Absolute Pressure
สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ เครื่องมือวัด Absolute Pressure และการสอบเทียบเครื่องมือวัดประเภทนี้กันครับ แต่ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับ Absolute Pressure กันก่อนครับ
Absolute Pressure หรือ ความดันสัมบูรณ์ ตามที่ทราบกันมาบ้างแล้วนะครับว่า ความดัน (Pressure) มีอะไรบ้าง เรามาทบทวนปัดฝุ่นความรู้กันสักหน่อยนะครับ ความดัน (Pressure) หลักๆแล้วก็มีด้วยกันอยู่ 4 ประเภทครับ (อาจแบ่งย่อยได้มากกว่านี้) ได้แก่
- ความดันเกจ (Gauge Pressure)
- ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure)
- ความดันดิฟเฟอเรนเชียล (Differential Pressure)
- สุญญากาศ (Vacuum)
แต่ในบทความครั้งนี้ผมจะขอหยิบยกมาพูดคุยกันสักหนึ่งตัว(จริงๆก็บอกตรงหัวเรื่องแล้วแหละ) นั่นก็คือ Absolute Pressure (ความดันสัมบูรณ์) นั่นเอง เพราะเจ้าความดันสัมบูรณ์นี้ บุคคลทั่วไปหลายท่านยังไม่ค่อยเข้าใจมันสักเท่าไหร่ เรามาเรียนรู้ทำความรู้จักไปพร้อมๆกันเลยครับ
Absolute Pressure (ความดันสัมบูรณ์) คือ
ลักษณะการวัดความดันเทียบกับภาวะสุญญากาศ สัญญาลักษณ์ที่ใช้คือ “a” หรือ “abs” เรามักจะเห็นสัญญาลักษณ์ดังกล่าวนี้ต่อท้ายจากหน่วยวัดนั้นๆเช่น Psia, bara, barabs เป็นต้น ส่วนคำว่าความดันสัมบูรณ์นั้นมีค่าเท่ากับ 101.325 kPa @ความดันบรรยากาศ(1 atm) นั่นเองครับ
ความแตกต่างระหว่างความดันแบบต่างๆ ขออธิบายด้วยรูปนี้ครับ (รูปที่ 1)
รูปที่ 1
จากรูปตัวอย่างที่ 1 นี้ พอจะเห็นภาพมั้ยครับว่าความดันสัมบูรณ์ นั้นแตกต่างจาก Pressure แบบอื่นยังไง ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ความดันสัมบูรณ์ นั้น จะวัดค่าตั้งแต่ (Zero Absolute) ไปจนถึงย่านของความดันเกจ หรือ Gauge Pressure ดังตัวอย่างในรูปข้างบน
หลังจากเกริ่นเรื่องความดันสัมบูรณ์ ไปพอสังเขปแล้ว ทีนี้เรามาพูดถึงเรื่องของ เครื่องมือความดันสัมบูรณ์ กันบ้าง ว่ารูปร่างหน้าตาจะหล่อเหลาเอาการมากน้อยแค่ไหน ผมมีตัวอย่างให้ดูนิดหน่อย
(รูปที่ 2)
รูปที่ 2
รูปที่ 3
จากรูปตัวอย่าง (รูปที่ 2 และรูปที่ 3) พอเห็นหน้าตาแล้วจะทราบทันทีเลยนะครับว่าคือ ความดันสัมบูรณ์ จุดสังเกตง่ายๆเลย คือ หน่วยวัด เช่นรูปที่ 2 หน่วย Psia และรูปที่ 3 หน่วย Bara จำที่เคยกล่าวไว้ข้างบนได้มั้ยครับว่า หน่วยของ ความดันสัมบูรณ์ ที่ถูกต้องนั้น จะต้องลงท้ายด้วย “a” หรือ ” abs “ มีทั้ง ความดันสัมบูรณ์ ที่เป็นแบบ Analog และ Digital มีทั้งแบบมาตรฐานใช้งานทั่วไป ไปจนถึงระดับ Test Gauge ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหน้างานที่จะใช้ ว่าต้องการเครื่องมือที่ High Accuracy สูงมากน้อยแค่ไหน เลือกซื้อหาได้ตามกำลังทรัพย์ของท่านได้เลยครับ
การใช้งานและการดูแลรักษาเครื่องมือวัดความดันสัมบูรณ์ที่ถูกต้อง
- ก่อนและหลังใช้งาน ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน
- ควรเลือกใช้อุปกรณ์เสริมหรือข้อต่อเกลียวต่างๆที่ได้มาตรฐาน
- เช็ดทำความสะอาดที่หน้าจอแสดงผลด้วยผ้าสะอาด ก่อนและหลังใช้งาน
- ก่อนใช้งานทุกครั้งต้องตวรจสอบเรื่องความดันที่จะนำไปใช้ว่าอยู่ใน Range ของเครื่องมือหรือไม่
- หมั่นส่งสอบเทียบเป็นประจำกับห้องปฎิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้งาน Absolute Pressure
- ไม่ควรใช้งานเครื่องมือวัดความดันสัมบูรณ์ เกินกว่า Range ของเครื่องมือเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
- ไม่ควรใช้อุปกรณ์เสริมหรือข้อต่อเกลียวต่างๆที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายและอาจเกิดความเสียหายกับเครื่องมือ
- ต้องแน่ใจว่าความดันที่นำไปใช้งานนั้น ถูกประเภทกับเครื่องมือ เช่น Pneumatic (ลม), Hydraulic (น้ำมัน)
- ไม่ควรแก้ไข ดัดแปลงเครื่องมือวัดและอุปกรณ์เสริมด้วยตัวเอง ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญโดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ
- ไม่ควรใช้งานหรือติดตั้งไว้ที่หน้างานที่มีอุณหภูมิสูงมาก เพราะจะทำให้เครื่องมือได้รับความเสียหาย หรือมีอายุการใช้งานสั้นลง
หากท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดข้อสงสัยในส่วนไหนหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม ทางบริษัท Calibration Laboratory Co.,Ltd. หรือ CLC ของเรายินดีให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญและประสบการณ์สูง ที่สำคัญปรึกษาได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายครับ
และทางบริษัท Calibration Laboratory Co.,Ltd. หรือ CLC ของเรา ก็ได้มีบริการสอบเทียบเครื่องมือวัด Absolute Pressure ในรูปแบบ Accredit ISO/IEC 17025:2017 ทั้ง สมอ. และ ANAB โดยRange อยู่ที่ 0 to 206 kpa ทั้งแบบ In-Lab และ Onsite อีกด้วย ลองติดต่อกันเข้ามาได้เลยครับ
หวังว่าบทความเกี่ยวกับ ความดันสัมบูรณ์ ที่ได้นำมาฝากกันในครั้งนี้ จะพอเป็นประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปครับ…ขอบคุณครับ…
CHOK_AM
บริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ
—