มัลติมิเตอร์(MULTIMETER)
เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า (Electrical) ที่ต้องทำการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่เป็นประจำ สามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeter) และ มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter) โดยที่ ดิจิตอล มัลติมิเตอร์(DIGITAL MULTIMETER) นั้นสามารถวัดค่าแรงดัน (V), วัดกระแส (I), วัดความต้านทาน (Ω) และ สามารถใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) หรือไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ได้
การใช้งานอนาล็อก มัลติมิเตอร์ (Analog Multimeter) และ ดิจิตอล มัลติมิเตอร์(Digital Multimeter)
ซึ่งการใช้งาน MULTIMETER แบบเข็ม (Analog) และ MULTIMETER แบบตัวเลข (Digital)มีความแตกต่างกัน คือ
ปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการวัดไหลเข้าสู่วงจร หากเป็น MULTIMETER เป็นแบบเข็ม (Analog) จะเปลี่ยนปริมาณไฟฟ้าที่วัดเป็นปริมาณทางกลทำให้เข็มที่ยึดติดไว้เคลื่อนที่ไปยังค่าที่วัดได้ ส่วน MULTIMETER แบบตัวเลข (Digital) นั้นจะเปลี่ยนปริมาณทางไฟฟ้าที่ได้รับส่งผ่านไปยังวงจรสัญญาณดิจิตอล และส่งต่อไปยังหน้าจอแสดงผลเป็นตัวเลขให้อ่านค่าคุณสมบัติของ MULTIMETER แบบตัวเลข(Digital) ซึ่งมีความแตกต่างกันกับแบบเข็ม(Analog)
การสอบเทียบ เครื่องมือวัด มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
เครื่องมือวัดทุกรายการที่นำไปใช้ในการทดสอบ ตรวจเช็คค่าต่างๆของอุตสาหกรรมตามบริษัทหรือในงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ควรต้องนำเครื่องมือส่งสอบเทียบกับห้องแล็ปที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 แบบถูกต้องและชัดเจนเพื่อนำผลการสอบเทียบมาเป็นตัวชี้วัดในแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะเมื่อมีการนำเครื่องมือวัดเหล่านี้ไปใช้งานเราจะทราบได้อย่างไรว่าค่าที่เราได้มาคือค่าที่ถูกต้องและแม่นยำ เนื่องจากเครื่องมือวัดสามารถเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ทุกรายการ ถ้าไม่นำเครื่องมือวัดที่เราใช้ส่งเข้ารับบริการดังนั้นการส่งสอบเทียบเครื่องมือวัดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ชิ้นงานที่เราใช้
ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ (DIGITAL MULTIMETER) ในการสอบเทียบและตรวจสอบนั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ 6 FUNCTION ได้แก่
- FUNCTION ACV
- FUNCTION ACI
- FUNCTION DCV
- FUNCTION DCI
- FUNCTION RESISTANCE
- FUNCTION FREQUENCY
การใช้งานที่ผิดวิธีที่ทาง Calibration Laboratory (แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี) มักพบอยู่เสมอ คือเรื่อง ช่วงของการวัดและการใช้งาน โดยที่ CLC แนะนำให้ เลือกใช้มัลติมิเตอร์(MULTIMETER) ที่มีช่วงของค่าปริมาณอยู่ในช่วงที่ต้องการวัดและใช้งานจริงๆ เพราะหากนำ มัลติมิเตอร์ไปวัดในช่วงปริมาณที่มีกระแสไฟฟ้าสูงเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องมือวัดได้
การเสียบ PROBE MULTIMETER นั้นควรหมุน FUNCTION SWITCH ให้ตรงกับค่าที่เราต้องการวัด และควรเสียบ PROBE ให้ถูกช่องของการใช้งาน ซึ่ง PROBE ที่ได้มาตรฐานจะมีความยาวอยู่ที่ 19 มิลลิเมตร มาตรฐานความปลอดภัยของ PROBE จะมีโลหะที่สัมผัสอยู่ที่ 4 มิลลิเมตร(สามารถช่วยป้องกันการเกิดการลัดวงจรได้)
