สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ วันนี้เราจะมาพูดถึง TORQUE WRENCH CHECKER กันนะคะ หากพูดถึง TORQUE WRENCH CHECKER บางครั้งเพื่อนๆอาจจะเข้าใจได้หลากหลาย อาจจะหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบ (Calibration) ในห้อง LAB สอบเทียบ หรือ เครื่องมือที่ใช้ทวนสอบค่า TORQUE WRENCH ในห้อง LAB เจ้าหน้าที่ QA, QC ซึ่งมีหลายยี่ห้อ เช่น TONE, TOHNICHI, KANON เป็นต้น
โดย TORQUE WRENCH CHECKER นี้ที่เราจะกล่าวถึง จะเป็นเครื่องมือจาก TONE ประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้สำหรับทวนสอบค่าของ ประแจปอนด์ที่ใช้ทวนสอบค่าก่อนใช้งานและหลังใช้งานที่สามารถใช้เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำงาน ว่าประแจปอนด์หรือ TORQUE WRENCH ที่เราขันใช้งานอยู่ในแต่ละวันมีค่าอยู่ใน Spec ที่ตั้งไว้
รูปที่ 1 Torque Wrench Checker รุ่น TTC-500
วันนี้เราจะมาพูดถึงคือประแจปอนด์ TORQUE WRENCH CHECKER, TTC-SERIES ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-500 g เป็นสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นค่ะ มีช่วงการใช้งานเริ่มที่ 20-500 N.m สามารถขันใช้งานได้ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเท่านั้น (CW) มีค่า Accuracy ± 1%RD ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก ใช้สำหรับทวนสอบค่า Torque Wrench ก่อนใช้งานและหลังใช้งาน ว่าเครื่องมือยังอยู่ใน Spec หรือไม่ ซึ่งหากพบว่าไม่อยู่ใน Spec แล้วนะคะ ควรส่งเข้าสอบเทียบทันที เพื่อปรับค่าให้อยู่ใน Spec หรือส่งซ่อมกับผู้ผลิตค่ะ
ประแจทอร์ค Torque Wrench Checker TTC-Series ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-500 จะเหมาะกับการใช้งานกับ Torque Wrench ที่ใช้แรงไม่เกิน 500 N.m นะคะ ใช้งานได้กับ Torque Wrench แบบ Manual และแบบ Digital ค่ะ ที่มีขนาดแรงบิดปานกลาง อย่างรุ่น TTC-500 นี้ก็จะเช็คได้ในช่วง 20 – 500 N.m เท่านั้น หากแรงบิดมากว่านั้นต้องใช้ในรุ่นที่มีขนาดแรงบิดสูงกว่านี้ค่ะ
สำหรับวิธีการใช้งาน มีขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยากค่ะ การใช้งานจะเหมือนกันกับรุ่น TTC-60 ตามที่ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้นะคะ
สามารถกดเข้าไปดูใน Link นี้ได้เลยค่ะ
รูปที่ 2 Torque Wrench Checker รุ่น TTC-500 ขันใช้งานในทิศตามเข็มนาฬิกา
ข้อควรระวังประแจปอนด์
Torque Wrench Checker TTC-Series ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-500 นี้ จะเป็นเครื่องมือใช้สำหรับเช็คค่าแรงบิด Torque Wrench ที่เป็นแบบ Manual และแบบ Digital เท่านั้นค่ะ ห้ามนำ Torque ไฟฟ้ามาขันเช็คค่าแรงบิดโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เครื่องมือ Torque Wrench Checker เสียหายได้ค่ะ
ควรศึกษาคู่มือการใช้งานโดยละเอียดก่อนการใช้งาน เนื่องจาก Torque Wrench Checker เป็นเครื่องมือระดับ Standard มีราคาค่อนข้างสูงค่ะ จะต้องทำความรู้เพื่อให้ใช้งานได้ถูกวิธีเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การเก็บรักษาประแจทอร์ค
ไม่ควรเก็บประแจปอนด์ในที่ชื้นหรืออากาศร้อนนะคะ เพราะอาจจะทำให้เครื่องมือเสื่อมสภาพได้ง่ายค่ะ ควรมีกล่องเก็บอุปกรณ์ ในการจัดเก็บ และส่งเทียบอย่างน้อยทุกๆ 1 ปี โดยส่งสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ACCREDIT ISO/IEC 17025:2017 เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่าเครื่องมือ Torque Wrench Checker ยังอยู่ใน Spec ค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ตามที่ข้อมูลได้กล่าวมาข้างต้น เราก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆทุกคนมากมายเลยทีเดียวค่ะ ในครั้งหน้าหากผู้เขียนมีสิ่งที่หน้าสนใจมาเพิ่มอีก จะมาเล่าสู่กันฟังกันอีกครั้งค่ะ ฝากติดตามกันด้วยนะคะกับบทความต่อไป แล้วเจอกันใหม่ สวัสดีค่ะ
ผู้เขียน Suphanun BDS
รีวิวครบ! ประแจปอนด์ (Digital torque wrench) ละเอียดทุกจุด
—
สอบเทียบเครื่องมือด้าน Torque&Force สินค้าด้าน Torque&Force