มาทำความรู้จัก เครื่องมือวัด ประเภท HYDROMETER กันค่ะ
Hydrometer เป็น เครื่องมือวัด ที่เอาไว้ใช้วัดความถ่วงจำเพาะและความหนาแน่นของของเหลวตามหลักการของการลอยตัว ไฮดรอมิเตอร์ ลักษณะของตัวเครื่องมือนั้นมันจะเป็นหลอดแก้วหลอดทรงผอมยาวและจะมีน้ำหนักด้วยปรอทหรือตะกั่วอยู่ภายใต้หลอดเพื่อให้มันถ่วงสามารถลอยตัวจะมีความถ่วงจำเพาะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของสารต่างๆที่อยู่ในของเหลวนั้นการถ่วงน้ำหนักและภายในหลอดของไฮโดรมิเตอร์จะมีแถบเส้นสเกลตัวเลขไว้สำหรับใช้ในการอ่านค่าความถ่วงจำเพาะ หรือ ความหนาแน่นของของเหลวที่ใช้ในการวัด การทำงานของ ไฮโดรมิเตอร์ โดยทั่วไปนั้นจะเป็นการทำงานแบบแรงลอยตัวขึ้นที่กระทำต่อวัตถุที่จมอยู่ในของเหลวไม่ว่าวัตถุนั้นจะจมทั้งส่วนหรือบางส่วนก็ตาม จะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่วัตถุนั้นแทนที่ และ มีทิศทางขึ้นจากจุดศูนย์กลางของมวลของของเหลวที่ถูกแทนที่นั้นความไม่แน่นอนของการสอบเทียบค่าที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องมือ
Hydrometer ส่วนมากที่พบเจอจะมีอยู่ 2 ประเภท
- แบบวัดความหนาแน่นจะเรียกว่า ไฮดรอมิเตอร์ประเภท DENSITY
- แบบวัดความถ่วงจำเพาะของเหลวจะเรียกว่าไฮดรอมิเตอร์ประเภท SPECIFIC GRAVITY
ไฮดรอมิเตอร์แบบ DENSITY และแบบ SPECIFIC GRAVITY จะคล้ายกันมากแต่ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกัน คือ ประเภท DENSITY
จะมีหน่วยในการวัดเป็น g/ml(กรัมต่อมิลลิลิตร)แบบ SPECIFIC GRAVITY มันจะไม่มีหน่วยในการวัด
วิธีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด Hydrometer ของทาง บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ( CLC )
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC สอบเทียบเครื่องมือวัด ไฮโดรมิเตอร์ โดยใช้วิธีการ COMPARE กับ ไฮดรอมิเตอร์ ที่เป็นตัวมาตรฐานของห้องปฎิบัติการ (STD) กับเครื่องมือของทางลูกค้า (DUC) และ ใช้สารละลายที่เป็นตัวกลางในการ COMPARE ทุกครั้งที่ทำการสอบเทียบปัจจัยที่สำคัญในการสอบเทียบซึ่งมีผลต่อค่าที่สอบเทียบได้ คือ อุณหภูมิ ในขณะที่ทำการสอบเทียบทางห้องปฎิบัติการจะต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้อยู่ที่ 20 ºC
ขอบข่ายในการออก ACCREDITED ของ บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี ( CLC )
สามารถออก ACCREDITED ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025:2017 จาก สมอ. (ประเทศไทย) และ ANAB (ประเทศสหรัฐอเมริกา)
ข้อที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อไฮโดรมิเตอร์มาใช้งาน
- ควรคำนึงถึงความต้องการในการใช้งาน
- ความสามารถในการวัดของตัวเครื่อง
วิธีการดูแลรักษาเครื่องมือไฮโดรมิเตอร์หลังจากใช้งานเสร็จ
ทุกครั้งที่มีการนำ เครื่องมือวัด ตัวไฮโดรมิเตอร์ออกไปใช้งานก่อนเก็บเข้าที่ควรจะเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อยซึ่งควรจะมีน้ำยาทำความสะอาดเครื่องแก้วติดเอาไว้เพราะจะเป็นน้ำยาจำเพาะในการทำความสะอาดตัวเครื่องแก้วในตัวน้ำยาอาจจะมีสารในการดูแลตัวเครื่องแก้วอยู่ในนั้นหลังจากนั้นก็เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ทำไมต้องส่ง เครื่องมือวัด มาสอบเทียบ
การส่งสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อตรวจสอบเช็คค่าเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือที่เราใช้งานอยู่นั้นยังสามารถที่จะใช้งานได้ต่อ สอบเทียบแล้วยังได้ค่าที่มั่นคง แม่นยำ ถูกต้องอยู่ เครื่องมือวัดอุตสหกรรมในโรงงานส่วนมากก็จะมีการส่งตรวจสอบให้มีความถูกต้องตามความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ทางลูกค้าได้กำหนดไว้ (MPE) เพื่อให้ได้มาตรฐาน
ข้อแนะนำจาก บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ( CLC ) เกี่ยวกับ HYDROMETER
บนตัวเครื่องมือวัดไฮโดรมิเตอร์ ไม่ควรติด STICKER หรือ ไม่ควรที่จะสลักอะไรลงไปโดยเด็ดขาด เพราะจะมีผลต่อค่าในการสอบเทียบ และ มีผลต่อการใช้งานด้วยค่ะ
รูปแบบของไฮดรอมิเตอร์
ผู้เขียน Kaem Yui
เครื่องวัดความหวาน (Refractometer) Atago วิธีใช้งานง่ายกว่าที่คิดจริงมั้ย
—