ตารางต่อไปนี้แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ (DIGITAL MULTIMETER) และ อนาล็อกมัลติมิเตอร์ (ANALOG MULTIMETER)
ประเภทของเครื่องมือ |
Digital Multimeter (มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข) |
Analog Multimeter (มัลติมิเตอร์แบบเข็ม) |
ความแม่นยำ |
มีการประมวลผลและอ่านค่าได้แม่นยำ แบบ ไมโครโปรเซสเซอร์ จึงทำให้การอ่านค่าที่ได้ในแต่ละครั้งแม่นยำและนิ่งมากกว่าแบบเข็ม |
หลังจากการใช้งานไปได้สักระยะหนึ่งระบบ ANALOG ภายในตัวเครื่องจะส่งผลให้ความแม่นยำในการอ่านค่าลดน้อยลง |
การอ่านค่า |
สะดวกและง่ายต่อการใช้งานและอ่านค่า |
อาจเกิดการอ่านค่าผิดพลาดได้ง่ายเนื่องจากการนิ่งของเข็มในแต่ละครั้งอาจไม่คงที่ค่าที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ |
การเก็บข้อมูล |
สามารถเก็บข้อมูลผ่านสาย USB และสามารถอ่านค่าจากหน้าจอซอฟแวร์ได้ |
ไม่มีระบบการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติและเก็บ ข้อมูลได้นอกจากอ่านแล้วจดด้วยมือ |
ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี ใช้เครื่องมือ STANDARD ในการสอบเทียบดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (DIGITAL MULTIMETER) โดยใช้เครื่องมือ MULTI PRODUCT CALIBRATOR Brand TRANSMILLE ในการสอบเทียบ ซึ่งขอบข่ายในการออก ACCREDITED ที่ทาง Calibration Laboratory (CLC) สามารถออก ACCREDITED ได้นั้นคือทั้ง ACCREDITED TISI (สมอ.) และ ACCREDITED ANAB โดยในการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในการสอบเทียบอยู่ที่ Temperature : (23 +-2) C Humidity : (55+-15) % RH
การเปลี่ยนแบตของเครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ (MULTIMETER)
- แบตเตอรี่ที่ใช้ในตัวมัลติมิเตอร์ (MULTIMETER) โดยทั่วไปจะเป็นถ่านขนาด AA หรือ AAA ซึ่งเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่แต่ละครั้งมีข้อควรปฏิบัติคือ
- ต้องตั้ง FUNCTION ของตัวเครื่องมือวัดที่ FUNCTION SWITH ไปที่ตำแหน่ง OFF ก่อนเสมอ
- ทำการขันน็อตที่ฝาหลังออกแล้วจึงเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เข้าไป
- ควรวางขั้วของแบตเตอรี่ให้ถูกขั้ว -ไม่ควรนำแบตเตอรี่ใหม่และแบตเตอรี่เก่ามาใช้ร่วมกัน
การดูแลรักษาเครื่องมือวัดมัลติมิเตอร์ (MULTIMETER) หลังจากการใช้งานเสร็จ
- ควรทำการตรวจเช็คสภาพของเครื่องมือว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์และทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้ง
- ถ้าไม่มีการใช้เครื่องมือวัดเป็นระยะเวลานานๆ ควรทำการถอดแบตเตอรี่ของมัลติมิเตอร์ออกเพื่อเป็นการป้องกันสารเคมีจากแบตเตอรี่ ซึ่งอาจทำให้เครื่องมือเกิดความเสียหายได้
- ควรใช้งานหรือเก็บเครื่องมือวัดให้ห่างจากบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก เพราะผลของสนามแม่เหล็กจะทำให้การวัดค่าจากมัลติมิเตอร์นั้นมีความคลาดเคลื่อนได้
- ไม่ควรวางเครื่องมือวัดในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือน เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้อุปกรณ์ภายในของเครื่องมือวัดเกิดความเสียหายได้
- ควรมั่นตรวจสอบเครื่องมือวัดอยู่เสมอว่าค่าที่วัดเริ่มมีความคลาดเคลื่อนหรือไม่ และควรนำไปทำการ สอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibrate) ตามเวลาที่กำหนดไว้หรือตามความเหมาะสมเพื่อให้มั่นใจถึงค่าที่วัดของมัลติมิเตอร์ว่ามีความแม่นยำอยู่เสมอ
ผู้เขียน Gaem Yui