หลักการทำงานของ Autoclave ประเภทและข้อแนะนำในการใช้งาน

Autoclave สอบเทียบเครื่องมือ _Calibration Lab_01

หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave)

หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับนึ่งฆ่าเชื้อ โดยมีหลักการการใช้ไอน้ำร้อนและแรงดันสูงทำให้ของที่ผ่านการนึ่งแล้วอยู่ในสภาพปราศจากเชื้อ สาเหตุที่ต้องสอบเทียบเครื่องมือวัดเนื่องจากเครื่องมือ  Autoclave ถูกนำมาใช้กับส่วนงานที่ต้องปราศจากเชื้อเป็นส่วนใหญ่ โดยอุณหภูมิและความดันของเครื่องมีผลต่อการทำลายเชื้อถ้าหากเครื่องมือวัดสามารถทำอุณหภูมิและความดันที่ผิดปกติไป ประสิทธิภาพของการทำลายเชื้อก็จะลดน้อยลงด้วย

โดยหม้อนึ่งความดันไอน้ำนี้มีหน่วยวัดคือ

วัดอุณหภูมิภายในตู้ หน่วยที่ใช้ องศาเซลเซียส  (°C)

วัดแรงดันภายในตู้ หน่วยที่ใช้  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)

ประเภทหม้อนึ่งความดันไอน้ำ 

หม้อนึ่งความดันไอน้ำมีทั้งประเภทให้ความร้อนโดยตรงและแบบผ่านตัวกลาง (ส่วนใหญ่เป็นน้ำ) สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้

        1. ให้ความร้อนจากไอน้ำโดยตรง (saturate Steam)

        2. ให้ความร้อนแบบผ่านตัวกลางโดยน้ำแบบจุ่ม (Water Immersion) ซึ่งมีทั้งแบบคงที่ (static) และแบบหมุน (rotary)

        3. อัดแรงดันพ่นน้ำ (water spray processing) ซึ่งมีทั้งแบบคงที่ (static) และแบบหมุน (rotary)รวมถึงแบบน้ำตกไหลผ่าน water cascade processing)

        4. ให้ความร้อนจากไอน้ำและอากาศโดยตรง (Steam -Air)

ข้อแนะนำในการใช้งาน

            ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนึ่งฆ่าเชื้อ ต้องเป็นสิ่งของที่สามารถทนต่ออุณหภูมิและแรงดันไอน้ำสูงได้ เช่น เครื่องมือที่ทำจากแก้ว, เซรามิค,โลหะหรือยาง, น้ำ และของเหลวทางการแพทย์ โดยใช้อุณหภูมิ แรงดันและเวลาที่เหมาะสม

            เครื่องหม้อนึ่งความดันไอน้ำส่วนใหญ่จะถูกใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ แต่บ่อยครั้งที่พบว่าหม้อนึ่งความดันไอน้ำถูกนำมาใช้ในเรื่องการอบแห้งและการอุ่นของเหลว, การละลายและการอุ่นอาหารเลี้ยงเชื้อ  ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของเครื่องมือวัดว่ามีฟังก์ชั่นเหล่านี้หรือไม่ โดยสามารถดูได้จาก Spec ผู้ผลิต

ข้อควรระวังในการใช้งานหม้อนึ่งความดันไอน้ำ

        1.  การนำสิ่งของออกจากเครื่องหม้อนึ่งความดันไอน้ำต้องรอให้เข็มของ Pressure Gauge ตกลงมาที่ 0 psi ก่อนจึงสามารถเปิดฝาเครื่องได้

        2.  ควรสวมถุงมือกันความร้อนทุกครั้งก่อนจับชิ้นส่วนของตู้ เนื่องจากยังมีความร้อนอยู่

        3.  ต้องรอจนกว่าของเหลวในหม้อนึ่งความดันไอน้ำจะเย็นลงหรืออุณหภูมิลดลง ถึงจุดที่จะเอาสิ่งของออกได้

        4.  ต้องปิดฝาหม้อนึ่งให้สนิททุกครั้งก่อนใช้งาน

        5.  ไม่ควรวางสิ่งของซ้อนกันแน่นเกินไป

        6.  การนึ่งของเหลว ควรคำนึงถึงปริมาตรที่บรรจุลงในภาชนะ ถ้าบรรจุมากเกินไปอาจทำให้ของเหลวล้นออกมาในขณะนึ่งเชื้อ

