะถูกแบ่งออกเป็นได้เป็นหลายคลาส ซึ่งตุ้มน้ำหนักอาจใช้เพื่อเป็นเกณฑ์การวัดให้เครื่องชั่งยังคงความมาตรฐานอยู่ซึ่งเราควรมีการดูแลรักษาตุ้มน้ำหนักมาตรฐานอยู่อย่างสม่ำเสมอด้วยการจัดเก็บและทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
Standard Weight , Mass (ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน)
Standard Weight , Mass (ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน) คือ มวลที่ใช้ในการอ้างอิงน้ำหนัก โดย Standard Weight จะถูกแบ่งเป็น Class ตามความคลาดเคลื่อนของตุ้มน้ำหนักแต่ละขนาด (Maximum Permissible Error : MPE)ตามข้อกำหนดของ International Organization of Legal Metrology (OIML) ที่ระบุในเอกสาร R111-1 ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานสากลด้านมวลและเครื่องชั่ง ( Mass and Balance)
มาตรฐานของ Standard Weight (ตุ้มน้ำหนัก) ที่ใช้อยู่ทั่วไป
- OIML International Organization of Legal Metrology ระดับชั้น E1…M3 พิกัดน้ำหนัก 1 mg ถึง 50 Kg
- ASTM American Society For Testing and Materials ระดับชั้น 1…6 พิกัดน้ำหนัก 1 mg ถึง 5,000 Kg
- NBS National Bureau of Standards ระดับชั้น J.. . T พิกัดน้ำหนัก 50 มิลลิกรัม ถึง 1,000 กิโลกรัม
Class ของตุ้มน้ำหนัก
Class ของ Standard Weight ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป และขนาดที่ทางบริษัท Calibration Laboratory สอบเทียบได้
- Class F1 1 mg – 20 Kg.
- Class F2 1 mg – 500 g.
- Class M1, M2, M3 1 Kg. – 20 Kg.
วิธีการสังเกตเบื้องต้นว่า Standard Weight เราอยู่ Class ใด สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
1. Standard Weight (ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน) Class F1
ไม่สามารถปรับค่าได้เนื่องจากรูปทรงไม่สามารถหมุนปรับได้ และไม่มีรูสำหรับใส่ตะกั่วเพื่อทำการปรับค่า โดยรูปร่างของ Standard Weight (ตุ้มน้ำหนัก)เป็นไปตามมาตรฐานของ OIML ตัวเลขที่บ่งบอกขนาด Standard Weight ต้องเป็นตัวสกรีนไม่สลักหรือตอก
2. Standard Weight (ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน) Class F2
สามารถปรับค่าได้โดยวิธีการหมุนปรับค่าที่หัวหรือตูด(จะมีน็อตที่เป็นตัวหมุนปรับ)ของตุ้มน้ำหนักโดยการใส่ตะกั่วเข้าเพื่อทำการปรับค่าในกรณีที่น้ำหนักน้อยกว่าค่าที่ต้องการ
3. Standard Weight (ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน) Class M
สามารถปรับค่าได้ โดยตัวตุ้มน้ำหนัก Class นี้จะมีช่องสำหรับใส่ตะกั่วเข้าไปในตัวตุ้มน้ำหนัก เพื่อปรับแก้น้ำหนักกรณีน้ำหนักขาดหรือเกิน บริษัท Calibration Laboratory สามารถทำสีใหม่ให้ได้ด้วย
โดยบริษัท Calibration Laboratory สามารถให้บริการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักได้ทั้ง 3 Class
รูปแบบของ Standard Weight (ตุ้มน้ำหนัก) ตามมาตรฐาน
1. แบบตามมาตรฐาน OIML ไม่สามารถปรับค่าได้
2. แบบมีช่องปรับน้ำหนักได้
3. แบบแผ่นโลหะ
วิธีการดูแลรักษาตุ้มน้ำหนัก Standard Weight
- เก็บตุ้มน้ำหนัก Standard Weight ไว้ในอุณหภูมิตามความเหมาะสมของตุ้มน้ำหนักแต่ละ Class
- ไม่สัมผัส Standard Weight โดยตรง สวมถุงมือหรือใช้คีม ในการสัมผัสหรือหยิบตุ้มน้ำหนัก
- ระมัดระวังการใช้งานของ Standard Weight ไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน
- ทำความสะอาดก่อนและหลังใช้งานทุกครั้งด้วยแอลกอฮอล์
ยกตัวอย่างเช่น
- Standard Weight ขนาด 20 kg ของ Class F1 จะมี MPE (ค่าความคาดเคลื่อนที่ยอมรับได้) ไม่เกิน 100 mg
- Standard Weight ขนาด 20 kg ของ Class F2 จะมี MPE (ค่าความคาดเคลื่อนที่ยอมรับได้) ไม่เกิน 300 mg
โดยการเลือกใช้ Standard Weight (ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน) แต่ละขนาดและแต่ละ Class ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม, ความละเอียดของงาน รวมถึงค่าความคลาดเคลื่อนของ Standard Weight แต่ Class ด้วย
ในสายงานผลิตต่างๆนั้นจำเป็นที่เราต้องใช้ตุ้มน้ำหนักที่มีค่ามาตรฐาน เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการสอบเทียบเครื่องมือวัดจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ผู้เขียน Ple
—
—
บริการสอบเทียบด้านมวลและเครื่องชั่ง
—
VDO l สอบเทียบ”เครื่องชั่ง”เอง ทำได้หรือไม่? มีวิธีอย่างไร
VDO l “เครื่องชั่ง” อยากปรับค่าเอง ทำอย่างไร