Calibration Laboratory (CLC) ให้บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด

            Calibration Laboratory สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดโดยได้การรับรองรอง ISO/IEC 17025:2017 จาก ANAB ส่วนของอุณหภูมิภายในตู้ 105-135 °C และจาก TISI ส่วนของอุณหภูมิภายในตู้ 115-135 °C

            Calibration Laboratory สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด หม้อนึ่งความดันไอน้ำ ให้ลูกค้าได้โดยใช้วิธีการ Comparison โดยแบ่งออกเป็น 3 วิธีการ

        1. Comparison with hydra data logger ใช้ร่วมกับ Sensor RTD 4 Wire

        2. Comparison with hydra data logger ใช้ร่วมกับ Sensor TC wire type K

        3. Comparison with Wireless Data Logger ใช้ร่วมกับ Sensor แบบ Wireless

รูปภาพตัวอย่างเครื่องมือ Hydra Data Logger ของบริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรีจำกัด

ซึ่งการเลือกวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดขึ้นอยู่กับเครื่องมือลูกค้า(DUC)และเกณฑ์การยอมรับ (MPE) ของเครื่องมือ
การสอบเทียบ Autoclave Comparison with hydra data logger ใช้ร่วมกับ Sensor มีวิธีการดังนี้

  •  ติดตั้ง Sensor (RTD 4 Wire, TC wire type K, Wireless) ตามตำแหน่งของหม้อนึ่งความดันไอน้ำทั้งหมด 9 Position (ขนาดไม่เกิน 1 m 3) ตามตัวอย่างรูปด้านล่าง
  • ให้หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (DUC) ทำอุณหภูมิตามpointที่ต้องการสอบเทียบ
  •   อ่านค่า Comparison กับเครื่อง Hydra data logger (STD) และบันทึกผล
รูปตำแหน่งการวาง Probe Sensor  9 Position ใน Autoclave ขนาดไม่เกิน 1 m3

วิธีการดูแลรักษา Autoclave ก่อนและหลังใช้งาน

ก่อนใช้งาน

        1. ต้องตรวจเช็คสภาพของขอบยางของหม้อนึ่งความดันไอน้ำอยู่เสมอไม่ให้รั่ว,ซึม,ชำรุด

        2. ต้องตรวจเช็คระดับน้ำในหม้อนึ่งความดันไอน้ำให้อยู่ในระดับที่กำหนดด้วยทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้หม้อนึ่งไหม้และห้ามใช้ของเหลวชนิดอื่นใช้งานแทนน้ำ

หลังใช้งาน

        1. เพื่อป้องกันการอุดตันของท่อต่างๆควรถ่ายน้ำออกจากหม้อนึ่งความดันไอน้ำ และเปลี่ยนน้ำทุกๆวัน

        2. จะเริ่มทำการบำรุงรักษาต้องรอให้เครื่องหม้อนึ่งความดันไอน้ำเย็นก่อน

        3. เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากตัวเครื่องด้วยผ้าเนื้ออ่อน เช็ดที่ผิวของตัวเครื่องแล้วเช็ดให้แห้ง

 ข้อแนะนำ เมื่อต้องการส่งเครื่องมือหม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) มาสอบเทียบกับ Calibration Laboratory

    เครื่องมือวัดหม้อนึ่งความดันไอน้ำส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก จึงไม่แนะนำให้เคลื่อนย้ายและนำเข้ามาสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ  ดังนั้น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องมือวัดที่บริษัทลูกค้าจึงมีความเหมาะสมมากกว่า  และเวลาดำเนินการสอบเทียบในเครื่องมือไม่ควรมีชิ้นงานหรือสิ่งของอยู่ภายในเครื่องมือวัดหม้อนึ่งความดันไอน้ำ

หากท่านใดสนใจส่งสอบเทียบ(Calibrate)เครื่องมือวัดกับทางบริษัท Calibration Laboratory สามารถติดต่อผ่านช่องทางต่างๆด้านล่างได้เลยค่ะ

ผู้เขียน ลูกคิด

Oven คืออะไร?? แล้วทำไมเราจึงต้องสอบเทียบ

———-

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น